นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 35.31 บาท/ดอลลาร์ (อ่อนค่าใน รอบ 5 ปี) อ่อนค่าจากปิดตลาดเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 35.27 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากช่วงวันศุกร์ที่ผ่านมาอัตราผลตอบแทนพันธบัตร สหรัฐฯ ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ดอลลาร์ในตลาดโลกแข็งค่า ด้านภูมิภาคส่วนใหญ่อ่อนค่า
สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตาม คืนนี้ตลาดสหรัฐฯ ปิด แต่ยังคงต้องดูโฟลว์ซื้อ-ขายหุ้น
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.20 - 35.40 บาท/ดอลลาร์
THAI BAHT FIX 3M (17 มิ.ย.) อยู่ที่ระดับ 0.66027% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.95079%
SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 35.25875 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 134.99 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 134.67 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0497 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0512 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.228 บาท/
- ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังพร้อมจะปัดฝุ่น การออกกฎหมาย พ.ร.บ.ภาษีการได้รับ
- "เลขาฯประธานสภาฯ" ขอ 7 วันตรวจสอบญัตติซักฟอกของฝ่ายค้าน แต่แค่จำนวน ส.ส.-ประเด็นตาม รธน. เมิน
- WHO ออกประกาศเลิกระบุ "ฝีดาษลิง" เป็นโรคเฉพาะถิ่น หวังทุกประเทศร่วมเฝ้าระวัง คาดผู้ป่วยเพิ่มทั่วโลก
- ธนาคารกลางจีนประกาศคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ประเภท 1 ปีที่ระดับ 3.7% และคงอัตรา
การดำเนินการดังกล่าวสวนทางกับธนาคารกลางทั่วโลกที่เริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ โดยธนาคารกลาง สหรัฐ (เฟด), ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) , ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ รวมทั้งธนาคารกลางฮังการี บราซิล ไต้หวัน ฮ่องกง และอาร์เจนตินา ต่างก็ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสัปดาห์ที่แล้ว
- Conference Board บริษัทวิจัยธุรกิจเปิดเผยผลสำรวจครั้งใหม่บ่งชี้ว่า ซีอีโอส่วนใหญ่ทั่วโลกคาดว่า เศรษฐกิจจะ
- นักเศรษฐศาสตร์ของแบงก์ออฟอเมริกา ซีเคียวริตีส์ (BofAS) คาดว่า มีโอกาสราว 40% ที่เศรษฐกิจสหรัฐจะเข้า
- นักลงทุนในตลาดการเงินจับตานายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งมีกำหนดแถลง
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาคลีฟแลนด์ระบุว่า อาจต้องใช้เวลานานถึงสองปีเงินเฟ้อจึงจะลดลงแตะ
- ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญสัปดาห์นี้ ได้แก่ ยอดขายบ้านมือสองและยอดขายบ้านใหม่เดือนพ.ค. ผลสำรวจ
ความเชื่อมั่น/ตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อจากมุมมองของผู้บริโภค รวมถึงข้อมูล PMI เบื้องต้นเดือนมิ.ย. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการ
ว่างงานรายสัปดาห์