นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเย็นนี้อยู่ที่ 34.18 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจากเปิดตลาด เมื่อเช้าที่ระดับ 34.42 บาท/ดอลลาร์ โดยในระหว่างวันเคลื่อนไหวในกรอบ 34.16 - 34.45 บาท/ดอลลาร์
ทั้งนี้ เงินบาทเคลื่อนไหวตามทิศทางตลาดโลก หลังดอลลาร์กลับมาอ่อนค่าเนื่องจากมีแรงเทขายทำกำไร
"วันนี้บาทผันผวนมาก หลังมีแรงเทขายดอลลาร์ทำกำไร" นักบริหารเงิน กล่าว
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันอังคารไว้ที่ 34.10 - 34.30 บาท/ดอลลาร์
ล่าสุด THAI BATH SPOT RATE FIXING อยู่ที่ระดับ 34.2218 บาท/ดอลลาร์
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 130.02 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 130.72 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0579 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0507 ดอลลาร์/ยูโร
- รมว.คลัง กล่าวถึงกรณีที่เงินบาทอ่อนค่าลงสุดในรอบ 5 ปี ว่า ประเด็นนี้ภาคส่งออกค่อนข้างพอใจ เพราะช่วยทำให้ผู้
ประกอบการสามารถแข่งขันเรื่องราคาได้เป็นอย่างดี แต่อีกส่วนก็ต้องยอมรับว่ามีผลกระทบในเรื่องการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศบ้าง
อาจจะทำให้มาร์จิ้นในส่วนนี้ลดลง เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการจะต้องไปบริหารจัดการกัน
- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อยู่ระหว่างติดตามการอ่อนค่าของค่าเงินบาทที่คาดว่าจากนี้จะมีความผันผวนรุนแรงขึ้น
แม้ว่าการอ่อนค่าของเงินบาทจะมีผลบวกต่อผู้ส่งออก แต่ในด้านของการนำเข้าก็มีความกังวลจะกระทบต่อต้นทุนสูงขึ้น ส่งผลไปยังเงินเฟ้อ
ปรับตัวสูงขึ้น และกระทบกับค่าครองชีพของประชาชน ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้ส่งผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจมากนัก แต่หากค่าเงินบาทยังอ่อนค่าต่อ
เนื่องไปอีกจะยิ่งเป็นแรงกดดันซ้ำเติมอัตราเงินเฟ้อให้เพิ่มขึ้นในระยะต่อไป
- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือน มี.ค.65 ชะลอลงเล็กน้อย ตามการใช้จ่ายใน
ประเทศของภาคเอกชนที่ปรับลดลงทั้งการบริโภคและการลงทุนสอดคล้องกับการผลิตภาคอุตสาหกรรม จากการระบาดของโควิด-19 สาย
พันธุ์โอมิครอน และต้นทุนการผลิตและค่าครองชีพที่สูงขึ้น ขณะเดียวกันการใช้จ่ายภาครัฐที่ไม่รวมเงินโอนหดตัวเล็กน้อยจากทั้งรายจ่าย
ประจำและรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลกลาง
- ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี (ttb analytics) ระบุว่า แนวโน้มรายได้สุทธิครัวเรือนไทยปี 65 ลดลงจากปีก่อน
เนื่องจากค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นเร็วกว่ารายได้ ประกอบกับภาระผ่อนจ่ายหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง เป็นปัจจัยกดดันแนวโน้มกำลังซื้อ
เพิ่มความเปราะบางต่อภาวะการเงินของครัวเรือนไทย หลังผ่านจุดต่ำสุดของวิกฤตโควิด-19
- กรมสรรพสามิต ลงนามข้อตกลง (MOU) กับบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ประเทศไทย จำกัด ตามมาตรการสนับสนุนการใช้
ยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งบริษัทมีแผนงานจะจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้า รุ่น bZ4X โดยจะได้รับสิทธิลดอากรศุลกากร ลดภาษีสรรพสามิตและรับเงินอุด
หนุน เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้บริโภค ให้สามารถเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในราคาที่จับต้องได้ พร้อมคาดว่าภายในปี 65 จะมีบริษัทผู้
ประกอบอุตสาหกรรมและผู้นำเข้ารถยนต์และรถจักรยานยนต์ BEV เข้าร่วมลงนามในข้อตกลงเข้าร่วมมาตรการฯ กับกรมสรรพสามิตอีกไม่
น้อยกว่า 5 ราย
- ประธานสภาองค์การนายจ้างแห่งชาติ ยื่นหนังสือขอให้เร่งรัดพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำตามความเป็นจริงและเหมาะสม ซึ่งไม่
เห็นด้วยที่จะมีการปรับขึ้นจาก 331 บาท/วัน เป็น 492 บาท/วันทั่วประเทศ
- ที่ประชุมคณะกรรมการกรมการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน (โปลิตบูโร) ซึ่งนำโดยประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ให้คำมั่นว่าจะ
เพิ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการเติบโตของประเทศ และยังให้คำมั่นว่าจะควบคุมโรคโควิด-19 ซึ่งขณะนี้มีการแพร่ระบาด
รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2563
- นักวางแผนกลยุทธ์การลงทุนระดับอาวุโสของสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด เวลธ์ แมเนจเมนท์ ระบุว่า ขณะนี้มีสี่ปัจจัยระยะสั้นที่
ส่งผลต่อตลาด นั่นคือ ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน, อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่ปรับตัวขึ้นและการส่งสัญญาณใช้นโยบาย
เชิงรุกของเฟด, สงครามในยูเครน และนโยบายของจีน
--อินโฟเควสท์ โดย ธนวัฏ เสือแย้ม/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: rachada@infoquest.co.th--