ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 34.61 อ่อนค่าหลังดอลลาร์แข็งค่าต่อเนื่อง ตลาดจับตาเงินเฟ้อสหรัฐฯกลางสัปดาห์

ข่าวเศรษฐกิจ Monday May 9, 2022 17:34 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 34.61 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจาก เปิดตลาดเมื่อเช้าอยู่ที่ระดับ 34.42 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากดอลลาร์แข็งค่าหลังได้รับปัจจัยหนุนจากอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรสหรัฐที่ปรับตัว เพิ่มขึ้น และมีแรงซื้อดอลลาร์ในตลาดโลก เนื่องจากนักลงทุนกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวจากหลายปัญหา เช่น สถานการณ์สู้ รบในยูเครน ภาวะเศรษฐกิจของจีน โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 34.40 - 34.63 บาท/ดอลลาร์

"บาทอ่อนค่าต่อเนื่อง ระหว่างวันทำนิวไฮในรอบ 5 ปีนับตั้งแต่เดือน พ.ค.60 แตะที่ระดับ 34.63 บาท/ดอลลาร์ และยังมี ทิศทางอ่อนค่าต่อเนื่อง" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 34.50 - 34.70 บาท/ดอลลาร์ โดยปัจจัยสำคัญที่ ตลาดรอดูคือการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐในคืนวันพุธนี้

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 131.20 เยน/ดอลลาร์ อ่อนค่าสุดในรอบ 20 ปี จากเมื่อเช้าที่ระดับ 130.85 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0526 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0528 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,604.49 จุด ลดลง 25.09 จุด, -1.54% มูลค่าการซื้อขาย 81,607.55 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 415.97 ล้านบาท (SET+MAI)
  • รมว.พลังงาน ได้สั่งการให้ผู้บริหารกระทรวงพลังงานทำงานร่วมมือกับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจกระทรวงพลังงาน เช่น การ
ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) และ บมจ. ปตท. (PTT) เป็นต้น ทบทวนมาตรการช่วยเหลือประชาชนในด้านพลังงาน โดยให้
ร่วมมือกันหาแนวทางใหม่ๆ และนำมาเสนอปลัดกระทรวงพลังงานในวันที่ 13 พ.ค. 65
  • รมว.พาณิชย์ ตั้งเป้าหมายการส่งออกผลไม้ไทยทั้งผลไม้สด ผลไม้แช่แข็ง ผลไม้แห้ง และผลไม้แปรรูปในปี 65 เป็นมูลค่า
280,000 ล้านบาท เพิ่มจากการส่งออกในปี 64 ซึ่งมีมูลค่า 250,000 ล้านบาท
  • สธ.เฝ้าระวังโควิดโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยใหม่หลังตรวจพบในชาวต่างชาติ 3 ราย ขณะที่การติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศ
ไทยเป็นสายพันธุ์โอมิครอน 100% โดยสัดส่วนสายพันธุ์ย่อยของ BA.2 อยู่ที่ 97.6%
  • สำนักงานศุลกากรจีน (GAC) รายงานว่า ยอดส่งออกของจีนเพิ่มขึ้นเพียง 3.9% ในเดือนเม.ย. เมื่อเทียบเป็นรายปี
ซึ่งเป็นการขยายตัวในอัตราต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2563 และชะลอตัวลงอย่างมากจากเดือนมี.ค.ที่มีการขยายตัว 14.7%

ส่วนยอดนำเข้าทรงตัวในเดือนเม.ย. หลังจากที่ลดลง 0.1% ในเดือนมี.ค. และดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะหดตัว ลง 3%

  • ปัจจัยหลักที่ตลาดจะให้ความสำคัญสัปดาห์นี้ ได้แก่ การรายงานภาวะเงินเฟ้อของสหรัฐ หรือ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)

ในคืนวันพุธตามเวลาประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ