นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 35.47 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 35.52 บาท/ดอลลาร์
โดยระหว่างวัน เงินบาทอ่อนค่าไปมากสุดที่ระดับ 35.55 บาท/ดอลลาร์ จากนั้นค่อยเริ่มปรับขึ้นมา โดยช่วงนี้ตลาดคง ยังติดตามและให้ความสำคัญกับปัจจัยเรื่องทิศทางดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ขณะที่คืนนี้ ฝั่งสหรัฐฯ จะการรายงานยอดขายบ้านใหม่ เดือนพ.ค. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมิ.ย.
นักบริหารเงิน คาดว่า สัปดาห์หน้าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.20 - 35.60 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 135.00/02 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 134.83 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0551/0555 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0529 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,568.76 จุด เพิ่มขึ้น 11.15 จุด (+0.72%) มูลค่าการซื้อขาย 65,946 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,064.05 ลบ.(SET+MAI)
- อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า จากระบบการเฝ้าระวังสายพันธุ์ ของกรม
- องค์การอนามัยโลก (WHO) ยืนยันว่า ขณะนี้มีผู้ติดเชื้อฝีดาษลิง (Monkeypox) แล้วกว่า 3,200 รายทั่วโลก และมีผู้เสีย
- มาเก๊าสั่งล็อกดาวน์อาคารที่อยู่อาศัยหลายแห่ง โดยพยายามที่จะสกัดกั้นการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่พุ่งขึ้น ซึ่งทำให้
- ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมิ.ย.ของอังกฤษ ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ โดยลดลงแตะที่ -41 ในเดือนมิ.ย.
- ญี่ปุ่น เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) เดือนพ.ค.65 พุ่งขึ้น 2.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- รองผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ระบุว่า BOJ ต้องจับตาดูผลกระทบของค่าเงินที่อาจเกิดกับเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด
- คืนนี้ สหรัฐฯ จะมีการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ยอดขายบ้านใหม่เดือน พ.ค. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค
เดือนมิ.ย. จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน ขณะที่สัปดาห์หน้า จะเปิดเผยยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขายเดือนพ.ค., ดัชนีการผลิตเดือนมิ.
ย., ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมิ.ย.จาก Conference Board, ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1/2565 และ
จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์