ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 34.23 ตลาดรอปัจจัยใหม่ จับตาตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐคืนนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday May 26, 2022 17:37 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 34.23 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าเล็ก น้อยจากเปิดตลาดเมื่อเช้าอยู่ที่ระดับ 34.25 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 34.21 - 34.35 บาท/ดอลลาร์ ตามแรงซื้อแรงขายดอลลาร์

"ช่วงนี้บาทมีทิศทางผันผวน เคลื่อนไหวไม่ต่ำวันละ 10 สตางค์ วันนี้กลับมาปิดตลาดในระดับใกล้เคียงกับระดับปิดตลาดช่วง เย็นวานนี้ แต่เป็นไปในทิศทางเดียวกับภูมิภาค โดยช่วงเช้าจะอ่อนค่าแต่พอช่วงบ่ายจะมีแรงเทขายดอลลาร์ทำกำไรออกมาทำให้บาทกลับมา แข็งค่า" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 34.10 - 34.30 บาท/ดอลลาร์ โดยคืนนี้จะมีข้อมูล เศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ไตรมาส 1/65 (ประมาณการ ครั้งที่ 2) ของสหรัฐ

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 126.72 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าอยู่ที่ระดับ 127.37 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0711 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าอยู่ที่ระดับ 1.0703 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,633.73 จุด เพิ่มขึ้น 8.55 จุด, +0.53% มูลค่าการซื้อขาย 61,370.04 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 3,465.27 ล้านบาท (SET+MAI)
  • ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า การเบิกจ่ายงบลงทุน
ของรัฐวิสาหกิจ 43 แห่ง ที่ สคร. กำกับดูแลโดยตรง สำหรับปี 2565 รัฐวิสาหกิจมีผลการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสม ณ สิ้นเดือนเม.ย. 65
เป็นไปตามเป้าหมาย โดยสามารถเบิกจ่ายได้ 99,703 ล้านบาท หรือคิดเป็น 100% ของแผนการเบิกจ่ายสะสม
  • ประธานกลุ่มพันธมิตรความร่วมมือด้านนวัตกรรมเพื่อรับมือกับโรคระบาด (CEPI) เปิดเผยว่า การอุบัติขึ้นอย่างฉับพลันของ
โรคฝีดาษลิง (monkeypox) ในหลายประเทศทั่วโลกแสดงให้เห็นถึงการแพร่ระบาดที่น่ากังวล อย่างไรก็ดี ไวรัสดังกล่าวไม่ได้มีรูปแบบ
ความเสี่ยงที่เหมือนกับโรคโควิด-19
  • กรุงปักกิ่งพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เมืองหลวงของจีนแห่งนี้เผชิญกับการแพร่ระบาดเป็น
เวลานานนับเดือน โดยขณะนี้การใช้มาตรการเข้มงวดเพื่อควบคุมการระบาดในกรุงปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้กำลังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อ
เศรษฐกิจจีน
  • ยูบีเอส (UBS) และเจพีมอร์แกน วาณิชธนกิจชั้นนำ ตัดสินใจปรับลดประมาณการการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน
ประเทศ (GDP) สำหรับปี 2565 ของจีนเป็นครั้งที่ 3 ในปีนี้ เหลือไม่ถึง 4% ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขเป้าหมายที่ทางการจีนตั้งไว้ที่ 5.5% เนื่อง
จากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้มาตรการควบคุมโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง
  • ประธานธนาคารโลก ชี้สงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับราคาอาหารและพลังงาน รวมถึงการ
ขาดแคลนปุ๋ยนั้น อาจกระตุ้นให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก
  • สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IIF) ปรับลดคาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ทั่วโลกสำหรับปีนี้ลง

ครึ่งหนึ่ง เนื่องจากเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากเหตุรัสเซียบุกโจมตียูเครน การรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของจีน และ

การคุมเข้มนโยบายการเงินในสหรัฐ โดย IIF ได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของ GDP โลกเหลือ 2.3% จาก 4.6% โดยกลุ่มประเทศ

G3 ได้แก่ สหรัฐ ยูโรโซน และญี่ปุ่น มีแนวโน้มขยายตัวที่อัตรา 1.9% ในปีนี้ อีกทั้งยังคาดว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนจะชะลอตัว

ลงเหลือ 3.5% จาก 5.1% ซึ่งคาดการณ์เอาไว้ก่อนหน้านี้


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ