คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กกร.คงประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 65 จะ ขยายตัวได้ในกรอบ 2.5-4% ตามเดิม หากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอยู่ในระดับที่เหมาะสม และคงประมาณการการส่งออกจะยัง ขยายตัวในกรอบ 3-5% และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปขยายตัวในกรอบ 3.5-5.5%
ทั้งนี้ กกร.มองว่า เศรษฐกิจไทยยังเผชิญความเสี่ยงรอบด้าน โดยเฉพาะเงินเฟ้อและต้นทุนพุ่งสูงขึ้น แม้แนวโน้มการ ท่องเที่ยวจะดีขึ้นกว่าประมาณการเดิม
"เศรษฐกิจไทยเผชิญความเสี่ยงรอบด้าน โดยเฉพาะด้านเงินเฟ้อและต้นทุนที่พุ่งสูงขึ้น แม้แนวโน้มการท่องเที่ยวจะดีขึ้น กว่าประมาณการเดิม ความเสี่ยงในระดับสูง ทำให้ที่ประชุม กกร.คงประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2565" นายเกรียงไกร เธียรนุ กุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะเป็นประธาน กกร.กล่าว
ประธาน กกร.กล่าวว่า สถานการณ์เศรษฐกิจโลกมีความอ่อนไหวจากปัจจัยเสี่ยงรอบด้านเป็นความท้าทายต่อการส่ง ออกในช่วงที่เหลือของปี เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวลงจากสงครามรัสเซียและยูเครนที่ยังยืดเยื้อ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และเงิน เฟ้อในระดับสูง และการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้น โดยล่าสุดธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ซึ่งนับเป็น การปรับขึ้นมากสุดในคราวเดียวในรอบ 22 ปี และจะปรับขึ้นต่อเนื่องไปถึง 2.50%-2.75% ณ สิ้นปี
นอกจากนี้ จีนยังใช้มาตรการ Zero Covid Policy ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหดตัว และกดดันให้ปัญหาซัพพลาย เชนยิ่งตึงตัวขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ IMF ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจในปี 2022 ลดลงมากจาก 4.4% เหลือ 3.6% ซึ่งจะส่งผลต่อ ความต้องการสินค้าส่งออกของไทยได้ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยด้านราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้มูลค่าการส่งออกยัง ขยายตัวได้ในกรอบประมาณการเดิม
หากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล และค่าแรงขั้นต่ำปรับเพิ่มขึ้นมาก จะยิ่งเพิ่มแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อและการฟื้นตัวของ เศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อไทยที่พุ่งสูงขึ้นเริ่มบั่นทอนความเชื่อมั่นผู้บริโภคและนักลงทุน และมีแนวโน้มส่งต่อลบต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์ ในประเทศ นอกจากนี้ผู้ประกอบการในธุรกิจที่ยังเปราะบาง อาทิ โรงแรม ค้าปลีก สะท้อนว่าการเพิ่มขึ้นของต้นทุนมีผลกระทบมาก และส่วนใหญ่อาจจำเป็นต้องปรับราคาสินค้า การปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซลและค่าแรงขั้นต่ำในระยะข้างหน้า ซึ่งจะส่งผลให้อัตราเงิน เฟ้อขึ้นไปสู่ระดับ 5% จึงต้องทำด้วยความระมัดระวังและอยู่ในระดับที่เหมาะสม
"การท่องเที่ยวมีทิศทางฟื้นตัวดีขึ้น การเปิดประเทศเมื่อ 1 พ.ค.ทำให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมีจำนวนที่เพิ่มขึ้น ชัดเจน คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีนี้มีแนวโน้มอยู่ที่ประมาณ 6 ล้านคน เพิ่มขึ้นกว่าประมาณการเดิม สำหรับนักท่องเที่ยว ชาวไทยที่เดินทางในประเทศมีแนวโน้มฟื้นตัวดีมาอยู่ที่ 70-80% ของจำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2562 เนื่องจากนักท่องเที่ยวในไทย ปรับตัวอยู่กับโควิด-19 บ้างแล้ว อีกทั้งได้อานิสงส์จากมาตรการภาครัฐ คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวไทยมีแนวโน้มอยู่ที่ 119 ล้านคน- ครั้ง เพิ่มขึ้นกว่าประมาณการเดิมเช่นกัน" นายเกรียงไกร กล่าว
กรอบประมาณการเศรษฐกิจปี 2565 ของ กกร.
%YoY ปี 2565 ปี 2665 ปี 2565 GDP 2.5 ถึง 4.5 2.5 ถึง 4.0 2.5 ถึง 4.0 ส่งออก 3.0 ถึง 5.0 3.0 ถึง 5.0 3.0 ถึง 5.0 เงินเฟ้อ 2.0 ถึง 3.0 3.5 ถึง 5.5 3.5 ถึง 5.5
ประธาน กกร. กล่าวว่า จากภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงมีความเสี่ยงจากสถานการณ์ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเงินเฟ้อ และ สถานการณ์ความขัดแย้งจากยูเครน-รัสเซีย กกร.จึงขอเสนอให้ภาครัฐเข้ามาดูแลเรื่องเศรษฐกิจอย่างจริงจัง เพื่อช่วยประคับ ประคองภาคธุรกิจ รักษาความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะ SMEs และประชาชน ในช่วงไตรมาส 2 -3 ก่อนที่เศรษฐกิจฟื้น ตัวได้เต็มที่มากขึ้นในช่วงปลายปี จากทั้งภาระค่าครองชีพ ต้นทุนการผลิต/การขนส่ง และราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น โดยแบ่งมาตรการออก เป็น 2 ส่วนดังนี้
1.มาตรการดูแลต้นทุนการผลิตและสภาพคล่อง
1.1 ตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่เกิน 35 บาท/ลิตร เป็นเวลา 3 เดือน
1.2 ขยายเวลาการลดการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลง 3 บาทต่อลิตร เป็นระยะเวลา 3 เดือน
1.3 ลดต้นทุนวัตถุดิบนำเข้า เช่น ลดภาษีนำเข้าสินค้าวัตถุดิบ, เพิ่มโควต้านำเข้า
1.4 เสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการ เช่น เร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม มาตรการเงินกู้ ดอกเบี้ยต่ำ
2.มาตรกระตุ้นเศรษฐกิจ
2.1 กระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ เช่น
2.1.1 โครงการคนละครึ่งเฟส 5
2.1.2 ขยายจำนวนสิทธิ์โครงการเราเที่ยวด้วยกัน
2.1.3 ผ่อนคลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจเต็มรูปแบบ รวมถึงธุรกิจสถานบันเทิง
2.1.4 การลดภาระให้กับผู้ประกอบการ เช่น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่ควรคิดเบี้ย ปรับเงินเพิ่มสำหรับคนที่ชำระ ภาษีล่าช้า
2.2 การเปิดประเทศโดยสมบูรณ์ การส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยว ต่างชาติ การจัดกิจกรรม กระตุ้นการท่องเที่ยว และการดูแลค่าเงินบาทให้เหมาะสม
ส่วนการพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำนั้น ภาครัฐควรคำนึงถึงภาวะเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ ความสามารถของภาค ธุรกิจประสิทธิภาพแรงงาน ในแต่ละจังหวัดนั้นๆ ซึ่งประเทศไทยอยู่ในช่วงฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด โดยการปรับอัตราค่าแรงที่สูงเกิน ขีดความสามารถของผู้ประกอบการจะเป็นการซ้ำเติมผู้ประกอบการด้านต้นทุนการผลิตให้เพิ่มพุ่งสูงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อราคาสินค้า ได้ กกร.จึงขอเสนอให้ใช้กลไกของคณะกรรมการค่าจ้าง โดยมีคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด (คณะกรรมการ ไตรภาคี) ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ทำหน้าที่พิจารณาปรับค่าจ้างขั้นต่ำตามความเหมาะสมของเศรษฐกิจในพื้นที่แต่ละ จังหวัด รวมทั้งนำกลไกการปรับขึ้นค่าแรงในลักษณะตามทักษะการทำงาน Pay by Skill และมาตรฐานฝีมือแรงงานมาประกอบ การพิจารณาในการปรับขึ้นค่าแรงงาน