ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.43/45 กลับมาแข็งค่าจากช่วงเช้า นลท.จับตารายงานประชุมเฟด

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday August 16, 2022 17:40 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 35.43/45 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากช่วง เช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 35.55 บาท/ดอลลาร์

ระหว่างวันยังไม่มีปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อทิศทางการเคลื่อนไหวของเงินบาทมากนัก เนื่องจากปัจจัยสำคัญที่ตลาดรอจับตาได้ผ่าน ไปแล้ว ทั้งการขึ้นดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)รวมถึงการแถลง GDP จากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) โดยสัปดาห์นี้นักลงทุนรอดูรายงานผลการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ในการประชุมรอบล่าสุดที่ผ่านมา

"ระหว่างวัน ไม่ค่อยมีข่าวอะไรมาก เพราะเพิ่งผ่านข่าว กนง. และ GDP ไปล้ว เมื่อวานดอลลาร์ก็ขึ้นมาเยอะ เพราะ กังวลเศรษฐกิจจีน จากการลดดอกเบี้ย ส่วนวันนี้ดอลลาร์น่าจะเริ่มหมดแรง สัปดาห์นี้ ตลาดรอดูรายงานการประชุม FOMC" นักบริหาร เงิน ระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.30 - 35.60 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 134.10 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 133.40 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0130 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0155 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,629.95 จุด เพิ่มขึ้น 4.70 จุด (+0.29%) มูลค่าการซื้อขาย 76,867 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 4,910.08 ลบ.(SET+MAI)
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เผยภาพรวมการเติบโตของสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 2/65 ขยายตัวต่อ
เนื่องที่ 6.3% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยสินเชื่อธุรกิจ ขยายตัวที่ 8.0% ส่วนสินเชื่ออุปโภคบริโภค ขยายตัวได้ 3.0% ยอดคง
ค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพลดลงมาอยู่ที่ 527.9 พันล้านบาท สัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมที่ 2.88% และมีเงินสำรองอยู่ในระดับสูงที่ 909.6
พันล้านบาท
  • Krungthai COMPASS ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยได้รับแรงหนุนจากการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีกว่าคาด โดยเศรษฐกิจไทย
ในปี 2565 มีแนวโน้มขยายตัวได้ 3.2% ส่วนปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวได้ 4.2% อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 6.1% ก่อนจะชะลอตัวลง
สู่ระดับ 2.0% ในปี 65 ส่วนแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย คาดว่าสิ้นปีนี้จะอยู่ที่ 1.25% และ 2.00% ในสิ้นปี 66
  • Krungthai COMPASS ประเมินว่า ค่าเงินบาทมีโอกาสทยอยกลับมาแข็งค่าในช่วงปลายปีนี้ อยู่ที่ระดับ 34.25-34.50
บาท/ดอลลาร์ ส่วนปี 66 การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่จะได้รับอานิสงส์จากภาคการท่องเที่ยว และทิศทางการทยอยอ่อนค่าของเงิน
ดอลลาร์ จะส่งผลให้ค่าเงินบาทในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 มีโอกาสทยอยแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 33.50-33.75 บาท/ดอลลาร์ โดยช่วงครึ่ง
หลังของปี 2566 คาดว่าเงินบาท ณ สิ้นปีจะอยู่ที่ระดับ 34 บาทต่อดอลลาร์
  • ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่าง พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังค้ำประกันการชำระหนี้ของสำนักงานกอง
ทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. .... และการกู้ยืมเงินของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ส่วนจะมีการกู้เงินใน
จำนวนมากน้อยเพียงใดนั้น ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา
  • หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำภูมิภาคเอเชียของธนาคารมอร์แกน สแตนลีย์กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อในภูมิภาคเอเชียได้ผ่าน
พ้นจุดสูงสุดไปแล้ว เมื่อเทียบกับประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่รายอื่น ๆ เช่น สหรัฐและยุโรป
  • สมาคมการเดินทางเพื่อธุรกิจโลก (Global Business Travel Association) เปิดเผยรายงานประจำปีในวัน
จันทร์ (15 ส.ค.) ว่า การใช้จ่ายด้านการเดินทางเพื่อธุรกิจอาจจะไม่ฟื้นตัวสู่ระดับก่อนโควิด-19 ระบาดจนกว่าจะถึงปี 2569 ซึ่งช้ากว่า
ที่เคยคาดการณ์เอาไว้ถึง 2 ปี เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ ปัญหาขาดแคลนแรงงาน และประเด็นทางการเมืองเป็นปัจจัยที่ชะลอการฟื้นตัวของ
ภาคส่วนดังกล่าว
  • กระทรวงการคลังสหรัฐ เปิดเผยว่า จีนปรับลดการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในเดือนมิ.ย.ลงสู่ระดับ 9.678
แสนล้านดอลลาร์ ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 โดยนักลงทุนจับตาข้อมูลดังกล่าวอย่างใกล้ชิด ท่ามกลางความตึงเครียดระหว่างจีนกับ
สหรัฐ เนื่องจากประเด็นเรื่องไต้หวัน
  • รายงานจากสหประชาชาติ (UN) บ่งชี้ว่า ประชาชนเกือบ 20 ล้านคนอาจถูกผลักดันเข้าสู่ภาวะยากจนรุนแรงในปีนี้ อัน
เนื่องมาจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน และผลกระทบเชิงลบที่เกิดขึ้น เช่น ราคาอาหารที่พุ่งสูง เป็นต้น
  • ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) เปิดเผยรายงานการประชุมประจำเดือนส.ค.ในวันนี้ โดยระบุว่า กรรมการ RBA ส่ง
สัญญาณว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในวันข้างหน้า โดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะขึ้นอยู่กับข้อมูลเศรษฐกิจที่ได้รับและแนวโน้มภาวะเงิน
เฟ้อ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ