นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 35.67 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากเย็น วันศุกร์ที่ปิดตลาดที่ระดับ 35.63 บาท/ดอลลาร์
เช้านี้เงินบาทเปิดตลาดอ่อนค่าสุดในรอบ 5 ปีครึ่งนับตั้งแต่เดือน ม.ค.60 เนื่องจากตลาดมีความกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอย จึงทำให้มีการเข้าซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย โดยเฉพาะเงินดอลลาร์สหรัฐ จึงส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับ สกุลเงินอื่นๆ
"บาทอ่อนค่าตามสกุลเงินในภูมิภาค หลังจากที่ตลาดมีความกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะถดถอย จึงเข้าไปซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย เช่น ดอลลาร์" นักบริหารเงินระบุ
สำหรับวันนี้ยังไม่มีข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญที่จะมีผลต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทมากนัก เพราะสหรัฐฯ ปิดทำการเนื่องในวัน ชาติสหรัฐ ดังนั้นปัจจัยหลักๆ ที่ตลาดติดตาม คือ รอรายงานการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ใน วันพุธนี้ ซึ่งจะเป็นรายงานการประชุมเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 65
นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.50- 35.75 บาท/ดอลลาร์
THAI BAHT FIX 3M (1 ก.ค.) อยู่ที่ระดับ 0.60663% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.86695%
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 134.96 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 135.55 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0439 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0463 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.537 บาท/
- สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันศุกร์ (1 ก.
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลดลงในวันศุกร์ (1 ก.ค.) เนื่องจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์เป็นปัจจัยถ่วงตลาด
- ทีมนักวิเคราะห์ของบริษัท เจพีมอร์แกน คาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันในตลาดโลกอาจจะพุ่งขึ้นแตะระดับ 380 ดอลลาร์/
- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป (ยูโรสแตท) เปิดเผยว่า เงินเฟ้อของยูโรโซน พุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้ง
- China Foreign Exchange Trading System (CFETS) รายงานว่าอัตราค่ากลางสกุลเงินหยวนในวันนี้อ่อนค่าลง
- องค์การอนามัยโลก (WHO) เตือนว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิงในยุโรป เนื่อง
- สัปดาห์นี้ สหรัฐฯ จะรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ FOMC เปิดเผยรายงานการประชุมวันที่ 14-15 มิ.ย., ดัชนีผู้
จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนมิ.ย., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดนำเข้า-ส่งออก-ดุลการค้า
เดือนพ.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมิ.ย.