นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 36.30/34 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก เย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 36.11 บาท/ดอลลาร์
เงินบาทยังคงอ่อนค่าต่อเนื่องเช่นเดียวกับเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาคเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการอ่อนค่าตามทิศทาง ของเงินยูโร ที่อ่อนค่าใกล้จุดต่ำสุดในปี 2002 จากเหตุผลที่ตลาดกังวลภาวะเศรษฐกิจของยุโรป ประกอบกับปัญหาวิกฤติพลังงานในยุโรป
"ตอนนี้ยูโรอ่อนค่าไปใกล้จะเท่ากับ 1 ดอลลาร์ = 1 ยูโรแล้ว เพราะความกังวลเรื่องเศรษฐกิจในยุโรป รวมทั้งการ จัดหาพลังงาน ที่ความต้องการใช้จะมากขึ้นเมื่อใกล้หน้าหนาว ในขณะที่ยุโรปยังมีมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียอยู่" นักบริหารเงินระบุ
นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทยังมีทิศทางอ่อนค่าต่อ ให้กรอบที่ 36.24 - 36.50 บาท/ดอลลาร์
THAI BAHT FIX 3M (11 ก.ค.) อยู่ที่ระดับ 0.54492% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.81765%
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 137.00/20 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 137.01 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0015/0030 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.0105 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 36.012 บาท/ดอลลาร์
- คลังเตรียมหารือธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงมหาดไทย ขยายมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจด
- คลังเล็งชง ครม.ต่ออายุมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน 5 บาท อีก 2 เดือน คาดเสียรายได้ 2 หมื่นล้านบาท ขณะที่
- "กสิกรไทย" ทุ่มเต็มพิกัด 1 แสนล้าน ลงทุนเทคโนโลยี-เทคโอเวอร์ฟินเทค ปูพรมปล่อยสินเชื่อออนไลน์ ดึงคนไทยเข้าใช้
- ธปท.เตรียมแก้หลักเกณฑ์เงื่อนไขดูแลเงินบาท เหตุเกณฑ์ล้าสมัยใช้ตั้งแต่ปี 40 พร้อมเอื้อผู้ให้บริการทางการเงินให้
- ยุโรปกำลังเผชิญวิกฤตพลังงาน ขณะที่รัสเซียประกาศยุติการส่งก๊าซธรรมชาติผ่านทางท่อส่ง Nord Stream 1 โดยบริษัท
- ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์ก เปิดเผยผลสำรวจพบว่า ตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อของผู้บริโภคสหรัฐสำหรับใน
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวลงในวันนี้ ขณะที่นักลงทุนปิดรับความเสี่ยง และหันเข้าซื้อพันธบัตรในฐานะ
- สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (11
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 9 เดือนในวันจันทร์ (11 ก.ค.) เนื่องจากการแข็งค่า
- นักลงทุนคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีโอกาสปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1.00% ในการประชุมกำหนดนโยบาย
ทั้งนี้ FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 4.6% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1.00% ในการ ประชุมวันที่ 26-27 ก.ค. และให้น้ำหนัก 95.4% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75%
- นักลงทุนจับตาสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค ประจำเดือน
- ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐด้านอื่น ๆ ที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดย่อมเดือนมิ.ย.จาก
สหพันธ์ธุรกิจอิสระแห่งชาติสหรัฐ (NFIB), รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book จากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด), จำนวนผู้
ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดค้าปลีกเดือนมิ.ย., ดัชนีภาคการผลิต (Empire State Manufacturing Index) เดือนก.
ค.จากเฟดนิวยอร์ก, การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมิ.ย. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนก.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน