ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 36.25 อ่อนค่าต่อเนื่องจากวานนี้ ให้กรอบวันนี้ 36.15-36.40

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday July 7, 2022 09:32 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 36.25 บาท/ดอลลาร์ เป็นการอ่อน ค่าสุดในรอบ 6 ปีครึ่ง นับตั้งแต่ต้นปี 2559 โดยอ่อนค่าต่อเนื่องจากเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 36.07 บาท/ดอลลาร์

คาดว่าวันนี้เงินบาทยังคงมีแนวโน้มอ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง เพราะตลาดยังมีความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั้งในสหรัฐ และสหภาพยุโรป ประกอบกับเมื่อคืนราคาทองคำร่วงลงค่อนข้างเร็ว ซึ่งคาดว่าจะทำให้มี flow นำเข้าทองคำเพิ่มขึ้นในวันนี้ ส่งผลให้ ดอลลาร์แข็งค่า และบาทยังคงอ่อนค่าต่อ

สำหรับคืนนี้ ตลาดรอติดตามการรายงานข้อมูลยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐ

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 36.15 - 36.40 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (6 ก.ค.) อยู่ที่ระดับ 0.73045% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.98954%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 135.63 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นที่ปิดตลาดที่ระดับ 135.29 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0182 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นที่ปิดตลาดที่ระดับ 1.0230 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 36.017 บาท/ดอลลาร์
  • ผู้บริหารงานวิจัย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทในช่วงบ่ายของวันที่ 6 ก.ค. อยู่ระดับ 36.07 บาทต่อ
ดอลลาร์ ซึ่งอ่อนค่าสุดในรอบ 6 ปี 5 เดือนนับตั้งแต่ปลายเดือน ม.ค.59 มาจากความกังวลธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด เร่งขึ้นดอกเบี้ย
นโยบาย, เศรษฐกิจทั่วโลกถดถอยและเงินเฟ้อไทยล่าสุดที่เพิ่มสูง 7.66% และยังมีแนวโน้มอ่อนค่าลงต่อเนื่อง จนกว่าความหวังคือนักท่อง
เที่ยวต่างชาติกลับมามากขึ้นในช่วงไตรมาส 4 ซึ่งเป็นช่วงฤดูท่องเที่ยว หรือไฮซีซั่น โดยในอดีตค่าเงินบาทเคยอ่อนค่าสุดในช่วงหลังจาก
ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท เมื่อปี 40 ซึ่งเกิดวิกฤติต้มยำกุ้งตามมา โดยเงินบาทอ่อนค่าเรื่อยๆ จนอยู่ระดับ 56.45 บาทต่อดอลลาร์เมื่อวัน
ที่ 13 ม.ค.41
  • "คลัง" เร่งหารือ "พลังงาน" ดูแลผลกระทบ "น้ำมัน-ก๊าซ" เฉพาะกลุ่ม "อาคม" ชี้เงินเฟ้อนิวไฮ 13 ปี ไม่ถือว่าสูง
เมื่อเทียบประเทศเพื่อนบ้าน
  • นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) คาดเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2565 จะฟื้นตัวต่อ
เนื่อง โดยได้รับปัจจัยหนุนจากภาคการท่องเที่ยวการส่งออก และการบริโภคภาคเอกชนขณะที่แรงกดดันจากเงินเฟ้อ และส่วนต่างดอกเบี้ย
กับสหรัฐฯ ที่กว้างมากขึ้นน่าจะทำให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีมติปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายในไตรมาสนี้
  • ททท.เตรียมเสนอ ศบศ.ยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซ่า เพื่อให้นักท่องเที่ยวนำเงินมาจับจ่ายใช้สอยในไทยแทน ประมาณ
5,000-7,000 ล้านบาท ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ
  • ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมประจำวันที่ 14-15 มิ.ย. โดยระบุว่า กรรมการเฟดยังคงเล็ง
เห็นถึงความจำเป็นในการควบคุมเงินเฟ้อ แม้ว่าการดำเนินการดังกล่าวอาจทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยก็ตาม โดยกรรมการเฟดเชื่อ
ว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% หรือ 0.75% ในการประชุมเดือนก.ค.ถือเป็นเรื่องที่เหมาะสม และมีความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับขึ้น
ดอกเบี้ยในระดับที่รุนแรงมากขึ้นเพื่อสกัดเงินเฟ้อ
  • เอสแอนด์พี โกลบอลเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของสหรัฐ ปรับตัวลงสู่ระดับ 52.7 ในเดือน
มิ.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. จากระดับ 53.4 ในเดือนพ.ค.
  • สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคบริการของสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 55.3 ในเดือนมิ.ย.
ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี หรือนับตั้งแต่เดือนพ.ค.2563 แต่สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 54.3 หลังจากแตะระดับ 55.9
ในเดือนพ.ค.
  • สำนักงานสถิติของกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยผลสำรวจการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน
(JOLTS) พบว่า ตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน ซึ่งเป็นมาตรวัดอุปสงค์ในตลาดแรงงาน ลดลง 427,000 ตำแหน่ง สู่ระดับ 11.3 ล้าน
ตำแหน่งในเดือนพ.ค. แต่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 11.0 ล้านตำแหน่ง

ทั้งนี้ ตัวเลข JOLTS นับเป็นข้อมูลที่เฟดให้ความสนใจ โดยมองว่าเป็นมาตรวัดภาวะตึงตัวในตลาดแรงงาน ซึ่งเป็นปัจจัยใน การพิจารณานโยบายการเงิน และอัตราดอกเบี้ยของเฟด

  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (6 ก.
ค.) โดยดัชนีดอลลาร์พุ่งขึ้นทะลุระดับ 107 ทำสถิติสูงสุดระดับใหม่ในรอบ 20 ปี หลังรายงานการประชุมเดือนมิ.ย.ของธนาคารกลาง
สหรัฐ (เฟด) ระบุว่า เฟดจะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงติดต่อกันเป็นวันที่ 7 ในวันพุธ (6 ก.ค.) โดยตลาดยังคงถูกกดดันจากการแข็งค่าของ
สกุลเงินดอลลาร์ ซึ่งล่าสุดดัชนีดอลลาร์พุ่งขึ้นทะลุระดับ 107 ทำสถิติสูงสุดระดับใหม่ในรอบ 20 ปี
  • นักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย หลังจากตลาดพันธบัตรสหรัฐเกิดภาวะ inverted yield
curve อีกครั้งเมื่อคืนนี้ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นดีดตัวเหนือพันธบัตรระยะยาว ซึ่งเป็นการบ่งชี้ถึงแนวโน้มการเกิดภาวะ
เศรษฐกิจถดถอย
  • ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะเปิดเผยในวันนี้ ได้แก่ ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนเดือนมิ.ย., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการ
ว่างงานรายสัปดาห์, ยอดนำเข้า ส่งออก ดุลการค้าเดือนพ.ค. รวมทั้งการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐ
  • นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในวันศุกร์นี้ ด้านนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้าง
งานจะเพิ่มขึ้นเพียง 250,000 ตำแหน่งในเดือนมิ.ย. ต่ำกว่าระดับ 390,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. และคาดว่าอัตราว่างงานเดือนมิ.
ย.จะทรงตัวที่ระดับ 3.6%
  • ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุในวันพุธ (6 ก.ค.) ว่า แนวโน้มเศรษฐกิจโลก "ย่ำแย่ลง
อย่างมาก" นับตั้งแต่เดือนเม.ย. โดย IMF จะเผยแพร่รายงานคาดการณ์เศรษฐกิจสำหรับปี 2565 และ 2566 ฉบับใหม่ในช่วงปลาย
เดือนก.ค.นี้ หลังจากในเดือนเม.ย. IMF ได้หั่นคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกลงเกือบ 1% สู่ 3.6% ในปี 2565 และ 2566
ขณะที่เศรษฐกิจโลกขยายตัว 6.1% ในปี 2564

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ