ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.51 อ่อนค่าต่อ จับตาถ้อยแถลงปธ.เฟด คาดกรอบพรุ่งนี้ 35.35-35.55

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 23, 2022 17:51 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 35.51 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าใน รอบ 5 ปี และอ่อนค่าจากเปิดตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 35.35 บาท/ดอลลาร์

ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 35.33 - 35.51 บาท/ดอลลาร์ โดยเย็นนี้เงินบาทอ่อนค่าทิศทางเดียวกับ สกุลเงินในภูมิภาค ระหว่างวันยังไร้ปัจจัยใหม่

"ระหว่างวัน ยังไม่เห็นปัจจัยใหม่ ในตลาดพันธบัตร ก็เห็นต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตรอยู่บ้าง" นักบริหารเงิน
กล่าว

โดยคืนนี้ ตลาดรอฟังถ้อยแถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎร ของประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เป็นวันที่ 2 นอก จากนี้ ยังต้องติดตามดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นต้นเดือนมิ.ย.จากเอสแอนด์พี โกลบอล และจำนวนผู้ขอรับ สวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ของสหรัฐฯ ด้วย

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 35.35 - 35.55 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 135.38 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 135.88 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0509 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0572 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,557.61 จุด ลดลง 2.41 จุด (-0.15%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 63,893 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,237.15 ลบ.(SET+MAI)
  • อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ได้รับรายงานจากด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศ
และจากโรงพยาบาลทั้งภาครัฐ และเอกชน พบผู้ป่วยสงสัยโรคฝีดาษลิงรวม 10 ราย ซึ่งทั้งหมดเป็นชาวต่างชาติ และผลยืนยันการ
ตรวจจากห้องปฏิบัติการไม่พบเชื้อฝีดาษลิง ซึ่งขณะนี้ยังไม่พบผู้ป่วยยืนยันโรคฝีดาษลิงในประเทศไทย
  • เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เผยในระยะเร่งด่วน จะประเมินภาวะเงินเฟ้อ เศรษฐกิจชะลอตัว
และถดถอยว่าจะมีผลกระทบกับประชาชนอย่างไร ซึ่งถือเป็นความมั่นคงทางด้านพลังงานและอาหาร โดยระหว่างนี้กำลังพูดคุยเพื่อจัด
ระบบติดตามประเมินผล และทำข้อเสนอแนะให้รัฐบาล คาดว่าจะมีข้อสรุปออกในวันที่ 1 ก.ค. 65
  • สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เผยเดือน พ.ค.65 มียอดส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปอยู่ที่ 76,937
คัน ลดลง 3.20% จากเดือน พ.ค.64 และลดลง 48.78% จากเดือน เม.ย. 65 เนื่องจากยังคงประสบปัญหาขาดแคลนเซมิคอน
ดักเตอร์และชิ้นส่วนบางอย่าง แม้กระบวนการผลิตจะกลับมาสู่ภาวะปกติแล้ว
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี (ttb analytics) ประเมินว่า จำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวใน
ประเทศจะสูงถึง 188.1 ล้านคน/ครั้ง หรือขยายตัว 161.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 64 และมีรายได้จากการท่องเที่ยว
ราว 7.2 แสนล้านบาท หรือขยายตัว 228%
  • ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ระบุว่า การที่เศรษฐกิจไทยรวมทั้งประเทศอื่นๆ ต้องเจอกับภาวะอัตราเงินเฟ้อใน
ระดับสูง ก็จะเป็นแรงกดดันให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จำเป็นต้องพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งในปีนี้
ซึ่งคาดว่าจะเป็นรอบการประชุมในเดือนส.ค. และเดือน พ.ย.
  • ประธานาธิบสหรัฐ เรียกร้องให้สภาคองเกรสระงับการเก็บภาษีรัฐบาลกลาง (Federal Tax) สำหรับน้ำมัน
เบนซินเป็นเวลา 90 วัน ขณะที่ชาวอเมริกันต่างไม่พอใจต่อราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นในประเทศ
  • องค์การอนามัยโลก (WHO) มีกำหนดตัดสินใจในวันนี้ (23 มิ.ย.) ว่า จะประกาศให้โรคฝีดาษลิงเป็นภาวะฉุกเฉิน
ด้านสุขภาพระดับโลกหรือไม่ ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับบรรดานักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของแอฟริกา เพราะแอฟริกาเผชิญกับ
วิกฤตการณ์ดังกล่าวมาหลายปีแล้ว
  • เอสแอนด์พี โกลบอล เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและบริการขั้นต้นของยูโรโซน
ปรับตัวลดลงแตะ 51.9 ในเดือนมิ.ย. 65 จากระดับ 54.8 ในเดือนพ.ค. ด้านหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ด้านธุรกิจของเอสแอนด์พี
โกลบอล มาร์เก็ต อินเทลลิเจนซ์ กล่าวว่า หากตัดเดือนที่มีการล็อกดาวน์ออกไป ตัวเลข PMI รวมขั้นต้นเดือนมิ.ย.นับว่าชะลอตัว
รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตการเงินโลกในเดือนพ.ย. 51 ย่ำแย่ถึงขีดสุด
  • กลุ่มนักเศรษฐศาสตร์และผู้จัดการกองทุนมองว่า เศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มจะเผชิญภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว แต่เงิน
เฟ้อพุ่ง (Stagflation) มากที่สุดภายใน 12 เดือนข้างหน้า พร้อมระบุว่า ภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่ไม่น่าพึง
พอใจ (Stagnation) เป็นความเสี่ยงระยะยาวของสหรัฐ
  • โฆษกกระทรวงพาณิชย์จีน ระบุ ยิ่งสหรัฐยกเลิกมาตรการจัดเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเร็วขึ้นเพียงใด บรรดาผู้
บริโภคและบริษัทต่างๆ ก็ได้จะรับประโยชน์เร็วขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้ การยกเลิกการจัดเก็บภาษีเพิ่มเติมต่อสินค้านำเข้าจีนทั้งหมด จะเป็น
ผลดีต่อทั้งจีน สหรัฐ และทั่วโลก พร้อมทั้งเสนอว่าทั้งสองประเทศควรสร้างเงื่อนไขความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างกัน
  • ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 2.50% ในการประชุม

นโยบายการเงินในวันนี้ โดยเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายติดต่อกันเป็นครั้งที่สอง ท่ามกลางการพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วของเงิน

เฟ้อและสกุลเงินเปโซอ่อนค่า


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ