ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.37 ลุ้นผลประชุมกนง.-จับตาเงินเฟ้อสหรัฐวันนี้ ให้กรอบ 35.25-35.50

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 10, 2022 09:25 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 35.37 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าเล็กน้อย จากปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 35.39 บาท/ดอลลาร์

ปัจจัยสำคัญวันนี้ นักลงทุนรอดูผลประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในช่วงบ่ายวันนี้ โดยคาดว่าจะมีมติปรับขึ้น ดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% แต่อาจมีเสียงข้างน้อยที่โหวตให้ปรับขึ้น 0.50% ขณะที่ทิศทางดอลลาร์เคลื่อนไหวแกว่งตัวย่ำฐานรอดูตัวเลขเงิน เฟ้อเดือน ก.ค.65 ของสหรัฐที่จะประกาศออกมาในช่วงค่ำวันนี้

"บาทขยับแข็งค่าเล็กน้อยจากปิดตลาดเย็นวานนี้ ตลาดรอดูผลประชุม กนง.ช่วงบ่าย หากปรับขึ้นมากกว่า 0.25% อาจ มีแรงเทขายบาททำกำไรในระยะสั้นๆ" นักบริหารเงิน กล่าว

สำหรับสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศช่วงนี้ ยังไม่ส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาท แต่ต้องรอดูเนื่องไปในระยะยาว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.25 - 35.50 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (9 ส.ค.) อยู่ที่ระดับ 0.75788% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.92698%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 135.24 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 134.87 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0203 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.0235 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.481 บาท/ดอลลาร์
  • คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประชุมกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งตลาดคาดการณ์ว่า รอบนี้ กนง.
จะมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% โดยส่วนหนึ่งเพื่อหวังจะช่วยลดความร้อนแรงของเงินเฟ้อในประเทศลง
  • "แบงก์พาณิชย์" อั้น ขึ้นดอกเบี้ย หวังช่วยลูกค้า "กสิกรไทย" ลูกหนี้ส่วนใหญ่ยังไม่ฟื้น "แบงก์กรุงเทพ" ย้ำนโยบาย
ดอกเบี้ยกระทบลูกค้าน้อยที่สุด "ทีทีบี" ชี้ รายใหญ่เป็นกลุ่มแรกที่แบงก์จะขึ้นดอกเบี้ย ด้านนักเศรษฐศาสตร์ ฟันธง กนง.ขึ้นดอกเบี้ย
0.25% "กอบศักดิ์" มองเป็น ระดับที่เหมาะสม
  • "สุชาติ"รมว.แรงงานส่งสัญญาณขยับค่าจ้างขั้นต่ำอีก 5-8% อิงฐานจีดีพีและเงินเฟ้อมอบปลัดกระทรวงฯเร่งสรุปชงครม.
ก.ย. หวังบังคับ 1 ต.ค.นี้ชี้เป็นเวลาเหมาะสม ขณะที่สภาองค์การนายจ้างขานรับแนะให้จับตาร่างพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน(ฉบับใหม่)
หากบังคับใช้กระทบกว่า ชี้คุมเข้มขึ้นค่าแรงทุกปี กำหนดการทำงานลูกจ้างเหลือ 5 วันจากเดิม 6 วัน ขยายพักร้อนเป็น 10 วัน
  • 'จุรินทร์'เรียกประชุมทูตพาณิชย์ทั่วโลก 15 ส.ค.นี้ จับตากลยุทธ์ขับเคลื่อนส่งออกไตรมาสส่งท้ายปี 65 ให้บรรลุเป้า 9
ล้านล้านบาท เอกชนวิตกเงินเฟ้อ-น้ำมันพีคอีกครั้งปลายปี ฉุดกำลังซื้อ กดดันนานาประเทศ ลดสต๊อกสินค้าเพื่อขายปีใหม่
  • นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคาร ซิตี้แบงก์ ประเทศไทย กล่าวถึงภาพรวมของเศรษฐกิจไทย โดยประเมินว่า ภาคการท่องเที่ยว
จะกลับมาฟื้นตัวได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งคาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง 2565 และในปี 2566 ทั้งนี้จากปัจจัยจำนวนนักท่อง
เที่ยวที่เดินทางเข้าไทยที่แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งกว่าที่คาด อันเป็นผลจากการที่ภาครัฐยกเลิกข้อจำกัดการเดินทาง รวมถึงการที่
ประเทศเพื่อนบ้านกลับมาเปิดพรมแดนอีกครั้ง ในขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดซิตี้มองว่ามีแนวโน้มที่จะยังคงขาดดุลในปีนี้ สืบเนื่องจากราคาสินค้า
โภคภัณฑ์ที่สูงและการใช้จ่ายในภาคค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น
  • ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐ ได้ลงนามในกฎหมายเพื่อจัดสรรงบอุดหนุนวงเงิน 5.27 หมื่นล้านดอลลาร์สำหรับการ
ผลิตและวิจัยเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐ รวมถึงส่งเสริมขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสหรัฐให้สามารถแข่งขันกับจีน
ได้มากขึ้น
  • ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (9 ส.
ค.) หลังจากมีการคาดการณ์ว่า ตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐอาจชะลอตัวลงในเดือนก.ค.
  • สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 7.10 ดอลลาร์ หรือ 0.4% ปิดที่
1,812.30 ดอลลาร์/ออนซ์ ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 29 มิ.ย. โดยสัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันอังคาร (9 ส.ค.)
โดยได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐในวันนี้
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนก.ค.ในวันนี้ ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์
ว่า ดัชนี CPI เดือนก.ค.ของสหรัฐจะปรับสู่ระดับ 8.7% เทียบกับ 9.1% ในเดือนมิ.ย.
  • ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่จะมีการรายงานในสัปดาห์นี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัป

ดาห์, ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนก.ค. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนก.ค.


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ