ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 36.11 อ่อนค่าจากช่วงเช้า จับตาข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐกลางสัปดาห์นี้

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 11, 2022 17:26 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 36.11 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 35.90 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 35.85-36.13 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทยังคงอ่อนค่าตามทิศทางเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาค ซึ่งตลาดยังคงย่อยข่าวตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของ สหรัฐเดือนมิ.ย. ที่พุ่งขึ้นถึง 3.72 แสนตำแหน่ง รวมทั้งความกังวลต่อวิกฤติการณ์ด้านพลังงานในสหภาพยุโรป (EU) พร้อมมองว่า เงิน บาทยังมีแนวโน้มจะอ่อนค่าได้ต่อ

"บาทยังอาจจะอ่อนค่าได้ต่อ แต่คืนนี้ ไม่ได้มีตัวเลขอะไรที่สำคัญ รอดูตลาดหุ้นของสหรัฐ และบอนด์ยิลด์สหรัฐ" นักบริหารเงิน
ระบุ

ทั้งนี้ ตลาดจับตาการรายงานตัวเลขเงินเฟ้อเดือนมิ.ย.ของสหรัฐ ในคืนวันพุธนี้ เพราะหากยังออกมาสูง ก็ต้องดูว่าธนาคาร กลางสหรัฐ (เฟด) จะออกมามีท่าทีหรือส่งสัญญาณอย่างไรต่อไป

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.85 - 36.13 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 137.01 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 137.22 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0105 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0135 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,557.40 จุด ลดลง 0.47 จุด (-0.03%) มูลค่าการซื้อขาย 46,061 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,850.44 ลบ.(SET+MAI)
  • ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ขณะนี้เงินบาทอ่อนค่าสุดในรอบ 7 ปี แต่เป็นการอ่อนค่าในระดับ
กลาง ๆ เมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น เช่น เงินเยน เงินวอน และเงินเปโซ เป็นต้น ที่มีทิศทางการอ่อนค่ามากกว่าเงินบาท ปัจจัยหลักที่เป็น
ตัวขับเคลื่อนให้เงินบาทอ่อนค่ายังมาจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยยังไม่เห็นเรื่องเงินทุนเคลื่อนย้ายที่เป็นจำนวนมากอย่างผิด
ปกติ
  • ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย (KTB) ระบุปัญหาเงินบาทอ่อนค่าและ
เกิดความผันผวนมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลกจะหดตัว และการเร่ง
ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ทำให้ตัดสินใจลดความเสี่ยงหันมาถือครองดอลลาร์และพันธบัตรระยะสั้น
  • ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (YLG) เปิดเผยว่า ในช่วงต้นเดือน
กรกฎาคม 2565 ราคาทองคำปรับตัวลดลงค่อนข้างแรง จนทำจุดต่ำสุดใหม่ของปี เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าจะเศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะ
ถดถอย หลังกลุ่มสหภาพยุโรปต้องประสบกับวิกฤตพลังงานซึ่งเป็นผลมาจากการคว่ำบาตรรัสเซีย นักลงทุนจึงขายหุ้นและเงินในสกุลยูโรแล้ว
โยกเงินลงทุนเข้าไปไว้ในดอลลาร์สหรัฐ เมื่อดอลลาร์ฯแข็งค่าขึ้นมา นักลงทุนจึงให้มีความน่าสนใจซื้อดอลลาร์ในระดับที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะ
เดียวกันก็ทำให้ทองคำมีความน่าสนใจลดน้อยลง ดังนั้นทิศทางของการเคลื่อนไหวทองคำในระยะสั้นมีจึงมีแนวโน้มปรับตัวลงต่อ ส่วนระยะ
กลางก็เป็นสัญญาณแกว่งตัว
  • รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ไตรมาส 3
(1 ตุลาคม 2564 - 30 มิถุนายน 2565) ภาพรวมเบิกจ่ายแล้ว 2,269,172 ล้านบาท คิดเป็น 73.20% ของวงเงินงบประมาณ
3,100,000 ล้านบาท จำแนกเป็น รายจ่ายลงทุนเบิกจ่ายแล้ว 296,445 ล้านบาท คิดเป็น 49.09% ของวงเงินงบประมาณ 603,909
ล้านบาท รายจ่ายประจำเบิกจ่ายแล้ว 1,972,727 ล้านบาท คิดเป็น 79.03% ของวงเงินงบประมาณ 2,496,091 ล้านบาท
  • KKP Research คาดการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จากเดิมที่คาดว่าจะขึ้น
25bps ในการประชุมรอบหน้า เป็นขึ้น 50bps และคาดว่าจะขึ้นต่อเนื่องอีก 2 ครั้ง ครั้งละ 25 bps ในปีนี้ ซึ่งจะทำให้ในปลายปีอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายไทยจะปรับตัวสูงขึ้นไปอยู่ที่ 1.5% จากระดับปัจจุบันที่ 0.5%
  • ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กล่าวว่า เชื่อว่าในปีนี้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบาย อย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งละ 0.25% แต่ ธอส.จะพยายามตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้จนถึงเดือน ต.ค. เพื่อลดผลกระทบสำหรับ
ประชาชนผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง โดยการตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ครั้งนี้ จะทำให้ ธอส.ได้รับผลกระทบเรื่องต้นทุนประมาณ 1 พันล้าน
บาท
  • คณะกรรมการกำกับดูแลเสถียรภาพการเงิน (FSB) เผยวันนี้ว่า จะเสนอมาตรการกำกับดูแลสกุลเงินคริปโทเคอร์เรนซีที่
รัดกุมให้ครอบคลุมทั่วโลกในเดือนต.ค. นี้ หลังจากที่ตลาดหลายแห่งประสบความผันผวนอย่างหนักในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งตอกย้ำถึงความจำเป็น
ที่จะต้องมีการกำกับดูแลภาคธุรกิจนี้
  • ผลสำรวจเอ็มแอลไอวี พัลส์ (MLIV Pulse) ว่า นักลงทุนราว 60% จากทั้งหมด 950 รายในการสำรวจดังกล่าว คาด
ว่าราคาบิตคอยน์มีโอกาสที่จะร่วงแตะหลัก 10,000 ดอลลาร์ มากกว่าที่จะดีดตัวขึ้นจนแตะหลัก 30,000 ดอลลาร์ เมื่อเทียบกับขณะนี้ซึ่งมี
ราคาอยู่ที่ประมาณ 20,500 ดอลลาร์จากข้อมูลบนเว็บไซต์ Coindesk.com
  • ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ออกมาเน้นย้ำอีกครั้งว่าจะใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพิ่มเติมหากจำเป็นต้อง

ทำ เพื่อคอยสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่เปราะบาง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ