นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 34.37 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจาก ปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 34.33 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับตลาดโลก เนื่องจากดอลลาร์กลับมาแข็งค่าหลังได้รับปัจจัย หนุนจากตัวเลขข้อมูลการผลิตของสหรัฐออกมาดีเกินคาด และอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรของสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้นักลงทุนเชื่อว่าธนาคาร กลาง (เฟด) ยังมีแนวโน้มในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
"บาทอ่อนค่าตามทิศทางตลาดโลก หลังมีปัจจัยหนุนเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด ทิศทางบาทช่วงนี้ยังผันผวน" นัก
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 34.30 - 34.50 บาท/ดอลลาร์
ด้านธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ระบุว่า ค่าเงินบาทอ่อนค่าเล็กน้อยอยู่ในกรอบ ตามการแข็งค่าของเงินดอลลาร์จากแรงเท ขายสินทรัพย์เสี่ยงมาถือสินทรัพย์ปลอดภัย โดยประเมินกรอบเงินบาทวันนี้ไว้ที่ 34.30 - 34.50 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากตลาดหุ้นสหรัฐ และยุโรปต่างปิดลบต่อเนื่องจากเมื่อวาน หลังตลาดเกิดความกังวลว่าการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของเฟดเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อ อาจทำให้เศรษฐกิจ เข้าสู้ภาวะถดถอย
THAI BAHT FIX 3M (1 มิ.ย.) อยู่ที่ระดับ 0.28799% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.50922%
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 129.95 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 129.32 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0657 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0724 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.333 บาท/ดอลลาร์
- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมกับสมาคมผู้ค้าปลีกไทยสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการค้าปลีก พบว่า
- สธ.ถกเตรียมพร้อมประกาศโควิดเข้า "โรคประจำถิ่น" รอดูท่าที WHO ก่อนย้ำต้องพิจารณารอบคอบมีหลายขั้นตอน เบื้อง
- องค์การอนามัยโลกเตือน "ฝีดาษลิง" เสี่ยงระบาดสูงในยุโรป-พื้นที่อื่นช่วงฤดูร้อน ชี้การคุมโรค ตอนนี้ต้องลดการแพร่เชื้อ
- ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจใน 12 เขตของสหรัฐหรือ Beige Book ในวันพุธ (1
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดขยับขึ้นเพียงเล็กน้อยในวันพุธ (1 มิ.ย.) เนื่องจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์และการ
- ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (1 มิ.ย.) โดย
- นักลงทุนมองว่า ข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดของสหรัฐจะไม่ทำให้เฟดถอนตัวออกจากวงจรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเชิงรุกเพื่อ
ทั้งนี้ ตัวเลข JOLTS นับเป็นข้อมูลที่เฟดให้ความสนใจ โดยมองว่าเป็นมาตรวัดภาวะตึงตัวในตลาดแรงงาน ซึ่งเป็นปัจจัยใน การพิจารณานโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ยของเฟด
- สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 56.1 ในเดือนพ.
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนเม.ย. เมื่อเทียบรายเดือน ต่ำกว่า
- เฟดเริ่มใช้มาตรการปรับลดขนาดงบดุล (Quantitative Tightening : QT) ในวันนี้แล้วตามมติในการประชุม
- นักลงทุนจับตาข้อมูลแรงงานสหรัฐในสัปดาห์นี้ โดยในวันนี้จะมีการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนพ.ค.จาก ADP