ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.38 แนวโน้มผันผวนตามทิศทาง Flow คาดกรอบวันนี้ 34.30 - 34.50

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 6, 2022 09:25 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 34.38 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าเล็ก น้อยจากปิดตลาดเมื่อเย็นวันพฤหัสบดีที่ระดับ 34.35 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับตลาดโลก เนื่องจากดอลลาร์แข็งค่าหลัง ได้รับปัจจัยหนุนจากตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมของสหรัฐออกมาดีเกินคาด ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรของสหรัฐปรับตัวเพิ่ม ขึ้น ทำให้นักลงทุนคาดว่าทิศทางดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่จะหยุดปรับขึ้นคงอีกนาน

"บาทอ่อนค่าเล็กน้อยตามทิศทางตลาดโลก ระหว่างวันน่าจะผันผวนจาก Flow นำเข้าและส่งออก หลังน้ำมันสูงเกิน 120 ดอลลาร์ และราคาทองลดลง" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 34.30 - 34.50 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (2 มิ.ย.) อยู่ที่ระดับ 0.31661% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.57128%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 130.75 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันพฤหัสบดีที่ระดับ 129.76 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0720 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันพฤหัสบดีที่ระดับ 1.0687 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.385 บาท/ดอลลาร์
  • อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และกรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า
สถานการณ์เศรษฐกิจโลกในขณะนี้ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะเผชิญวิกฤติหลายด้าน นอกจากวิกฤติเงินเฟ้อ และความขัดแย้งในยุโรปแล้ว ยังมี
วิกฤติที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดคือ วิกฤติอสังหาริมทรัพย์ของจีนเริ่มส่งสัญญาณของปัญหามาตั้งแต่ที่เกิดเรื่องการผิดชำระหนี้ของบริษัท เอ
เวอร์แกรนด์ เมื่อปีที่แล้ว
  • ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ของสหรัฐเปิดเผยในวันศุกร์ (3 มิ.ย.) ว่า ขณะนี้มีผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงมากกว่า 700
รายแล้วทั่วโลกซึ่งรวมถึง 21 รายในสหรัฐ โดยจากการตรวจสอบในขณะนี้พบว่า โรคฝีดาษลิงกำลังแพร่ระบาดภายในสหรัฐ
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยในวันศุกร์ว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 390,000 ตำแหน่งในเดือนพ.
ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 325,000 ตำแหน่ง ส่วนอัตราการว่างงานทรงตัวที่ระดับ 3.6% สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์
ที่ระดับ 3.5% ซึ่งข้อมูลดังกล่าวบ่งชี้ว่า ตลาดแรงงานอยู่ในภาวะที่ตึงตัว
  • ประธานเฟดสาขาคลีฟแลนด์กล่าวในการประชุมออนไลน์ที่จัดโดยสภาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจฟิลาเดลเฟียเมื่อวันพฤหัสบดีว่า
เธอไม่สนับสนุนให้เฟดยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย. และเตือนว่าอัตราการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะเร็วขึ้นหรือช้าลงนับตั้งแต่
เดือนก.ย.นั้น ขึ้นอยู่กับทิศทางของอัตราเงินเฟ้อ
  • นักลงทุนยังจับตาการประชุมนโยบายการเงินของเฟด ในวันที่ 14-15 มิ.ย.นี้ โดยคาดว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
0.50% ในการประชุมดังกล่าว รวมทั้งในการประชุมเดือนก.ค.เพื่อสกัดเงินเฟ้อ
  • "เฟด" มีแนวโน้มขึ้นดอกเบี้ยครึ่งเปอร์เซ็นต์ในเดือน มิถุนายน กรกฎาคม และอาจจะขึ้นอีกหลังจากนั้น เนื่องจากข้อมูลการ
จ้างงานใหม่ที่เปิดเผยเมื่อวันศุกร์ ไม่มีสัญญาณว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อและต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้น
  • แบงก์กรุงไทย (KTB) ชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาแข็งแกร่ง หนุนเฟดมีโอกาสเร่งขึ้นดอกเบี้ยต่อ ขณะที่ตลาดบอนด์ยังอยู่
ในภาวะปิดรับความเสี่ยง คาดบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ยังมีแนวโน้มแกว่งตัว sideways จนกว่าตลาดจะรับรู้ความชัดเจนของการขึ้นดอก
เบี้ยเฟด
  • ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญสัปดาห์นี้ ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อ (CPI) เดือนพ.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมิ.ย.
(เบื้องต้น) และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ ตลาดยังรอติดตามสถานการณ์ยูเครน-รัสเซีย ตัวเลขการส่งออก
และอัตราเงินเฟ้อเดือนพ.ค. ของจีน และดัชนี PMI ภาคบริการเดือนพ.ค.ของจีน และอังกฤษด้วยเช่นกัน
  • นักลงทุนในตลาดการเงินจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนพ.ค.ในวันศุกร์นี้ ขณะที่นักวิเคราะห์จา
กบริษัทเนชันแนล ซิเคียวริตีส์ในสหรัฐคาดการณ์ว่า ดัชนี CPI ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค จะเพิ่มขึ้น 8.2% ซึ่ง
ชะลอตัวลงจากเดือนเม.ย.ที่ขยายตัว 8.3%
  • ตลาดยังจับตาการประชุมนโยบายการเงินของ ECB ในวันที่ 9 มิ.ย.นี้ โดย ECB จะประกาศยุติโครงการซื้อพันธบัตร
อย่างเป็นทางการในช่วงสิ้นเดือนมิ.ย. และจะส่งสัญญาณถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยด้วย ทั้งนี้ นางคริสติน ลาการ์ด ประธาน ECB และ
นายฟิลิป เลน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ระบุว่า ECB อาจปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากขึ้น 0.25% จากระดับ -0.5% ในเดือนก.ค.และก.ย.
ปีนี้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ