ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.10 แข็งค่าตามทิศทางตลาด คลายกังวลเงินเฟ้อสหรัฐฯ-จับตา Flow ไหลเข้า

ข่าวเศรษฐกิจ Monday May 30, 2022 09:31 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 34.10 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจาก ปิดตลาดเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 34.15 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวตามทิศทางตลาดโลก หลังดอลลาร์อ่อนค่า เนื่องจากตัวเลขค่าใช้จ่ายส่วน บุคคลของสหรัฐในเดือน เม.ย.65 ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือน มี.ค.65 ทำให้นักลงทุนมองว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐที่เพิ่มขึ้นได้ผ่านจุด สูงสุดมาแล้ว ขณะที่เซี่ยงไฮ้มีแนวโน้มจะผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์เพื่อสกัดการแพร่ระบาดของโควิด-19

"บาทแข็งค่าจากปิดตลาดเย็นวันศุกร์ตามทิศทางตลาดโลก หลังนักลงทุนมองว่าเงินเฟ้อสหรัฐเริ่มแผ่วลง" นักบริหารเงิน
กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 34.00 - 34.20 บาท/ดอลลาร์ โดยช่วงนี้ยังต้อง จับตาดูทิศทางเงินทุนต่างประเทศที่ไหลเข้ามาในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร

THAI BAHT FIX 3M (27 พ.ค.) อยู่ที่ระดับ 0.36683% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.57442%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 127.13 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 127.05 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0730 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0717 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.168 บาท/ดอลลาร์
  • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)แถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังและภาวะเศรษฐกิจการคลังภูมิภาคประจำ
เดือน เม.ย.2565 และ ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ประจำเดือน พ.ค.2565
  • ลุ้น "สุพัฒนพงษ์" ประชุมถก กบน. หารือราคาน้ำมันดีเซล ตั้งธง 2 ทางเลือก ปรับขึ้นอีก 1 บาท จาก 32 บาท เป็น
33 บาทต่อลิตร หรือตรึงราคาที่ 32 บาท เพื่อลดภาระค่าครองชีพประชาชน แต่กองทุนติดลบเพิ่มจนใกล้ทะลุ 8 หมื่นล้านบาทแล้ว ส่งผลให้
ผู้ใช้รถแห่เข้าไปเติมในปั๊มแถวยาวเหยียด ขณะที่ของใช้ประจำวันไม่รอ จ่อปรับขึ้นราคาเหตุต้นทุนสูง ล่าสุดเป๊ปซี่สุดอั้นขอปรับขึ้น 1-2
บาท ส่วนยี่ห้ออื่นเล็งขยับตามเป็นพรวน
  • "โฆษกรัฐบาล" ยันรัฐบาลไม่นิ่งนอนใจแก้ปัญหาพลังงานราคาแพงทุกชนิด ระบุน้ำมันในประเทศถูกกว่าเพื่อนบ้าน งัด
มาตรการช่วยเหลือต่อเนื่อง เพื่อลดผลกระทบประชาชนให้ได้มากที่สุด "นายกฯ" ขอความร่วมมือประชาชนใช้พลังงานทุกชนิดอย่างประหยัด
  • รมว.คลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ศึกษาวิเคราะห์การจัดเก็บภาษีที่ดินและ
สิ่งปลูกสร้าง ตามข้อเรียกร้องของภาคเอกชน หลังภาคเอกชนได้ยื่นหนังสือถึงกระทรวงการคลัง เพื่อขอให้เลื่อนและลดการจัดเก็บภาษีที่ดิน
และสิ่งปลูกสร้างตาม พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2562 ออกไปก่อน เพื่อลดภาระประชาชน และผู้ประกอบการในช่วงที่ต้องเผชิญ
วิกฤติการแพร่ระบาดไวรัสโควิด และวิกฤติสงครามรัสเซีย-ยูเครน
  • สธ.ยันไทยยังไม่พบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิง มีต้องสงสัย 3 ราย ตรวจเชื้อแล้วแค่ "เริม" ชี้ติดต่อยากแต่ประมาทไม่ได้ หมอห่วง
เปิดประเทศเสี่ยงแพร่ระบาด เตือนตรวจคัดกรองเข้มทุกด่าน เจอมีผื่น ไข้ ส่งตรวจทันที ชี้ระยะฟักตัวนาน 21 วัน
  • "อนุทิน" วอนฝ่ายค้านอย่ามุ่งเล่นการเมืองปมคว่ำงบฯปี 66 แนะใช้เวทีซักฟอกล้ม รมต.ดีกว่า "สร้างอนาคตไทย" ห่วง
แก้ปัญหา ศก.ไม่ได้ผล เหตุใช้สมมุติฐานเดิม ไม่สอดคล้องความจริง "เพื่อไทย" เผยฝ่ายค้านมีมติคว่ำร่าง พ.ร.บ.งบฯปี 66
  • คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เตรียมพิจารณาผลการเลือกตั้ง "ผู้ว่าฯกทม.-ส.ก." ก่อนประกาศรับรอง
ระบุ ล้านคะแนนเสียงไม่มีผล พบมี 24 คำร้อง "ชัชชาติ" ร้องเรียนเกี่ยวกับการเลือกตั้ง 2 เรื่อง คือ 1. การนำป้ายหาเสียง
มาผลิตเป็นกระเป๋าใส่ของ และ 2. การกล่าวหาว่าด้อยค่าระบบข้าราชการ กทม.
  • นครเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเงินของจีน ประกาศมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจและช่วยเหลือภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ
จากการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
  • นักลงทุนขานรับแถลงการณ์ของเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ที่ระบุถึงมาตรการช่วยเหลือภาคธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วย การลดหย่อน
ภาษีและค่าธรรมเนียมให้กับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์, อนุญาตให้ผู้ผลิตทุกรายสามารถกลับมาดำเนินการได้ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.
ย.นี้เป็นต้นไป, เร่งอนุมัติโครงการด้านอสังหาริมทรัพย์และสนับสนุนการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โครงการใหม่ ๆ, เพิ่มโควต้าการซื้อรถ
ยนต์, ลดหย่อนภาษีการซื้อรถยนต์ และอุดหนุนผู้ที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า, สนับสนุนการก่อสร้างโครงการโครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมรถไฟ,
ท่าเรือ, สนามบิน และพลังงาน และสนับสนุนบริษัทต่างชาติให้เขามาตั้งสำนักงานใหญ่และศูนย์วิจัยในเซี่ยงไฮ้
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนี PCE ทั่วไป ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 6.3% ในเดือนเม.ย.
เมื่อเทียบรายปี โดยชะลอตัวลง หลังจากพุ่งแตะระดับ 6.6% ในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี หรือนับตั้งแต่เดือนม.
ค.2525 ทั้งนี้ การชะลอตัวของดัชนี PCE ทั่วไปในเดือนเม.ย. ถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2563 และเมื่อเทียบรายเดือน ส่วน
ดัชนี PCE ทั่วไป ปรับตัวขึ้น 0.2% ในเดือนเม.ย. จากระดับ 0.9% ในเดือนมี.ค.

ดัชนี PCE ถือเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่สามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบคลุมราคาสินค้าและ บริการในวงกว้างมากกว่าข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) จากกระทรวงแรงงานสหรัฐ

  • ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนพ.ค., ตัวเลขจ้างงานภาคเอก
ชนเดือนพ.ค.จาก ADP, จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีภาคการผลิตและภาคบริการเดือนพ.ค.จากสถาบันจัดการด้าน
อุปทานของสหรัฐ (ISM) และรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book จากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ