ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.08 อ่อนค่าจากช่วงเช้า เคลื่อนไหวตามทิศทางภูมิภาค เกาะติดประชุมเฟดคืนนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 15, 2022 17:35 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 35.08 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากเปิด ตลาดเมื่อเช้าอยู่ที่ระดับ 35.05 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทยังคงเคลื่อนไหวทิศทางอ่อนค่าในรอบ 5 ปี ในกรอบ 35.02 - 35.14 บาท/ดอลลาร์ โดยเป็นการอ่อนค่าหลังดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่า แต่ช่วงบ่ายมีข่าวว่าคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประกาศจัดการประชุมนอกรอบ ส่งผลให้ดอลลาร์โดนขาย ทำให้บาทกลับมาแข็งค่าเล็กน้อยในช่วงท้ายตลาด ด้านภูมิภาคส่วนใหญ่เคลื่อนไหวอ่อนค่าเล็กน้อย

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ ให้ไว้ในกรอบกว้างที่ 35.00 - 35.30 บาท/ ดอลลาร์ โดยคืนนี้ต้องรอดูผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) นอกจากนี้ ยังต้องติดตามยอดค้าปลีกเดือนพ.ค. ของสหรัฐฯ ด้วย

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 134.45 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าอยู่ที่ระดับ 135.05 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0484 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าอยู่ที่ระดับ 1.0448 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,593.54 จุด ลดลง 9.49 จุด (-0.59%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 68,929 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,538.12 ลบ.(SET+MAI)
  • ประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) มองหากคืนนี้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแรงเกินคาดอาจกดตลาดหุ้นทั่วโลกถอย
กลับไปต่ำกว่าช่วงก่อนโควิด
  • ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย (KTB) ประเมินว่า ยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนถึงขั้นที่คณะกรรมการ
นโยบายการเงิน (กนง.) ต้องเรียกประชุมนัดพิเศษก่อนการประชุมตามรอบปกติในเดือน ส.ค. 65 เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจของ
ไทยไม่ได้มีความน่ากังวลมาก โดยจะเห็นได้จากในอดีตการประชุม กนง. นัดพิเศษในวันที่ 20 มี.ค. 63 มาจาการที่ประเทศไทยเผชิญกับ
ผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างหนักจนทำให้ กนง. ต้องปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงจาก 1.00% มาเหลือ 0.75% เพื่อช่วย
บรรเทาปัญหาสภาพคล่องในตลาดการเงินและลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวมอย่างเร่งด่วน
  • KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร คาดการณ์ว่าเงินเฟ้ออาจไม่ใช่ปัญหาระยะสั้น และมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น
ยาวนานกว่าที่คาด ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยไทยกำลังเปลี่ยนทิศทางเป็นขาขึ้น คาดการณ์เงินเฟ้อเป็น 6.6% ในปี 65 และ 3.1% ในปี 66
สิ่งที่ต้องจับตามอง คือ แนวโน้มเงินเฟ้อสูง และดอกเบี้ย จะส่งผลอย่างมากต่อปัญหาค่าครองชีพ ต้นทุน และส่งผลต่อเนื่องกับภาระการ
ชำระหนี้ของครัวเรือนที่จะปรับตัวสูงขึ้น สร้างความเสี่ยงให้เศรษฐกิจไทยซึมยาว
  • หัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเปิดเผยในวันนี้ (15 มิ.ย.) ว่า รัฐบาลญี่ปุ่นหวังว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะ
ดำเนินมาตรการที่จำเป็นอย่างเหมาะสม เพื่อรับมือกับค่าเงินเยนที่ร่วงอย่างรุนแรงและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น

ตลาดจะจับตาดูว่า ญี่ปุ่นจะเข้าแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตราเพื่อยับยั้งการร่วงลงของเงินเยนหรือไม่ หลังจากแถลงการณ์ ร่วมเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (10 มิ.ย.) ของรัฐบาลญี่ปุ่นและ BOJ แสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับเงินเยนที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง

  • คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประกาศจัดการประชุมฉุกเฉินในวันนี้ เพื่อหารือ
เกี่ยวกับสถานการณ์ในตลาดพันธบัตรที่มีความผันผวน หลังจากนักลงทุนเทขายออกมาอย่างหนัก
  • สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า กรุงปักกิ่งพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 63 รายเมื่อวานนี้ (14 มิ.ย.) โดยยังคงอยู่

ในระดับสูงกว่า 50 รายเป็นวันที่ 5 ติดต่อกัน โดยยอดผู้ติดเชื้อได้เพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา หลังจากที่ลดลงสู่ระดับเลขหลัก

เดียวเมื่อสัปดาห์ก่อน ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่อาจเลื่อนแผนคลายล็อกดาวน์ในวันที่ 16 มิ.ย.นี้ออกไปก่อน เนื่องจากยอดผู้ติดเชื้อรายวันยังสูงอยู่


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ