ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 36.58 แนวโน้มผันผวน ให้กรอบเคลื่อนไหววันนี้ 36.50-36.70

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 18, 2022 09:02 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 36.58 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าเล็ก น้อยจากปิดตลาดเมื่อเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 36.60 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับภูมิภาคและตลาดโลก หลังดอลลาร์อ่อนค่า เนื่องจากมีแรงเทขายทำกำไร และบอนด์ยิลด์ปรับตัวลดลง

ปัจจัยที่ตลาดจับตามองเป็นเรื่องความเห็นของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เกี่ยวกับการประชุมเพื่อพิจารณาอัตรา ดอกเบี้ยในสัปดาห์หน้าว่ามีแนวโน้มที่จะปรับขึ้น 0.75% หรือ 1.0%

"บาทแข็งค่าเล็กน้อยจากปิดตลาดเมื่อเย็นวันศุกร์ เคลื่อนไหวตามภูมิภาคและตลาดโลก ทิศทางระหว่างวันช่วงนี้ค่อนข้าง ผันผวน" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 36.50 - 36.70 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (15 ก.ค.) อยู่ที่ระดับ 0.70545% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.89100%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 138.28 เยน/ดอลลาร์ จากสัปดาห์ก่อนที่ระดับ 138.76 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0086 ดอลลาร์/ยูโร จากสัปดาห์ก่อนที่ระดับ 1.0037 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 36.670 บาท/ดอลลาร์
  • นักวิชาการการันตีเศรษฐกิจไทยยังไม่เกิดวิกฤตเหมือนศรีลังกา-สปป.ลาว ห่วงขึ้น ดอกเบี้ยนโยบายกระทบต้นทุนทางการ
เงิน เพิ่มความเสี่ยงการคลัง
  • ส.อ.ท. คาดครึ่งปีหลังเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวแต่ไม่สมดุล กังวลเงินเฟ้อ-บาทอ่อน-ราคาพลังงานแพงกระทบต้นทุน ห่วงเอส
เอ็มอีอ่วมสุด วอนรัฐเร่งหาแหล่งทุนเสริมสภาพคล่อง
  • ธปท.ชี้ธนาคารพาณิชย์เสถียรภาพแกร่ง แต่เงินเฟ้อพุ่งกระทบการชำระหนี้ภาคครัวเรือน-ธุรกิจ "เคเคพี" เผยแนวโน้มหนี้
เสียเพิ่มขึ้น "ทิสโก้" คาดปีนี้มีโอกาสขยับขึ้น "แบงก์กรุงเทพ" เกาะติดลูกหนี้ใกล้ชิด "ศูนย์วิจัยกสิกรไทย" แจงแบงก์ปรับโครงสร้าง เร่ง
ขายหนี้เสีย "คลัง" จับมือแบงก์ชาติผ่อนเกณฑ์ซอฟท์โลนช่วยลูกหนี้โควิด
  • สรท.ประเมินผลกระทบเศรษฐกิจโลกถดถอย ชี้คำสั่งซื้อไตรมาส 3 มาแล้ว หวั่นเห็นออเดอร์ชะลอไตรมาส 4 ถึงต้นปี
หน้า ระบุสินค้ากลุ่มยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ น่าเป็นห่วงจากปัญหาชิป ไม่คลี่คลาย "พาณิชย์" เร่งหารือเอกชน รับมือส่งออกครึ่งปีหลัง ห่วง
เงินเฟ้อสูงกระทบกำลังซื้อประเทศคู่ค้า
  • สศช.หวั่นเศรษฐกิจ "สหรัฐ-ยุโรป" ถดถอยเร็วกว่าคาด สัญญาณขึ้นดอกเบี้ยแรง บริษัทใหญ่ทยอยลดคน เตือนไทยตั้งรับ
3 พายุเศรษฐกิจ "กอบศักดิ์" เชื่อไทยรอดวิกฤติเศรษฐกิจถดถอย หนี้ต่างประเทศต่ำ แบงก์แกร่ง แต่เสี่ยงเงินไหลออกรุนแรง "อีไอซี"
คาดปีหน้าไทยเสี่ยงถอดถอยทางเทคนิค หากท่องเที่ยวสะดุด "เคเคพี" ห่วงลาม หนี้ครัวเรือนระเบิด "คลัง" ยันเศรษฐกิจไทย ไม่ถดถอย
  • ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารกลางยูเครนเปิดเผยว่า ธนาคารกลางยูเครนได้นำทองคำสำรองออกมาขายเป็นมูลค่า 1.24 หมื่น
ล้านดอลลาร์แล้ว นับตั้งแต่รัสเซียใช้ปฏิบัติการทางทหารบุกโจมตียูเครนเมื่อวันที่ 24 ก.พ.นี้
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกดีดตัวขึ้น 1.0% ในเดือนมิ.ย. เมื่อเทียบรายเดือน สูงกว่าที่นักวิเคราะห์
คาดว่าเพิ่มขึ้น 0.8% หลังจากลดลง 0.1% ในเดือนพ.ค. และเมื่อเทียบรายปี ยอดค้าปลีกพุ่งขึ้น 9.1% ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นการปรับตัว
ขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2524 โดยยอดค้าปลีกที่พุ่งขึ้นได้รับแรงหนุนจากการดีดตัวขึ้นของราคาพลังงาน และยอดขายรถยนต์ ส่วน
ยอดค้าปลีกพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมยอดขายรถยนต์ น้ำมัน วัสดุก่อสร้าง และอาหาร เพิ่มขึ้น 0.8% หลังจากลดลง 0.3% ในเดือนพ.ค.
  • มหาวิทยาลัยมิชิแกนเปิดเผยผลสำรวจระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 51.1 ในเดือนก.ค.
โดยสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 50.0 ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคคาดการณ์ว่า เงินเฟ้อจะแตะระดับ 5.2% ในช่วง 1 ปีข้างหน้า
โดยต่ำกว่าระดับ 5.3% ที่มีการสำรวจในเดือนที่แล้ว และเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ.
  • ตลาดการเงินทั่วโลกจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) วันที่ 26-27 ก.ค.นี้อย่างใกล้ชิด

FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนักเพียง 30% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1.00% ในการ ประชุมวันดังกล่าว และให้น้ำหนัก 70% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75%

  • ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัย ผลสำรวจภาคการผลิตของเฟดสาขาฟิลาเดลเฟีย และดัชนี
PMI (เบื้องต้น) เดือนก.ค. ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้าน ยอดขายบ้านมือสองเดือนมิ.ย. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
  • ในสัปดาห์นี้ นักลงทุนจับตาธนาคารกลางออสเตรเลียเปิดเผยรายงานการประชุม, ธนาคารกลางจีนจะแถลงอัตราดอกเบี้ย
เงินกู้ LPR และการประชุมนโยบายการเงินและแถลงมติอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ