ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 34.34 แกว่งในกรอบแคบ รอปัจจัยใหม่ จับตาประชุมกนง.-ECB-ตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐ

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 6, 2022 17:31 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 34.34 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจาก เปิดตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 34.38 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวตามทิศทางตลาดโลก ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 34.32 - 34.46 บาท/ดอลลาร์

"บาทกลับมาแข็งค่าช่วงท้ายตลาด โดยช่วงเช้าหลังเปิดตลาดแล้วอ่อนค่าต่อเนื่อง แต่ยังไม่มีปัจจัยใหม่เข้ามา" นักบริหาร
เงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 34.25 - 34.45 บาท/ดอลลาร์ ส่วนตัวเลขเงิน เฟ้อของไทยออกมาสูงเกินคาดทำให้ตลาดไม่มั่นใจว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยหรือไม่ ซึ่งต้องรอ ดูว่าจะส่งสัญญาณต่อทิศทางดอกเบี้ยอย่างไร

ทั้งนี้ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในสัปดาห์นี้ไว้ที่ 34.25 - 34.70 บาท/ดอลลาร์ โดยจับตาการประชุมธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) วันที่ 9 มิ.ย.65 และดัชนีราคาผู้บริโภคเดือน พ.ค.65 ของสหรัฐฯ

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 130.67 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 130.75 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0741 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0720 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,646.08 จุด ลดลง 1.59 จุด, -0.10% มูลค่าการซื้อขาย 58,372.21 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,153.17 ล้านบาท (SET+MAI)
  • รมว.คลัง มั่นใจเศรษฐกิจไทยในปี 65 จะขยายตัวได้ 3% โดยมีภาคส่งออกเป็นพระเอกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
หลังจากการส่งออกของไทยยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 64 จนถึงล่าสุดไตรมาส 1/65 ที่การส่งออกขยายตัวสูงถึง 15%
  • รมว.คลัง ระบุว่า ตอนนี้เศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงการฟื้นตัว ดังนั้น กนง.จะปรับขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่ จึงต้องพิจารณาอย่าง
รอบคอบใน 2 ประเด็นสำคัญ คือ ต้องรักษาไม่ให้เงินไหลออกนอกประเทศจนเกินไป และไม่สร้างต้นทุนให้ผู้ประกอบการ จนส่งผลกระทบ
ต่อการผลิตและเศรษฐกิจของประเทศ
  • กระทรวงพาณิชย์ เผยดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) หรือเงินเฟ้อเดือน พ.ค.65 อยู่ที่ระดับ 106.62 สูงสุดในรอบ
13 ปี โดยเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.10% และเพิ่มขึ้น 1.40% จากเดือน เม.ย.65 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อ 5 เดือนแรกของปี
นี้ (ม.ค.-พ.ค.65) เฉลี่ยอยู่ที่ 5.19 % ซึ่งมีปัจจัยจากราคาพลังงานที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐใน
บางโครงการได้สิ้นสุดลง เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม
  • กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ อยู่
ระหว่างการหารือเพื่อหาทางออกให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (แบงก์รัฐ) จำนวน 3 หมื่น
ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้ข้อยุติ
  • กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คาดดัชนีตลาดหุ้นไทยช่วงที่เหลือของปีนี้จะได้รับปัจจัยหนุนหลักจาก
การผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลับมาฟื้น
ตัว ซึ่งจะช่วยลดแรงกดดันจากต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะจากราคาพลังงาน
  • กรุงปักกิ่งจะผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 เพิ่มเติมโดยอนุญาตให้ประชาชนรับประทานอาหารที่ร้านได้หลัง
สถานการณ์โควิด-19 ในเมืองหลวงและนครเซี่ยงไฮ้คลี่คลายลงและเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติในช่วงที่ผ่านมา หลังผ่านการล็อกดาวน์เพื่อสกัด
การระบาดของไวรัสโอมิครอนมานานสองเดือน
  • ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยในวันนี้ว่า การใช้นโยบายคุมเข้มด้านการเงินไม่ใช่แนวทางที่เหมาะสม
สำหรับ BOJ ในเวลานี้ เนื่องจากเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงอยู่ในช่วงการฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
  • นักลงทุนในตลาดการเงินจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนพ.ค.ของสหรัฐในวันศุกร์นี้ ขณะที่นัก
วิเคราะห์จากบริษัทเนชันแนล ซิเคียวริตีส์ในสหรัฐคาดการณ์ว่า ดัชนี CPI ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค จะเพิ่มขึ้น
8.2% ซึ่งชะลอตัวลงจากเดือนเม.ย.ที่ขยายตัว 8.3%
  • นักวิเคราะห์จากริษัทเนชันแนล ซิเคียวริตีส์กล่าวว่า หากดัชนี CPI เดือนพ.ค.ออกมาสอดคล้องหรือใกล้เคียงกับตัวเลข
คาดการณ์ดังกล่าว ก็คาดว่าจะเป็นปัจจัยหนุนบรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์ก และอาจทำให้นักลงทุนมีมุมมองบวกว่า การชะลอตัว
ของเงินเฟ้อจะไม่ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ