ภาวะตลาดเงินบาท: เย็นนี้ 36.68 ไร้ปัจจัยใหม่ รอผลประชุมเฟด คาดกรอบพรุ่งนี้ 36.60-36.80

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday July 26, 2022 16:26 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 36.68 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากเปิด ตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 36.73 บาท/ดอลลาร์

โดยระหว่างวัน เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 36.62 - 36.74 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทยังไร้ปัจจัยใหม่ การเคลื่อน ไหวเป็นไปตาม flow ในช่วงสิ้นเดือน ด้านสกุลเงินในภูมิภาควันนี้เคลื่อนไหวแบบผสม คือมีทั้งอ่อนค่าและแข็งค่า ทั้งนี้ ตลาดรอดูผล การประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ในคืนวันพรุ่งนี้ (27 ก.ค.) เป็นหลัก

สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามคืนนี้ คือ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ค. จาก Conference Board และยอดขายบ้าน ใหม่เดือนมิ.ย. ของสหรัฐฯ

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 36.60 - 36.80 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT SPOT RATE FIXING อยู่ที่ระดับ 36.6510 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 136.58 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 136.33 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0213 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0245 ดอลลาร์/ยูโร
  • คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติโครงการคนละครึ่งเฟส 5 ให้ใช้จ่าย 800 บาท/คน โดยสามารถใช้จ่ายได้ไม่
เกินวันละ 150 บาท เริ่มใช้ได้ตั้งแต่ 1 ก.ย.-31 ต.ค. นี้ นอกจากนี้ ครม. ยังเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพ
ประชาชน โดยจะมีการเติมเงินให้แก่ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ เป็นระยะเวลา 2 เดือน
จำนวน 200 บาท/คน/เดือน รวมเป็น 400 บาท ตั้งแต่เดือน ก.ย.-ต.ค. 65
  • รมว.คลัง เปิดเผยว่า การจัดทำมาตรการคนละครึ่ง เฟส 5 เนื่องจากมองเห็นว่าการบริโภคภายในประเทศเริ่ม
แผ่วลง จากราคาสินค้าและราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังมีอยู่ประปราย ขณะเดียวกันยัง
มาจากคาดการณ์ว่าระยะต่อไปธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับกำลัง
ซื้อของประชาชน ดังนั้น จึงเชื่อว่ามาตรการคนละครึ่ง เฟส 5 จะช่วยทำให้การบริโภคภายในประเทศมีความคึกคักมากขึ้น
  • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เผยเศรษฐกิจไทยในเดือน มิ.ย.65 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่อง
เที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้นทั้งจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ และผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย ประกอบกับรายได้เกษตรกรที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง ช่วยสนับ
สนุนการบริโภคภาคเอกชน อย่างไรก็ดี ยังต้องติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่ส่งผลกระทบต่อระดับ
ราคาพลังงาน ค่าครองชีพของประชาชน และทิศทางเศรษฐกิจโลกอย่างใกล้ชิด
  • สศค. คงคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยในปี 65 ที่ 3.5% โดยเศรษฐกิจไทยปีนี้ ได้
รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ และภาคการท่องเที่ยว อย่างไรก็ดี ยังต้องติดตามผลกระทบจากสถานการณ์
ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน และนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลักอย่างใกล้ชิด
  • สศค. ประเมินว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 66 ยังมีทิศทางการฟื้นตัวที่ต่อเนื่องจากปีนี้ โดยเบื้องต้น สศค. ยัง
คงให้กรอบการขยายตัวไว้ที่ 3.2-4.2% ซึ่งเป็นสมมติฐานที่ใช้ในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 66 ส่วนที่
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปี 66 มีโอกาสจะขยายตัวได้ 4.2% นั้น สศค.ก็มีความเห็นที่สอด
คล้องกัน
  • เจ้าหน้าที่ฉุกเฉินอาวุโสขององค์การอนามัยโลก (WHO) เตือนว่า อย่าชะล่าใจกับการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิงที่
กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว พร้อมระบุว่า ไม่มีการรับประกันว่าเชื้อไวรัสดังกล่าวจะแพร่กระจายแค่ในชุมชนที่เฉพาะเจาะจงเท่า
นั้น แม้จนถึงขณะนี้ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ยังคงกระจุกตัวในชุมชนเกย์และกลุ่มไบเซ็กชวล แต่ก็มีหลักฐานเพียงเล็กน้อยที่บ่งชี้ว่า โรคนี้ยังคง
จำกัดอยู่เฉพาะในกลุ่มคนดังกล่าวเท่านั้น และการตรวจพบโรคนี้อย่างรวดเร็ว อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงการแพร่ระบาดในวงกว้าง
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุข เตือนว่า สหรัฐฯ จวนหมดเวลาในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิงแล้ว
เนื่องจากสหรัฐพบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงแล้วเกือบ 3,000 รายในประเทศ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจากปัญหาคอขวดในการตรวจสอบหาเชื้อ
ฝีดาษลิงภายในประเทศ จำนวนผู้ติดเชื้อโรคฝีดาษลิงที่ตรวจพบอาจต่ำกว่าความเป็นจริง
  • โกลด์แมน แซคส์ ปรับลดคาดการณ์แนวโน้มดัชนี MSCI China ลงเหลือ 0% จากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ระดับ
4% เนื่องจากตลาดอสังหาริมทรัพย์ของจีนทรุดตัวลงอย่างหนัก โดย MSCI China เป็นดัชนีที่ติดตามหุ้นของบริษัทจีนกว่า 700 แห่งที่
จดทะเบียนในตลาดหุ้นทั่วโลก
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยรายงานการประชุมเดือนมิ.ย. ในวันนี้ระบุว่า กรรมการ BOJ มองว่าการปรับ
ขึ้นค่าแรงถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ BOJ สามารถบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2% ได้อย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นการเน้นย้ำว่า BOJ มี
เป้าหมายที่จะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำเป็นพิเศษ (Ultra-low interest rates) ต่อไป แม้มีสัญญาณบ่งชี้ว่าแรงกดดันด้านเงิน
เฟ้อในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นก็ตาม
  • รัฐบาลญี่ปุ่นปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจสำคัญเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือนในวันนี้ (26 ก.ค.) ซึ่งสะท้อนการ

ฟื้นตัวของการบริโภคส่วนบุคคล เนื่องจากกิจกรรมเศรษฐกิจกลับคืนสู่ภาวะปกติอย่างต่อเนื่อง หลังมีการผ่อนปรนการบังคับใช้

มาตรการจำกัด เพื่อสกัดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ