(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.46 แข็งค่าหลังดอลลาร์อ่อนค่าจากขาดปัจจัยหนุน จับตาประชุมศบค.วันนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Friday May 20, 2022 11:14 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 34.46 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจาก ปิดตลาดช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 34.57 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวตามทิศทางตลาดโลก เนื่องดอลลาร์อ่อนค่าหลังตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐ ออกมาแย่กว่าคาด และอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรสหรัฐปรับตัวลดลง ทำให้มีแรงเทขายดอลลาร์ทำกำไรจากนักลงทุนเพื่อหันไปลงทุนในสินทรัพย์ เสี่ยงมากขึ้น โดยตลาดประเมินว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากอย่างที่คาดไว้ก่อนหน้านี้

นอกจากนี้บาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าจากปัจจัยหนุนจากการส่งออกทองหลังสถานการณ์ราคาในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังมี ข่าวที่ประชุมใหญ่ ศบค.วันนี้เตรียมผ่อนคลายมาตรการ ซึ่งส่งผลดีต่อการฟื้นตัวด้านท่องเที่ยวของประเทศ

"บาทแข็งค่ามากจากเย็นวานนี้ตามทิศทางตลาดโลก หลังดอลลาร์อ่อนค่าเนื่องจากขาดปัจจัยหนุน" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 34.35 - 34.55 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (19 พ.ค.) อยู่ที่ระดับ 0.45878% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.54197%

SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 34.48750 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 127.92 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 127.67 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0573 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.0499 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.630 บาท/ดอลลาร์
  • ศบค.ชุดใหญ่เตรียมผ่อนคลายมาตรการสอดรับสถานการณ์แนวโน้มลง สธ. ประเมินลดระดับเตือนภัยเหลือ 2 ปลายเดือน
พ.ค.นี้ ชงปรับ 14 จว.นำร่องสีเขียว สีฟ้าคง 17 จว.เหมือนเดิม สีเหลือง 65 เหลือ 46 จว. แย้มข่าวดีส่อประกาศโรคประจำถิ่นเร็ว
ขึ้นครึ่งเดือน
  • นายกฯนำทีมโชว์ ฟื้นประเทศ ชู 4 ประเด็นดันเศรษฐกิจ หลังโควิด ผู้ว่าธปท.ส่งสัญญาณอัตราดอกเบี้ยต่ำ ยืนยันไม่ขึ้นตาม
เฟด กังวลเงินบาทผันผวนฉุดเอสเอ็มอี สศช.แนะไทยรับมือความไม่แน่นอนของโลก พึ่งตัวเอง ด้านอาหาร-ปุ๋ย "ชโยทิต" กางแผนลุยดึง
อีวีลงทุน 3.6 แสนล้าน "อีไอซี" ชี้ไทยกำลังเผชิญวิกฤติซ้อน แนะผู้ประกอบการต้องเร่งปรับตัว ส.อ.ท.หวั่นเทคโนโลยีไล่ล่าอุตสาหกรรม
เก่า
  • นายกฯ ย้ำลั่นปี 65 "ปีแห่งการแก้ไขหนี้ครัวเรือน" เร่งแก้ปัญหาความยากจนแบบมุ่งเป้าแต่ละครัวเรือน ตั้งทีมพี่เลี้ยง
ตรวจสอบข้อมูลทุกครัวเรือนยากจน เพื่อแก้ปัญหาตรงจุด ครอบคลุม 5 มิติ

-'สุพัฒนพงษ์' ชี้โควิดเป็นมหาวิกฤตรัฐพยายามประคองหนี้สินครัวเรือนไม่ให้สูงเกินไปมากกว่านี้ ด้านขุนคลังยอมเศรษฐกิจ ไทยโตช้าแต่มั่นคง ส่วนธปท. ช่วยยันจีดีพีไม่มีทางถดถอย เมินขึ้นดอกเบี้ยตามเฟด

  • "จุรินทร์" ย้ำไทยเจ้าภาพรัฐมนตรีการค้าเอเปค เร่งสรุป FTAAP ให้เสร็จตามเป้าปี 2040 ดันมูลค่าการค้า เพิ่ม 200-
400% "ฮ่องกง" หนุนการค้าดิจิทัลในข้อตกลง หนุนช่วยฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด
  • 3 องค์กรอุตสาหกรรมอาหารเผยไตรมาสแรก ไทยส่งออกอาหารกว่า 2.86 แสนล้าน รับหลายประเทศรีโอเพนนิ่ง คาด
ทั้งปีมูลค่าโต 1.2 ล้านล้าน ส.อ.ท.มองสงครามยูเครน-รัสเซีย ยื้อยาว 1-3 ปี เน้นค้าขายอาเซียน โดยเฉพาะชายแดน
  • ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า สถานการณ์ท่องเที่ยวปัจจุบัน ผู้ประกอบการเริ่มกลับมายิ้มได้
หลังรัฐบาลมีการเปิดประเทศ และมีชาวต่างชาติเดินทางเข้าไทยต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ 1 ม.ค.-12 พ.ค.65 มีชาวต่างชาติเข้ามาเกิน 1
ล้านคนแล้ว และตั้งเป้าหมายปีนี้จะมีรายได้จากการท่องเที่ยวประมาณ 50% ของปี 62 ที่ 1.5 ล้านล้านบาท ทำให้ตอนนี้การท่องเที่ยวไทย
ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และกำลังพลิกโฉมใหม่สู่การท่องเที่ยวคุณภาพและยั่งยืน
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 21,000 ราย สู่ระดับ 218,000 รายใน
สัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 200,000 ราย
  • ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี (19 พ.
ค.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซา ซึ่งรวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นในวันพฤหัสบดี (19 พ.ค.) เนื่องจากการร่วงลงของตลาดหุ้นและข้อมูลเศรษฐกิจที่
ย่ำแย่ของสหรัฐเป็นปัจจัยหนุนแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย นอกจากนี้ การอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ยังเพิ่มความน่าดึงดูดให้
กับทองคำอีกด้วย
  • Conference Board ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐในปีนี้สู่ระดับ 2.3% โดยถูกกดดันจากการ
พุ่งขึ้นของเงินเฟ้อ อันเนื่องจากราคาพลังงาน, อาหาร และโลหะที่พุ่งขึ้นจากสงครามในยูเครน รวมทั้งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ
ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และการขาดแคลนแรงงาน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ