ภาวะตลาดเงินบาท: เงินบาทปิด 36.94 อ่อนค่าต่อเนื่องตามภูมิภาค พรุ่งนี้มีลุ้นไปแตะ 37 บาท

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday July 21, 2022 17:44 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 36.94 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าต่อ จากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 36.77 บาท/ดอลลาร์

ปิดตลาดเย็นนี้เงินบาทยังคงอ่อนค่าต่อเนื่อง เป็นไปตามทิศทางเดียวกับสกุลเงินอื่นในภูมิภาคที่อ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ เนื่องจากราคาทองคำร่วง จึงทำให้มีแรงซื้อดอลลาร์เพื่อเร่งนำเข้าทองคำ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 36.72 - 36.95 บาท/ดอลลาร์

"ภาพใหญ่ๆ ตอนนี้ ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับทุกสกุล เงินบาทพรุ่งนี้ก็มีโอกาสจะอ่อนค่าไปแตะ 37 บาท/ดอลลาร์ได้ ซึ่งเป็นระดับที่มีผลทางจิตวิทยามาก และช่วงนี้ เงินบาทก็อ่อนค่าไปวันละ 10-20 สตางค์" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทมีโอกาสจะอ่อนค่าไปแตะระดับ 37 บาทได้ โดยให้กรอบการเคลื่อนไหวที่ 36.85 - 37.05 บาท/ดอลลาร์ โดยรอดูการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในมติเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยคืนนี้

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 138.71 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 138.24 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0185 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0192 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,546.31 จุด เพิ่มขึ้น 6.99 จุด (+0.45%) มูลค่าการซื้อขาย 56,073 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,732.78 ลบ.(SET+MAI)
  • ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ปรับลดการคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 65 ลงเล็กน้อย มาอยู่ที่ 2.9% จากเดิมคาด 3%
และปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 66 ลงมาอยู่ที่ 4.2% จากเดิมคาด 4.5% โดยถึงแม้จะมีสัญญาณไปในทางบวก แต่เนื่องจากราคา
พลังงานและราคาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ คาดว่าจะส่งผลต่อความต้องการส่ง
ออกที่ลดลง ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น และกำลังซื้อภาคครัวเรือนที่ลดลง
  • ธนาคารกสิกรไทย มองว่าในช่วง 1 เดือนนี้ ค่าเงินบาทอาจจะแกว่งตัวใน 2 ช่วงที่ 36-36.49 บาท/ดอลลาร์ และ
36.50-36.99 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งส่วนหนึ่งเพราะยังไม่ได้มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ในขณะที่ประเทศอื่นๆเริ่มทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยไป
แล้ว ทำให้เงินไหลออกไปก่อน
  • ธนาคารกสิกรไทย มองแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อของไทยและเงินเฟ้อในประเทศที่พัฒนาแล้วจะเริ่มเห็นจุดสูงสุดในช่วงไตร
มาส 3/65 และจะเริ่มค่อยๆทยอยปรับลดลงมาตามลำดับ หลังจากที่เริ่มเห็นสัญญาณของราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ลดลงมาบ้าง แต่ยัง
ถือว่าอยู่ในระดับสูง
  • กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ออกนโยบายตรึงดอกเบี้ย Prime
Rate 5.75% ต่อปี เพื่อแบ่งเบาภาระด้านต้นทุนของผู้ประกอบการไทย พร้อมจัดทำ "EXIM Index" นวัตกรรมด้านงานวิจัยธุรกิจที่แสดง
ผลเป็นดัชนีชี้วัดสภาวะส่งออกล่วงหน้า เพื่อช่วยผู้ส่งออกไทยรู้เท่าทันสถานการณ์ และเตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายที่จะเกิดขึ้นในระยะ
ข้างหน้า
  • ธนาคารโลกเปิดเผยว่า แนวโน้มเศรษฐกิจของเมียนมายังคงอ่อนแอเนื่องจากหลากหลายปัจจัย ซึ่งรวมถึงเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้น
อย่างรุนแรง, ปัญหาขาดแคลนสกุลเงินดอลลาร์ และความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในประเทศ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้กำลังทำให้ความพยายามที่จะพลิก
ฟื้นเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในเมียนมาต้องเผชิญกับความท้าทาย
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษ (Ultraeasy Monetary Policy) โดยคง
อัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ -0.1% และคงเป้าหมายอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีไว้ที่ประมาณ 0% เพื่อสนับสนุนการฟื้น
ตัวของเศรษฐกิจ หลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
  • ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยว่า นโยบายผ่อนคลายทางการเงินยังคงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อสร้างความเชื่อมั่น
ว่าค่าแรงในญี่ปุ่นจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และไม่มีแผนที่จะเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินในขณะนี้ และยังคงยึดมั่นในเป้าหมายการผลักดัน
เงินเฟ้อขึ้นสู่ระดับ 2% อย่างมีเสถียรภาพ
  • ราคาบิตคอยน์ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องในวันนี้ ล่าสุดร่วงหลุดจากระดับ 23,000 ดอลลาร์ หลังจากบริษัทเทสลาขายบิต
คอยน์ในสัดส่วนสูงถึง 75% ของจำนวนบิตคอยน์ที่บริษัทถือครองอยู่

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ