ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 36.02 ทรงตัวจากช่วงเช้า แม้ระหว่างวันผันผวน จับตาตัวเลขจ้างงานสหรัฐฯ

ข่าวเศรษฐกิจ Friday July 8, 2022 17:24 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 36.02 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าเล็กน้อยจาก เปิดตลาดเมื่อเช้าอยู่ที่ระดับ 36.03 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวันเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 35.89 - 36.14 บาท/ดอลลาร์

"วันนี้บาทผันผวนมาก มีแรงซื้อดอลลาร์เข้ามา หลังการบรรยายของแบงก์ชาติไม่มีการส่งสัญญาณเรื่องทิศทางดอกเบี้ย" นัก
บริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันจันทร์ไว้ที่ 35.90 - 36.10 บาท/ดอลลาร์ โดยมีปัจจัยที่ ตลาดจับตาดู คือ การประกาศตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมของสหรัฐฯ คืนนี้

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 135.91 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 136.09 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0120 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0175 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,557.87 จุด ลดลง 4.50 จุด, -0.29% มูลค่าการซื้อขาย 54,581.06 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,470.23 ลบ.(SET+MAI)
  • ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การอ่อนค่าลงของเงินบาทในขณะนี้
เกิดจากปัจจัยภายนอกเป็นสำคัญ โดยเฉพาะจากเงินดอลล่าร์ที่แข็งค่าขึ้นมาก ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความผันผวนของค่าเงินทั่วโลก ขณะนี้
จะยังคงปล่อยให้การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทเป็นไปตามกลไกของตลาดเป็นหลัก และอยู่ในทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลอื่นทั่วโลก ซึ่งแม้จะ
อ่อนค่าลงมากเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ แต่เชื่อว่าในครึ่งปีหลังมีโอกาสพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นได้

ธปท. ยืนยันว่ายังไม่มีมาตรการในการควบคุมเงินทุนไหลออก เพราะเชื่อว่าการปล่อยให้ตลาดเคลื่อนไหวเสรีเป็นกลไกที่ดี แต่มาตรการในการดูแลยังต้องมี ซึ่งถ้าไม่จำเป็นหรือไม่มีวิกฤติก็ไม่จำเป็นต้องนำมาใช้

  • ผู้อำนวยการ ฝ่ายนโยบายการเงิน ธปท. คาดว่าในอีก 2 เดือนข้างหน้าอาจจะได้เห็นตัวเลขเงินเฟ้อสูงกว่านี้ มีโอกาส
แตะ 8% แต่เงินเฟ้อที่ปรับเพิ่มขึ้นก็ไม่ได้หมายความว่าระดับราคาสินค้าจะต้องเพิ่มขึ้นทุกเดือน เพราะเป็นตัวเลขที่เทียบกับฐานปีก่อนที่อยู่ใน
ระดับต่ำ หากไม่มีสถานการณ์รุนแรงใด ๆ เพิ่มเติม ปัญหาเงินเฟ้อสูงก็น่าจะทยอยหายไปเอง

สำหรับนโยบายการเงินขณะนี้จะเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ และเข้าสู่ภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นแล้ว ก่อนหน้านี้การดำเนินนโยบายการเงิน จะให้น้ำหนักกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นสำคัญ แต่ล่าสุดปัจจัยต่าง ๆ เปลี่ยนไป เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวได้ดีขึ้น มองไปในระยะข้างหน้าก็ เห็นแนวโน้มการส่งผ่านการฟื้นตัวที่ชัดเจน จึงต้องให้น้ำหนักกับอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น แต่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะค่อยเป็นค่อยไป เนื่อง จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยแตกต่างจากสหรัฐ และไทยก็ไม่ได้ใช้นโยบายกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ ทำให้มีอิสระในการทำ นโยบายการเงิน

  • กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา รายงานต่อที่ประชุมศบค.ชุดใหญ่ถึงจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย
สะสมตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-6 ก.ค. มีจำนวน 2,214,132 คน คิดเป็นเพิ่มขึ้น 3,684%YoY ส่งผลให้มีรายได้ 1.25 แสนล้านบาท
  • ผู้บริหารบริษัทไอดีเอ็กซ์ ดิจิทัล แอสเซทส์กล่าวว่า ตลาดสินทรัพย์เสี่ยง ซึ่งรวมถึงคริปโทเคอร์เรนซีปรับตัวขึ้นเป็นวง
กว้าง หลังจากจำนวนผู้ขอสวัสดิการว่างงานของสหรัฐไม่ได้สร้างความประหลาดใจ และไม่ก่อให้เกิดความกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับภาวะเงิน
เฟ้อ
  • ทางการญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดการใช้จ่ายภาคครัวเรือนของญี่ปุ่นลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน ส่งสัญญาณถึงการชะลอตัวของ
เศรษฐกิจญี่ปุ่นซึ่งใหญ่เป็นอันดับสามของโลก
  • โกลด์แมน แซคส์ ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐอีกครั้งในวันพฤหัสบดี (7 ก.ค.) โดยระบุว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน
ประเทศ (GDP) ไตรมาส 2/2565 ของสหรัฐจะขยายตัวเพียง 0.7% จากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ระดับ 1.9%
  • นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในวันนี้ ด้านนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงาน
จะเพิ่มขึ้นเพียง 250,000 ตำแหน่งในเดือนมิ.ย. ต่ำกว่าระดับ 390,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. และคาดว่าอัตราว่างงานเดือนมิ.ย.จะ
ทรงตัวที่ระดับ 3.6%

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ