ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 36.25 ทรงตัวจากช่วงเช้า ระหว่างวันเคลื่อนไหวตามแรงซื้อขาย จับตาประเด็นไต้หวัน

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 3, 2022 17:28 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 36.25 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าเล็กน้อยจาก เปิดตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 36.26 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 36.16 - 36.28 บาท/ดอลลาร์

โดยวันนี้ดอลลาร์ยังได้รับปัจจัยกดดันจากเรื่องการปรับขึ้นของบอนด์ยิลด์ และความคืบหน้าเกี่ยวกับสถานการณ์ตึงเครียดใน ไต้หวัน ซึ่งต้องรอดูว่าทางการจีนจะตอบโต้อย่างไร

"วันนี้บาทผันผวนไปตามแรงซื้อแรงขายทั่วไป ย่ำฐานเคลื่อนไหวไปด้านข้าง ทิศทางวันพรุ่งนี้น่าจะแกว่งตัวในกรอบ" นัก
บริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 36.05 - 36.35 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 133.15 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 133.62 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0184 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0149 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,594.73 จุด เพิ่มขึ้น 5.57 จุด, +0.35% มูลค่าการซื้อขาย 50,898.19 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 23.91 ล้านบาท(SET+MAI)
  • คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) มีมติปรับเพิ่มเป้าส่งออกปีนี้เป็นโต 6-8% จากเดิมที่ 5-7% และปรับ
เงินเฟ้อทั้งปีเพิ่มขึ้นเป็น 5.5-7.0% จากเดิม 5-7% ส่วนจีดีพีคงเดิมที่โต 2.75 - 3.5%
  • กกร.มองสถานการณ์ตึงเครียดที่ไต้หวันว่าผู้เกี่ยวข้องอยู่ในวงจำกัด แต่จะเป็นปัจจัยให้ทั่วโลกต้องเผชิญแรงกดดันที่มีความ
ซับซ้อนมากขึ้น และคิดว่าเรื่องนี้จะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจของไทยในเรื่องห่วงโซ่อุปทาน
  • ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยในงานสัมมนา "จัดทัพลงทุนฝ่าวิกฤติเงินเฟ้อ" เรื่อง "เงินเฟ้อพุ่ง
ดอกเบี้ยขึ้น จะอยู่รอดและเติบโตกันอย่างไร" ว่า เศรษฐกิจที่เข้าสู่ภาวะถดถอยในขณะนี้เป็นเป็นภาวะถดถอยทางเทคนิคเท่านั้น แต่การ
เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่แท้จริงนั้นยังต้องใช้ระยะเวลา เพราะภาวะเศรษฐกิจไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ชั่วข้ามคืน ยกเว้นแต่ว่าเกิด
โรคระบาด หรือ สงคราม เท่านั้น จึงมองว่าเฟดจะยังคงดำเนินการตามแผนในการปรับขึ้นดอกเบี้ย และ เร่งดูดสภาพคล่องออกจากระบบ
  • กระทรวงพาณิชย์ เผยสถิติการค้าของไทยกับกลุ่มประเทศสมาชิก RCEP ในช่วงครึ่งปีแรกมีมูลค่ารวม 169,041 ล้าน
ดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 13% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยไทยส่งออกไปยังประเทศสมาชิก RCEP มูลค่า 78,172 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น
9% ตลาดส่งออกสำคัญที่ขยายตัวได้ดี อาทิ อาเซียน จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
  • ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาเซนต์หลุยส์ ยังคงเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะสามารถหลีกเลี่ยงภาวะถดถอย
ได้ แม้เฟดจำเป็นต้องเดินหน้าขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไปเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนี เผยยอดส่งออกเดือน มิ.ย.พุ่งขึ้น 4.5% เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งเป็นการขยายตัวแข็ง
แกร่งที่สุดเป็นประวัติการณ์ และเป็นการปรับตัวขึ้นติดต่อกันเดือนที่ 3 โดยได้แรงหนุนจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งจากต่างประเทศ ซึ่งรวมถึง
สหภาพยุโรป, สหรัฐ และจีน
  • เอสแอสด์พี โกลบอล/ซีไอพีเอส เผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือน ก.ค.65 ของอังกฤษปรับ
ตัวลงสู่ระดับ 52.6 จาก 54.3 ในเดือน มิ.ย.65 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 17 เดือน และต่ำกว่าตัวเลขดัชนี PMI ภาคบริการเบื้องต้น
ที่ 53.3 เนื่องจากเศรษฐกิจยังคงได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อที่ใกล้แตะเลขสองหลัก
  • เอสแอนด์พี โกลบอล เผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายของยูโรโซน ลดลงแตะ 51.2 ในเดือน
ก.ค.65 จากระดับ 53.0 ในเดือน มิ.ย.65 แต่ยังสูงกว่าตัวเลขประมาณการขั้นต้นที่ระดับ 50.6

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ