(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.96 อ่อนค่าต่อเนื่อง คาดมีโอกาสทดสอบ 35.00 กังวลเฟดขึ้นดบ.แรง

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 14, 2022 11:15 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 34.96 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อน ค่าจากปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 34.80 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับตลาดโลก เนื่องจากดอลลาร์แข็งค่าหลังได้รับแรงหนุนจากจากการปรับตัวเพิ่มขึ้น มากของอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรของสหรัฐ ท่ามกลางความกังวลของนักลงทุนกรณีการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่คาดว่าอาจมากถึง 0.75% เพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อ ส่งผลให้ราคาสินทรัพย์ทุกประเภทปรับตัวอย่างผันผวนรุนแรง ทั้งตลาดเงิน ตลาด หุ้น และตลาดทองคำ

"บาทอ่อนค่าจากเย็นวานนี้ หลังดอลลาร์แข็งค่าตามบอนด์ยีล จากความกังวลของนักลงทุนเรื่องเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ย อีก 0.75%...วันนี้บาทมีโอกาสขึ้นไปทดสอบที่ระดับ 35.00 บาท/ดอลลาร์ ต้องรอดูว่าจะผ่านไปได้หรือไม่" นักบริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 34.85 - 35.10 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (13 มิ.ย.) อยู่ที่ระดับ 0.14245% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.70268%

SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 34.95000 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 133.89 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 134.59 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0422 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0460 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.812 บาท/
ดอลลาร์
  • รมว.คลัง กล่าวว่า กระทรวงการคลังเตรียมที่จะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบเก็บภาษี
การขายหุ้น (Financial Transaction Tax) โดยจะออกเป็นพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) ประกาศบังคับใช้
  • 'คลัง' จ่อออกแพ็กเกจช่วยคนจนรอบใหม่ ยันไม่หว่านแห เลือกช่วยเฉพาะกลุ่ม ส่วน 'คนละครึ่ง เฟส 5' รอไป
ก่อน รับงบประมาณมีจำกัด หลังเงินกู้เหลือ 4 หมื่นล้านบาท
  • บอร์ดบีโอไอไฟเขียวโครงการลงทุนกว่า 2 แสนล้านบาท เร่งเดินหน้ารถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ดันผลิต
อีวีแบบแบตเตอรี่ พร้อมยกระดับนิคมเดิม เพิ่มสิทธิประโยชน์ถือครองที่ดินดึงลงทุนต่างชาติ
  • ผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์บ่งชี้ว่า ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
0.25% ในการประชุมนโยบายการเงินในวันพฤหัสบดีนี้ (16 มิ.ย.) และจะปรับขึ้นในอัตราดังกล่าวในการประชุมครั้งต่อ ๆ ไป แม้
เงินเฟ้อพุ่งขึ้นใกล้ระดับเลข 2 หลักก็ตาม
  • ราคาบิตคอยน์ร่วงลงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดดิ่งลงกว่า 10% และหลุดจากระดับ 21,000 ดอลลาร์แล้วในช่วงเช้านี้
เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรงมากขึ้นเพื่อสกัดเงินเฟ้อ
  • ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (13 มิ.
ย.) โดยได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแรงถึง 0.75% หลังตัวเลขเงินเฟ้อ
สหรัฐพุ่งสูงกว่าคาด
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์ในวันจันทร์ (13 มิ.ย.) เนื่องจากการแข็ง
ค่าของดอลลาร์และการพุ่งของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเป็นปัจจัยกดดันตลาด นอกจากนี้ สัญญาทองคำยังได้รับปัจจัยลบ
จากความกังวลที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมสัปดาห์นี้เพื่อสกัดเงินเฟ้อ หลังสหรัฐเปิด
เผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พุ่งขึ้นเกินคาด
  • ตลาดพันธบัตรสหรัฐเกิดภาวะ inverted yield curve โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นดีดตัวเหนือ
พันธบัตรระยะยาว ซึ่งเป็นการบ่งชี้ถึงแนวโน้มการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย
  • ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์กเปิดเผยผลสำรวจคาดการณ์เงินเฟ้อของผู้บริโภคสหรัฐประจำเดือนพ.
ค. พบว่า ภาคครัวเรือนสหรัฐคาดว่าเงินเฟ้อจะปรับตัวขึ้นในช่วง 12 เดือนข้างหน้า
  • นักวิเคราะห์จากหลายสำนักต่างคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการ
ประชุมนโยบายการเงินในวันที่ 14-15 มิ.ย. ซึ่งจะเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2537 เพื่อสกัดการพุ่งขึ้น
ของเงินเฟ้อ
  • FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า ขณะนี้นักลงทุนให้น้ำหนักมากกว่า 50% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
0.75% ในการประชุมวันที่ 14-15 มิ.ย. เพิ่มขึ้นจากก่อนหน้านี้ที่ให้น้ำหนักเพียง 5%
  • ข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดย่อมเดือนพ.ค.จากสหพันธ์ธุรกิจอิสระ

แห่งชาติสหรัฐ (NFIB), ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนพ.ค., ยอดค้าปลีกเดือนพ.ค., ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนมิ.ย.จากสมาคม

ผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, การเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนพ.

ค., และการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพ.ค.


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ