ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ปรับเพิ่มเป้าส่งออกปีนี้เป็นโต 6-8% จากเดิมที่ 5-7% และปรับ เงินเฟ้อทั้งปีเพิ่มขึ้นเป็น 5.5-7.0% จากเดิม 5-7%
"การส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปริมาณตู้คอนเทรนเนอร์ ขณะที่เงินเฟ้อยังทรงตัวในระดับสูงจากราคาพลังงาน"
ทั้งนี้ เศรษฐกิจในประเทศมีแนวโน้มได้รับแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วงครึ่งปีแรกอยู่ที่ 5.6% ซึ่งสูงกว่าภาวะปกติที่ 1-3% มาก และคาดว่าจะเร่งตัวขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกยังอยู่ในระดับสูง รวม ทั้งการปรับขึ้นราคาสินค้าที่เริ่มกระจายตัวเป็นวงกว้างมากขึ้น นอกจากนั้นหากมีการปรับขึ้นค่าไฟในงวด ก.ย.-ธ.ค. ก็จะเป็นแรงกดดัน เงินเฟ้อให้เร่งตัวขึ้นได้อีก ซึ่งเงินเฟ้อที่สูงขึ้นจะกระทบอำนาจซื้อภาคครัวเรือนและต้นทุนของภาคธุรกิจ
ขณะที่เชื่อว่าการท่องเที่ยว และมาตรการของภาครัฐ จะเป็นแรงส่งสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้ โดยคาดว่า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปีนี้ มีโอกาสแตะระดับ 7-8 ล้านคนได้ ซึ่งเป็นผลจากการยกเลิกมาตรการ Thailand Pass ทำให้จำนวนนัก ท่องเที่ยวต่างชาติมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง
ประกอบกับยังมีแรงหนุนกำลังซื้อจากมาตรการภาครัฐ โดยเฉพาะมาตรการคนละครึ่งระยะที่ 5 ที่คาดว่าจะกระตุ้นการใช้จ่าย ได้ประมาณ 3.8 หมื่นล้านบาท หรือราว 0.2% ของ GDP ซึ่งจะช่วยหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจที่ยังเปราะบางท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงจาก ภายนอกประเทศและภาวะเงินเฟ้อที่กระทบอำนาจซื้อ ทำให้ยังคงประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 65 ยังขยายตัวในกรอบ 2.7-3.5%
กรอบประมาณการเศรษฐกิจปี 2565 ของ กกร. %YoY ปี 2565 (ณ มิ.ย.65) ปี 2565 (ณ ก.ค.65) ปี 2565 (ณ ส.ค.65) GDP 2.5 - 4.0 2.75 - 3.5 2.75 - 3.5 ส่งออก 3.0 - 5.0 5.0 - 7.0 6.0 - 8.0 เงินเฟ้อ 3.5 - 5.5 5.0 - 7.0 5.5 - 7.0
สำหรับแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของประเทศ นายผยง กล่าวว่า ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยืนยัน ว่าจะมีการผ่อนคันเร่งเพื่อให้เศรษฐกิจเริ่มปรับตัวไปตามสถานการณ์ โดยไม่ได้ดำเนินการเหมือนในต่างประเทศ แต่ใช้บริบทภายใน ประเทศแบบค่อยเป็นค่อยไป ต้องพิจารณาตามความเหมาะสมไม่ให้เกิดแรงกระตุก แต่จะประคับประคองแก้ไขโดยติดตามสถานการณ์อย่าง ใกล้ชิด หากการท่องเที่ยวฟื้นตัวเร็วก็จะทำให้ปรับฐานได้เร็วขึ้น
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ธปท.มีการพิจารณาอย่างระมัดระวังเพื่อให้ เกิดความสมดุล ซึ่งจะเห็นได้ว่าประเทศเพื่อนบ้านปรับขึ้นดอกเบี้ยไปมากกว่าเรา แต่ ธปท.คงไม่ใช้ยาแรงแรง เนื่องจากปัญหาเงินเฟ้อใน บ้านเราไม่ได้เกิดจาก Demand Pull แต่มาจาก Cost Push โดยหวังว่าช่วงครึ่งปีหลัง กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจตัวอื่นๆ จะกลับมามี ประสิทธิภาพ
"การมีต้นทุนเพิ่มไม่ใช่สาระสำคัญ หากมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นด้วย เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน และมีการจ้างงาน" นายกเกรียงไกร
ส่วนกรณีการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่า Ft) นั้น นายผยง กล่าวว่า น่าจะส่งผลกระทบต่อต้นทุน ซึ่งรัฐบาลต้องประคับ ประคองธุรกิจหลายอย่างที่ไม่สามารถส่งผ่านไปยังผู้บริโภคได้ มาตรการคนละครึ่ง หรือการกระตุ้นท่องเที่ยวจะช่วยสร้างกิจกรรมทางธุรกิจ ที่สร้างรายได้เพิ่มขึ้น แต่ในที่สุดผู้ประกอบการคงอั้นไว้ไม่ไหว ยอมตรึงราคาไว้ในเวลาจำกัด ซึ่งไม่ควรห้ามเพราะเป็นการฝืนกลไกตลาด
ขณะที่นายเกรียงไกร กล่าวว่า ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมมีการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานทดแทน เช่น จากแสงอาทิตย์ในช่วง พีค แต่เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะกระทบต่อต้นทุน ซึ่งต้องมีการบริหารจัดการที่ดี เช่น ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ให้ประหยัดพลังงาน