นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 35.27 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 35.08 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 35.06-35.28 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาทยัง คงอ่อนค่าในรอบ 5 ปี (ตั้งแต่เดือนมี.ค. 60)
เงินบาทเย็นนี้อ่อนค่าเช่นเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาค โดยวันนี้มีนักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิในตลาดพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ (Bond Yield) และมีโฟลว์ซื้อขายทั่วไป (ซื้อดอลลาร์-ขายบาท)
"หลังจากที่วันนี้ ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน ทำให้เงินเยนกลับมาอ่อนค่ารวดเร็วมาก" นัก
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันจันทร์ไว้ที่ 35.10 - 35.35 บาท/ดอลลาร์ สำหรับปัจจัยที่ ต้องติดตามคืนนี้ คือ การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพ.ค. ของสหรัฐฯ นอกจากนี้ในช่วงนี้ยังต้องติดตามทิศทางอัตราผลตอบแทนพันธบัตร สหรัฐฯ และหุ้นสหรัฐฯ ด้วย
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 134.67 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 132.86 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0512 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0537ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,559.39 จุด ลดลง 1.71 จุด (-0.11%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 101,339 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,629.30 ลบ. (SET+MAI)
- ศบค.ชุดใหญ่ มีมติให้ผ่อนคลายมาตรการป้องกันควบคุมโรคในประเทศเพิ่มเติม ดังนี้ ปรับระดับพื้นที่สถานการณ์เป็นระดับ
- ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ได้ปรับคำแนะนำการเตือนภัยโควิดจากระดับ 3 เป็นระดับ 2 ทั่วประเทศ
- ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลัง เตรียมปรับประมาณการเศรษฐกิจไทย
- ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCBB) กล่าวว่า เศรษฐกิจโลกชะลอตัวจากเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง และการขึ้นดอกเบี้ยเร็วและ
- ผลสำรวจบ่งชี้ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พื้นฐานของญี่ปุ่นในเดือนพ.ค. 2565 มีแนวโน้มปรับตัวขึ้น 2.1% จากปีก่อน
- ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษ (Ultraeasy Monetary Policy) ใน
ด้านผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เตือนว่า เงินเยนที่ทรุดตัวลง กำลังส่งผลกระทบด้านลบต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น พร้อมทั้งระบุว่าเงินเยนควรจะเคลื่อนไหวอย่างมีเสียรภาพ และสะท้อนถึงปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจและการเงิน
- ผู้ว่าการธนาคารกลางอินเดีย (RBI) ระบุว่า ธนาคารกลางฯ จะเปลี่ยนจากนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษ มา
- สมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) มีมติเห็นชอบข้อตกลงการค้าหลายฉบับในวันนี้ (17 มิ.ย.) ซึ่งรวมถึงข้อตกลงเรื่อง
การส่งเสริมสุขภาพ การปฏิรูปด้านต่าง ๆ และความมั่นคงด้านอาหาร หลังจากการเจรจาอันยาวนานกว่า 5 วัน