ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.44 แกว่งแคบขยับอ่อนค่าเล็กน้อย จับตากระแสเงินไหลเข้า

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 17, 2022 17:37 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 35.44 บาท/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ เปิดตลาดที่ระดับ 35.34 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 35.33 - 35.47 บาท/ดอลลาร์

สำหรับปัจจัยระหว่างวัน เงินไหลเข้าตลาดพันธบัตรวันนี้ค่อนข้างนิ่งหลังจากที่นักลงทุนซื้อหลายวันติด ส่วนตลาดหุ้นคาดว่าจะมี เงินไหลเข้าต่อเนื่อง ด้านสกุลเงินภูมิภาควันนี้เคลื่อนไหวแบบผสมทั้งแข็งค่าและอ่อนค่า เคลื่อนไหวในกรอบแคบ เนื่องจากรอดูปัจจัยจาก สหรัฐฯ เป็นหลัก

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.30 - 35.50 บาท/ดอลลาร์ ปัจจัยที่ต้องติดตามคืนนี้ คือ รายงานการประชุมเฟดรอบเดือนก.ค. และยอดค้าปลีกเดือนก.ค. ของสหรัฐฯ

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 134.81 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 134.19 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0173 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0173 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,639.72 จุด เพิ่มขึ้น 9.77 จุด (+0.60%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 74,640 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 5,754.98 ลบ. (SET+MAI)
  • นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า ไม่มีแนวคิดที่จะยุบสภาตามที่มีกระแสข่าวในขณะนี้ และพร้อมจะเดินหน้าทำงานให้ประชาชนอย่าง
เต็มที่ในช่วงเวลาที่เหลืออยู่
  • เลขาธิการบีโอไอ เผยสถิติคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนช่วง 6 เดือนแรก ปี 65 (ม.ค.-มิ.ย.) มีโครงการขอรับส่ง
เสริมการลงทุน 784 โครงการ เพิ่มขึ้น 4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นมูลค่ารวม 219,710 ล้านบาท โดยกลุ่มอุตสาหกรรมยาน
ยนต์-ชิ้นส่วน และอุตสาหกรรมดิจิทัล มีการขยายตัวสูง
  • รมว.คลัง กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลอยู่ระหว่างการจัดทำงบประมาณรายจ่าย ปี 66 ซึ่งเป็นงบประมาณขาดดุล 6.95
แสนล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณ 65 ที่ขาดดุล 7 แสนล้านบาท ภายใต้ประมาณการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 66 จะขยายตัวได้ 4-5%
โดยการจัดทำงบประมาณขาดดุลที่ลดลงนั้น ถือเป็นสัญญาณที่รัฐบาลพยายามจะบอกว่า ในอนาคตต้องลดการขาดดุลลงอย่างต่อเนื่อง โดย
ปัจจุบันได้มีการปรับลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นลง ขณะเดียวกันต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้ควบคู่ไปด้วย
  • ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัยและที่ปรึกษาการลงทุนธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) กล่าว ว่า แม้
เศรษฐกิจไทยจะมีการฟื้นตัวอย่างช้าๆ แต่คาดว่าจะสามารถกลับไปเทียบเท่ากับช่วงก่อนโควิดได้ โดยจะเห็นการฟื้นตัวที่ชัดเจนมากขึ้นตั้งแต่
ช่วงปลายปี 65 เป็นต้นไป ด้านเศรษฐกิจโลก แม้จะโตช้าลงจากปัญหาเงินเฟ้อที่รุนแรง แต่อาจจะยังไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย รวมถึง
เศรษฐกิจไทยมีปัจจัยบวกเฉพาะตัวอยู่หลายอย่าง แต่ก็ยังมีปัจจัยกดดันที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปีเช่นกัน จึงส่งผลให้เศรษฐกิจไทยจะเติบโต
เพียงแค่บางส่วน แต่ขาดการกระจายตัว
  • ธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศอัดฉีดเงิน 2 พันล้านหยวน (ประมาณ 295 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เข้าสู่ระบบการเงิน
ผ่านข้อตกลง reverse repo ประเภทอายุ 7 วัน โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ 2% ทั้งนี้ มีเป้าหมายที่จะรักษาสภาพคล่องในระบบธนาคาร
ให้มีเสถียรภาพอย่างเหมาะสม
  • ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 ในวันนี้ และส่งสัญญาณว่าจะ
เร่งคุมเข้มนโยบายการเงินเชิงรุกตลอดช่วงหลายเดือนข้างหน้า เพื่อสกัดเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นอย่างรุนแรง โดย
ล่าสุดเงินเฟ้อนิวซีแลนด์ช่วงไตรมาส 2/65 อยู่ที่ 7.3% สูงสุดในรอบ 30 ปี
  • กระทรวงการคลังญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ญี่ปุ่นขาดดุลการค้า 1.44 ล้านล้านเยน (1.07 หมื่นล้านดอลลาร์) ในเดือนก.ค.65
เนื่องจากราคาสินค้านำเข้าสูงขึ้น และสกุลเงินเยนอ่อนค่าลง ซึ่งนับเป็นการขาดดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12
  • เงินเฟ้ออังกฤษแตะระดับสูงสุดในรอบ 40 ปีอีกครั้งในเดือนก.ค. โดยค่าอาหารและค่าพลังงานที่สูงขึ้นส่งผลให้วิกฤตค่า
ครองชีพทวีความรุนแรงเป็นประวัติการณ์
  • สำนักงานสถิติยุโรป หรือยูโรสแตท เปิดเผยในวันนี้ (17 ส.ค.) ว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาส 2/65
ของยูโรโซนชะลอตัวลงเล็กน้อยจากการประมาณการก่อนหน้านี้ แต่ยังคงอยู่ในระดับแข็งแกร่ง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ