นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 35.52 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากเปิด ตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 35.42 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากมีแรงซื้อดอลลาร์จากผู้นำเข้าที่ต้องชำระก่อนปิดบัญชีครึ่งปี ขณะที่ดอลลาร์ปรับตัวแข็ง ค่าจากความกังวลเรื่องการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และแนวโน้มเศรษฐกิจโลกถดถอย ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อน ไหวในกรอบ 35.40 - 35.52 บาท/ดอลลาร์
"วันนี้บาทปิดตลาดอ่อนค่าสุดในรอบ 5 ปีครึ่ง หลุดแนวต้าน 35.50 บาท/ดอลลาร์ หลังมีแรงซื้อดอลลาร์จากผู้นำเข้า ทำให้ บาทอ่อนค่าสุดในภูมิภาค เพราะหาปัจจัยบวกยาก" นักบริหารเงิน กล่าว
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 35.40 - 35.60 บาท/ดอลลาร์ โดยตลาดรอฟัง ถ้อยแถลงนโยบายต่อสภาคองเกรสของประธานธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)ว่าจะส่งสัญญาณอย่างไร
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 135.14 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 135.48 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0511 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0516 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,560.02 จุด ลดลง 14.50 จุด, -0.92% มูลค่าการซื้อขาย 68,260.93 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 3,722.38 ล้านบาท(SET+MAI)
- ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) คาดว่าการขึ้น
ดอกเบี้ยของ Fed จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยระยะยาวปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง EIC มองว่า ในระยะต่อ
ไป อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นได้อีกเล็กน้อย ขณะที่ค่าเงินบาทก็จะเผชิญแรงกดดันด้านอ่อนค่าในระยะสั้นเช่น
เดียวกับสกุลเงินอื่นในภูมิภาค อย่างไรก็ดี คาดว่าเงินบาทจะกลับมาแข็งค่าขึ้นในช่วงปลายปี ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ซึ่งมีแนว
โน้มกระตุ้นเงินทุนไหลเข้า และดุลบัญชีเดินสะพัดที่จะกลับมาเกินดุล
- ผู้อำนวยการ ฝ่ายจัดอันดับเครดิตประเทศ ภูมิภาคเอชีย-แปซิฟิค ของบริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ จำกัดกล่าวในการบรรยายใน
งานสัมมนา หัวข้อ "2022 Thailand Sovereign and Bank Outlook" ว่า จากการประมาณการคาดว่าเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ปี
65 จะมีอัตราการเติบโตที่ 3.2% และปี 66 เติบโตที่ 4.5% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและอุปสงค์
ภายในประเทศ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อที่สูงและการชะลอตัวของอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลก จะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการประมาณการของ
ฟิทช์
- เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 66 จะขยายตัว
ได้ 4.3-4.5% จากในปีนี้ที่คาดว่าจะโตได้ 3% โดยมาจากแรงหนุนการส่งออก และท่องเที่ยวที่คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาประมาณ 7-
10 ล้านคน แต่ยังคงต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ไม่สามารถควบคุมได้อย่างใกล้ชิด ได้แก่ ปัญหาเงินเฟ้อในสหรัฐและสหภาพยุโรป
เศรษฐกิจจีนชะลอตัว
- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยแพร่รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ระบุว่านโยบาย
การเงินต้องชั่งน้ำหนัก (trade-off) ระหว่างการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ การดูแลเงินเฟ้อ และการรักษาเสถียรภาพระบบการเงินอย่าง
รอบด้าน โดยมีประเด็นสำคัญที่คณะกรรมการฯ ได้มีการอภิปรายกัน คือ น้ำหนักของความเสี่ยง (balance of risks) ในการตัดสิน
นโยบายการเงินเริ่มเปลี่ยนไปจากการประเมินครั้งที่แล้ว โดยน้ำหนักความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจปรับลดลง ขณะที่น้ำหนักความเสี่ยงด้านเงิน
เฟ้อปรับเพิ่มขึ้น
- สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (ONS) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของอังกฤษพุ่งขึ้น 9.1% ในเดือนพ.ค.
เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี และยังสูงกว่าประเทศอื่น ๆ ในกลุ่ม G7 โดยดัชนี CPI เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เกิดจาก
การใช้จ่ายของผู้บริโภค
- นักเศรษฐศาสตร์จากเรโซลูชัน ฟาวเดชัน กล่าวว่า เบร็กซิตส่งผลกระทบในลักษณะกระจายตัวมากกว่า โดยลดทอนความ
สามารถในการแข่งขันและความเปิดกว้างทางการค้าของสหราชอาณาจักรกับประเทศต่าง ๆ ซึ่งในที่สุดจะไปลดผลิตภาพและค่าแรงที่แท้จริง
ของคนงานด้วย
- ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการลงทุนของบริษัทแอบโซลูท สตราเทจี รีเสิร์ช (Absolute Strategy
Research) คาดการณ์ว่า ราคาบิตคอยน์มีแนวโน้มร่วงลงสู่ระดับต่ำถึง 13,000 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นการทรุดตัวลงเกือบ 40% จากระดับ
ปัจจุบัน
- รัฐมนตรีคลังสหรัฐ มองว่ามีความเป็นไปได้ที่การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐจะติดลบเป็นเวลา 2 ไตรมาส ซึ่งเป็นเกณฑ์
บ่งชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่เชื่อว่า มีความเป็นไปได้ที่เงินเฟ้อจะชะลอตัวลง ขณะที่ยังคงมีการจ้างงานเต็มศักยภาพ
- นักลงทุนจับตานายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งมีกำหนดแถลงนโยบายการเงินและภาวะ
เศรษฐกิจสหรัฐรอบครึ่งปีต่อคณะกรรมาธิการการธนาคารประจำวุฒิสภาในวันพุธที่ 22 มิ.ย. และจากนั้นจะแถลงต่อคณะกรรมาธิการบริการ
การเงินประจำสภาผู้แทนราษฎรในวันพฤหัสบดีที่ 23 มิ.ย.
โดย ธนวัฏ เสือแย้ม/รัชดา คงขุนเทียน