ภาวะตลาดเงินบาท: เย็นนี้ 35.17 ระหว่างวันผันผวน ก่อนกลับมาทรงตัวจากช่วงเช้า จับตา ECB FORUM

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 29, 2022 16:11 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทช่วงเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 35.17 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงจากช่วง เช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 35.18 บาท/ดอลลาร์

โดยระหว่างวันเงินบาทแกว่งค่อนข้างแรง แข็งค่าสุดที่ระดับ 34.95 และอ่อนค่าสุดที่ระดับ 35.25 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งในช่วง เช้ามีแรงขายดอลลาร์ รวมถึงต่างชาติเข้าซื้อพันธบัตรอีกราว 4 พันล้านบาท และในภาพรวมทิศทางของดอลลาร์สหรัฐฯ ยังมีแนวโน้มแข็ง ค่าต่อเนื่อง

อย่างไรก็ดี คืนนี้ต้องติดตามการประชุม ECB FORUM ซึ่งจัดที่ประเทศโปรตุเกส โดยตลาดรอฟังว่าประธานธนาคารกลาง สหรัฐ (เฟด) ที่จะเข้าร่วมงานในครั้งนี้ จะให้ความเห็นหรือส่งสัญญาณในเรื่องดอกเบี้ยและทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐอย่างไร

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.00 - 35.25 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT SPOT RATE FIXING อยู่ที่ระดับ 35.1649 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 136.16 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 136.04 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0506 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0528 ดอลลาร์/ยูโร
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านปริวรรตเงินตรา ระบุว่า การอ่อนค่าของเงินบาทอาจจะสิ้นสุดลงในไม่ช้านี้ หลังจากไทยเริ่มเปิดประเทศ
ต้อนรับนักท่องเที่ยว และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
  • ธนาคารโลก คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 65 จะขยายตัว 2.9% ลดลงจากประมาณการเดิม (ธ.ค. 64) ที่คาดว่าจะ
ขยายตัวได้ 3.9% โดยมองว่าแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 65 จะฟื้นตัวได้ดีขึ้น จากแรงกระตุ้นของการบริโภคภาคเอกชน
และการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว
  • ธนาคารโลก ชี้ กนง. สามารถเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ในเร็ว ๆ นี้ แต่ควรเป็นในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป
โดยหากมีการปรับขึ้นในทุกรอบของการประชุม กนง.ในช่วงที่เหลือของปีนี้ ดอกเบี้ยนโยบายจะสามารถกลับสู่อัตราใกล้เคียงกับอัตรา
ดอกเบี้ยปกติได้ในปี 66 ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจไทยค่อนข้างฟื้นตัวได้ดีขึ้น
  • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เผยเศรษฐกิจไทย พ.ค.65 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดี
ขึ้น ทั้งจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ และผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นจากเดือน
ก่อนหน้า แต่ต้องติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ที่ได้ส่งผลกระทบต่อราคาพลังงาน ต้นทุนการผลิต และค่าครองชีพ
ของประชาชน
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน พ.ค. 65 อยู่ที่ระดับ 98.05 หดตัว 2.11% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบ ได้แก่ การปิดเมืองของประเทศจีน ทำให้เกิดปัญหา Supply shortage ขณะที่สถานการณ์เงินเฟ้อยังคงส่งผล
กระทบกับผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม ผ่านการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต
  • ซีอีโอของบริษัท Ark Investment Management กล่าวว่า ขณะนี้เศรษฐกิจสหรัฐได้เข้าสู่ภาวะถดถอยแล้ว และยอมรับ
ว่าที่ผ่านมานั้น ได้ประเมินความรุนแรงและความยืดเยื้อของวิกฤตเงินเฟ้อต่ำเกินไป
  • ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) กล่าวในงานเสวนาซึ่งจัดขึ้นโดยธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS)ว่า
BOJ จะเดินหน้าใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษ (Ultra-loose Monetary Policy) ต่อไป เนื่องจากเศรษฐกิจญี่ปุ่นไม่ได้
รับกระทบรุนแรงจากวิกฤตเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นทั่วโลก
  • กระทรวงการคลังฝรั่งเศส ปรับลดคาดการณ์การ GDP ปีนี้ลงสู่ระดับ 2.5% ซึ่งลดลงอย่างมากจากคาดการณ์เดิมที่ระดับ
4% เนื่องจากผลกระทบของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่แพร่ระบาดอย่างหนักตั้งแต่ช่วงต้นปี รวมทั้งการที่รัสเซียส่งทหารโจมตี
ยูเครน
  • เวียดนาม เผย GDP ไตรมาส 2/2565 ขยายตัว 7.72% ซึ่งเป็นการขยายตัวเร็วที่สุดในรอบเกือบ 10 ปี และดีกว่าที่นัก
วิเคราะห์คาดการณ์ไว้ โดยได้แรงหนุนจากการฟื้นตัวด้านการส่งออก และการผลิต ซึ่งช่วยชดเชยผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโค
วิด-19 และการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมัน
  • ผู้ว่าการธนาคารกลางไต้หวัน เปิดเผยว่า ธนาคารกลางไต้หวัน อยู่ระหว่างดำเนินการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลของธนาคาร
กลาง (CBDC) เพื่อเปิดทางให้ประชาชนใช้กระเป๋าเงินดิจิทัล และชำระเงินได้โดยไม่ต้องใช้บัตรเดบิตหรือบัตรเครดิต โดยปัจจุบันมี 10
ประเทศที่เปิดตัว CBDC แล้ว และอีก 150 ประเทศยังอยู่ในระหว่างการสำรวจเพื่อพัฒนาสกุลเงินดังกล่าว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ