ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ โดยการลดอัตราหรือยกเว้นอากรขาเข้า การลดอัตราภาษีสรรพสามิตและการให้เงินอุดหนุนแก่ผู้ได้รับสิทธิตามมาตรการ เพื่อให้ราคารถยนต์และรถจักรยานยนต์แบบพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle : BEV) ลดลงใกล้เคียงกับราคารถยนต์และรถจักรยานยนต์ประเภทเครื่องยนต์สันดาปภายใน กำหนดระยะเวลาการดาเนินมาตรการจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568
สำหรับเงินอุดหนุนที่มีสิทธิได้รับตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ มีจานวนตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้
11.1 รถยนต์นั่ง หรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน มีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 2 ล้านบาท (1) หากมีขนาดความจุของแบตเตอรี่ตั้งแต่ 10 กิโลวัตต์ชั่วโมง แต่น้อยกว่า 30 กิโลวัตต์ชั่วโมง ให้มีสิทธิได้รับเงินอุดหนุน 70,000 บาทต่อคัน (2) หากมีขนาดความจุของแบตเตอรี่ตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์ชั่วโมงขึ้นไป ให้มีสิทธิได้รับเงินอุดหนุน 150,000 บาทต่อคัน้
11.2 รถยนต์กระบะที่ออกแบบสำหรับให้มีน้ำหนักรถรวมน้าหนักบรรทุกไม่เกิน 4,000 กิโลกรัม ให้มีสิทธิได้รับเงินอุดหนุน 150,000 บาท ต่อคัน
11.3 รถจักรยานยนต์ให้มีสิทธิได้รับเงินอุดหนุน 18,000 บาทต่อคัน
ในการรับเงินอุดหนุนตามผู้ได้รับสิทธิต้องยื่นแบบคำขอรับเงินอุดหนุนตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ (แบบ ยฟ.01-03) พร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับการชาระภาษีอากร การจำหน่าย และการจดทะเบียนรถยนต์นั่ง รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน รถยนต์กระบะ หรือรถจักรยานยนต์ที่ขอรับสิทธิ ประกอบด้วย เอกสารการชำระภาษีสรรพสามิต อากรขาเข้า และภาษีอื่น ที่เกี่ยวข้อง ใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษีในการซื้อขายหรือการจำหน่ายรถยนต์ และเอกสารหลักฐานการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ โดยยื่นต่ออธิบดีกรมสรรพสามิต ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่แห่งท้องที่ที่โรงอุตสาหกรรมตั้งอยู่ หรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่แห่งท้องที่ที่สถานประกอบการของผู้นำเข้าตั้งอยู่ แล้วแต่กรณี
จากนั้น หน่วยงานหรือคณะทำงานที่อธิบดีกรมสรรพสามิตมอบหมายหรือแต่งตั้งให้ทำหน้าที่กลั่นกรองรายละเอียดข้อมูลและให้ความเห็นเกี่ยวกับการได้รับสิทธิแล้วนำเสนอคณะกรรมการกาหนดหลักเกณฑ์และพิจารณาการขอรับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ พิจารณาและตรวจสอบให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแล้วนำเสนอต่ออธิบดีกรมสรรพสามิต และให้สำนักบริหารการคลังและรายได้จ่ายเงินอุดหนุนให้แก่ผู้มีสิทธิเป็นรายไตรมาสต่อไป
ทั้งนี้ สำหรับผู้ผลิตผู้จะสามารถนำเข้ารถไฟฟ้ารุ่นนั้นๆเพื่อวางจำหน่ายในประเทศไทยได้ระหว่าง ปี 65-66 เท่านั้น กรณีที่มีการนำเข้ารถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คนราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 2 ล้านบาท และขนาดความจุของแบตเตอรี่ตั้งแต่ 10 กิโลวัตต์ชั่วโมงขึ้นไป ให้ผลิตรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คนรุ่นใดก็ได้ ชดเชยจนครบตามจำนวนนำเข้าแบบสำเร็จรูปทั้งคัน ในอัตราส่วน 1 : 1 เท่า (นำเข้า 1 คัน ผลิต 1 คัน) ของจำนวนที่นำเข้ามาทั้งหมด ภายในวันที่ 31 ธ.ค.67 หากจำเป็นต้องขยายระยะเวลาการผลิตชดเชยจนถึงวันที่ 31 ธ.ค.68 ต้องผลิตชดเชยการนาเข้าในอัตราส่วน 1 : 1.5 เท่า (นำเข้า 1 คัน ผลิต 1.5 คัน) ของจำนวนที่นำเข้ามาทั้งหมด
กรณีที่มีการนำเข้ารถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ราคาขายปลีกแนะนำเกิน 2 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 7 ล้านบาท และขนาดความจุแบตเตอรี่ตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์ชั่วโมงขึ้นไป ให้ผลิตรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน เฉพาะรุ่นที่นำเข้าแบบสำเร็จรูปทั้งคันในปี 65-66 โดยต้องผลิตชดเชยจนครบตามจำนวนนำเข้าแบบสำเร็จรูปทั้งคันในอัตราส่วน 1 : 1 เท่า (นำเข้า 1 คัน ผลิต 1 คัน) ของจำนวนที่นำเข้ามาทั้งหมดภายในวันที่ 31 ธ.ค.67 หากจำเป็นต้องขยายระยะเวลาการผลิตชดเชยจนถึงวันที่ 31 ธ.ค.68 ต้องผลิตชดเชยการนำเข้าในอัตราส่วน 1 : 1.5 เท่า (นำเข้า 1 คัน ผลิต 1.5 คัน) ของจำนวนที่นำเข้ามาทั้งหมด
กรณีที่มีการนาเข้ารถจักรยานยนต์ ให้ผลิตรถจักรยานยนต์รุ่นใดก็ได้ ชดเชยจนครบตามจำนวนการนำเข้ามาในประเทศในแบบสำเร็จรูปทั้งคันในอัตราส่วน 1 : 1 เท่า (นำเข้า 1 คัน ผลิต 1 คัน) ของจำนวนที่นำเข้ามาทั้งหมด ภายในวันที่ 31 ธ.ค.67 หากจำเป็น ต้องขยายระยะเวลาการผลิตชดเชยจนถึงวันที่ 31 ธ.ค.68 ต้องผลิตชดเชยการนำเข้าในอัตราส่วน 1 : 1.5 เท่า (นำเข้า 1 คัน ผลิต 1.5 คัน) ของจำนวนที่นำเข้ามาทั้งหมด