ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 36.13 ระหว่างวันผันผวน คาดกรอบพรุ่งนี้ 36.00-36.20

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday August 2, 2022 17:33 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 36.13 บาท/ดอลลาร์ จากช่วงเช้า เปิดตลาดที่ระดับ 36.11 บาท/ดอลลาร์

ระหว่างวันเงินบาทค่อนข้างผันผวน เคลื่อนไหวในกรอบ 36.03-36.16 บาท/ดอลลาร์ โดยช่วงเช้าเงินบาทยังแข็งค่า และ เริ่มมีแรงซื้อดอลลาร์กลับมา จึงทำให้บาทกลับมาอ่อนค่าในระหว่างวัน นอกจากนี้ ยังเป็นควันหลงจากผลการตีความของตลาดว่าธนาคาร กลางสหรัฐ (เฟด) จะไม่เร่งขึ้นดอกเบี้ยแรง อาจจะน้อยกว่าครั้งละ 0.75% กลับมาเป็นแรงกดดันเงินดอลลาร์สหรัฐ

"วันนี้บาทค่อนข้างผันผวน เป็นควันหลงจากตลาดตีความว่าเฟดจะไม่ขึ้นดอกเบี้ยแรง รวมทั้งกรณีที่ประธานสภาผู้แทนฯ สหรัฐ ไปเยือนไต้หวัน ส่งผลให้เงินหยวนอ่อนค่าแรง ทำให้เงินบาทโดนเทขายในช่วงกลางวัน" นักบริหารเงิน ระบุ ตลาดรอดูสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐและจีน หลังมีรายงานว่าประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐเตรียมเดินทางไป เยือนไต้หวัน อย่างไรก็ดี คืนนี้ สหรัฐฯ ยังไม่มีการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญที่จะมีผลต่อค่าเงิน

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 36.00 - 36.20 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 130.86 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 130.67 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0233 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0270 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,589.16 จุด ลดลง 4.08 จุด (-0.26) มูลค่าการซื้อขาย 59,464 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 2,628.27 ลบ.(SET+MAI)
  • กระทรวงการคลัง รายงานครม. คาดปี 66 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ 4.2% หลังการบริโภคภาคเอกชน และ
กำลังซื้อเริ่มกลับมา ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเริ่มปรับลดลงอยู่ที่ 2.5% ประกอบกับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมากขึ้น โดยคาดว่าปี 66
จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทย 19 ล้านคน ด้านการส่งออก คาดว่าปีหน้าจะขยายตัวได้ 7.9%
  • สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออก มองว่าการส่งออกไทยมีสัญญาณที่ดีขึ้นในช่วงครึ่ง
ปีหลัง ซึ่ง สรท.จะมีการปรับประมาณการส่งออกในปี 65 ใหม่อีกครั้งจากปัจจุบันคาดกว่าจะขยายตัวราว 6-8% และมั่นใจว่าการส่ง
ออกจะยังเป็นพระเอกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจปีนี้
  • ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ประเมินว่า ในปี 65-66 ทิศทางการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยยังขยายตัวได้
แต่ในอัตราที่ชะลอลง ส่วนหนึ่งเพราะฐานสูงจากช่วงครึ่งแรกของปี 65 ที่มีอัตราเติบโตสูงขึ้นมาก และปัจจัยท้าทายที่ต้องจับตาอย่าง
ใกล้ชิด อาทิ ความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่อาจเข้าสู่ภาวะถดถอย และต้นทุนดำเนินงานที่สูงขึ้น
  • ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.50% สู่ระดับ 1.85% ในการประชุม
วันนี้ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 6 ปี และเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุม 4 ครั้งติดต่อกัน พร้อมกับส่งสัญญาณว่าอาจจะปรับขึ้น
ดอกเบี้ยอีกในวันข้างหน้า
  • ธนาคารกลางจีน (PBOC) ให้คำมั่นที่จะรักษาเสถียรภาพการขยายตัวของการปล่อยเงินกู้โดยรวม และสนับสนุนการ
จัดหาเงินทุนสำหรับภาคอสังหาริมทรัพย์เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัว ขณะเดียวกันก็เร่งความพยายามในการสำรวจรูปแบบการพัฒนา
ใหม่สำหรับอุตสาหกรรมดังกล่าว
  • สำนักงานสถิติเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พุ่งขึ้น 6.3% ในเดือนก.ค. เมื่อเทียบกับปีก่อน

หน้า หลังปรับขึ้น 6% ในเดือนมิ.ย. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นรายปีมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2541 โดยได้รับผล

กระทบจากราคาพลังงานและอาหารที่อยู่ในระดับสูง ทำให้มีการคาดการณ์กันมากขึ้นว่าธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) จะเดินหน้า

ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไปเพื่อสกัดเงินเฟ้อ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ