ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 34.57 กลับมาแข็งค่าหลังบอนด์ยิลด์สหรัฐย่อตัว จับตาความเห็นจนท.เฟด

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday May 10, 2022 17:30 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 34.57 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจาก เปิดตลาดเมื่อเช้าอยู่ที่ระดับ 34.63 บาท/ดอลลาร์

เย็นนี้เงินบาทแข็งค่าจากช่วงเช้าเล็กน้อยเป็นไปตามทิศทางเดียวกับสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค โดยระหว่างวันเงินบาท เคลื่อนไหวในกรอบ 34.49 - 34.66 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากระหว่างวัน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐย่อตัว ส่งผลให้ดอลลาร์ อ่อนค่าลง

ทั้งนี้ ต้องติดตามเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่จะออกมาให้ความเห็นเรื่องนโยบายทางการเงินในคืนนี้

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 34.45 - 34.65 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 130.16 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 130.17 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0554 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0561 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,622.78 จุด เพิ่มขึ้น 18.29 จุด (+1.14%) มูลค่าการซื้อขาย 83,382 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 2,600.04 ลบ.(SET+MAI)
  • ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน เม.ย. 65 อยู่
ที่ระดับ 40.7 ลดลงจากเดือน มี.ค.65 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 42.0 ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และต่ำสุดในรอบ 8 เดือน
สัญญาณความเชื่อมั่นไม่ค่อยดี และยังไม่เห็นแนวโน้มที่จะปรับตัวดีขึ้น ซึ่งความเชื่อมั่นที่ลดลงนี้มีผลจากปัญหาค่าครองชีพเป็นหลัก และราคา
น้ำมัน ตลอดจนราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น โดยเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ชี้ให้เห็นว่าในปัจจุบันเศรษฐกิจยังไม่มีภาพ
ของการฟื้นตัว และเมื่อมองไปในอนาคต ผู้บริโภคมองว่าเศรษฐกิจจะยังซึมตัวต่อเนื่อง
  • วิจัยกรุงศรี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) คาดว่า อัตราเงินเฟ้อในเดือนพ.ค. มีแนวโน้มจะกลับมาเร่งขึ้น ตามการปรับ
ขึ้นของราคาสินค้าในหมวดพลังงาน นอกจากนี้ ผลกระทบจากสถานการณ์ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ และมาตรการคว่ำบาตรรัส
เซีย ส่งผลให้ราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งยังคงเป็นปัจจัยกดดันอัตราเงินเฟ้อในระยะต่อไป ทำให้มีความ
เสี่ยงเพิ่มขึ้น ที่อัตราเงินเฟ้อในปีนี้อาจสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 4.8%
  • คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติหลักการร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม โดยปรับปรุงแก้ไขสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมกรณี
ชราภาพให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนออกมาใช้ก่อน (ขอเลือก ขอคืน และขอกู้)
  • ครม. มีมติเห็นชอบมาตรการทางภาษีและค่าธรรมเนียม สำหรับทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่มีข้อกำหนดในการ
ซื้อทรัพย์สินคืน (มาตรการฯ REIT buy-back) เพื่อเป็นการเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการและลดภาระให้แก่ภาคธุรกิจที่ได้รับผล
กระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
  • มหาเศรษฐีนักลงทุนคริปโทเคอร์เรนซี และผู้บริหารบริษัทกาแล็กซี ดิจิทัล โฮลดิงส์คาดการณ์ว่า ตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลมีแนว
โน้มผันผวนและเผชิญกับแรงกดดันต่อไปอีกอย่างน้อยจนถึง 2-3 ไตรมาสข้างหน้า เนื่องจากคริปโทเคอร์เรนซี ยังคงเคลื่อนไหวตามทิศทาง
ตลาดหุ้นสหรัฐ
  • นักเศรษฐศาสตร์ของแบงก์ ออฟ อเมริกา ซีเคียวริตีส์ (BofA Securities) เปิดเผยว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง
ใต้มีแนวโน้มเผชิญความเสี่ยงรุนแรงที่จะเกิดความวุ่นวายในสังคม หากราคาอาหารปรับตัวสูงขึ้นมาก เนื่องจากจำนวนเงินที่คนในประเทศ
ต่างๆ เช่น ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย และเวียดนาม ใช้จ่ายไปกับค่าอาหารมีสัดส่วนที่สูง เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ
  • ธนาคารเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนายุโรป (EBRD) ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจของยูเครนในปีนี้โดยคาดว่า อาจทรุดตัวลงถึง

30% อันเป็นผลพวงมาจากการบุกโจมตีของรัสเซีย ทั้งนี้ การบุกโจมตียูเครนของรัสเซียได้สร้างผลกระทบต่อการค้าพลังงาน สินค้าโภคภัณฑ์

ทางการเกษตร รวมถึงปุ๋ย และยังส่งผลให้ซัพพลายเชนชะงักงัน จนนำไปสู่การชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วยุโรปตะวันออก


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ