ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวตามแรงซื้อ-ขาย เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยที่มีผลสำคัญต่อค่าเงิน ซึ่งตลาดรอดูการรายงานตัวเลข เงินเฟ้อเดือนมิ.ย. ของสหรัฐ ในคืนวันพุธนี้ เพราะหากเงินเฟ้อยังพุ่งสูง ก็จะยิ่งตอกย้ำการเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลาง สหรัฐ (เฟด) มากขึ้น
อย่างไรก็ดี ทิศทางของเงินบาทในระยะนี้ยังมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อ เนื่องจากยังขาดปัจจัยที่จะมากดดันให้บาทแข็งค่า
"ช่วงสายๆ เงินบาทย่อตัวลง และกลับขึ้นมาอีกในช่วงบ่าย แต่ก็มาจากแรงซื้อ แรงขายทั่วไป แนวโน้มบาทยังอ่อนค่าต่อ เนื่อง เพราะไม่มีปัจจัยกดให้บาทแข็งในช่วงนี้" นักบริหารเงินระบุ
นักบริหารเงิน คาดว่า ในวันพฤหัสเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 36.20 - 36.50 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 136.92/94 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 137.00/02 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0014/0018 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0015/0030 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,546.80 จุด ลดลง 10.60 จุด (-0.68%) มูลค่าการซื้อขาย 47,877 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 446.73 ลบ. (SET+MAI)
- ห้องค้ากสิกรไทย ประเมินว่าในระยะนี้ เงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าทดสอบระดับ 36.75 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ จากแรงกดดัน
- ครม. เห็นชอบมาตรการทางภาษี เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยว และ
- ครม. มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงการคลัง ปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลงลิตรละ 5 บาท เป็น
- บอร์ด ก.ล.ต. เห็นชอบหลักการการปรับปรุงหลักเกณฑ์ด้านเงินทุนของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ให้มีความพร้อมและมี
- ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ออกรายงานเตือนว่า รัฐบาลของประเทศยูโรโซน ต้องเร่งกำกับดูแลสเตเบิลคอยน์
- รัฐมนตรีคลังสหรัฐ หารือรัฐมนตรีคลังของญี่ปุ่น เกี่ยวกับความท้าทายที่เศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญ โดยเน้นย้ำถึงความแข็ง
- องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เปิดเผยว่า ราคาอาหารโลกลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 แต่ยังคง
อยู่ในระดับใกล้เคียงกับจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อเดือนมี.ค. โดยนักวิเคราะห์ชี้ว่า ราคาอาหารในเอเชียยังไม่แตะระดับสูงสุด แต่คาด
ว่าจะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้