ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.80 จับตาการเมืองในปท.-ดอกเบี้ยเฟด คาดกรอบ 35.70-35.90

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 22, 2022 09:33 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 35.80 บาท/ดอลลาร์ ปรับ ตัวอ่อนค่าจากปิดตลาดเมื่อเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 35.66 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทเช้านี้อ่อนค่าจากเย็นวันศุกร์ เนื่องจากดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับทุกสกุล เป็นผลจากการที่ตลาดยังคง กังวลเรื่องแนวโน้มการปรับขึ้นดอกเบี้ยในอัตราสูงของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ขณะเดียวกัน ต้องจับตาดูความเคลื่อนไหวทาง การเมืองในประเทศ กรณีวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครบ 8 ปี

"บาทอ่อนค่าตามภูมิภาค โดยเงินบาทกลับมาอ่อนค่าอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเมื่อช่วง 6 สัปดาห์ก่อน" นักบริหารเงิน
กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.70 - 35.90 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (19 ส.ค.) อยู่ที่ระดับ 0.70122% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.822703%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 137.12 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 136.60 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0025 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0061 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.724 บาท/
ดอลลาร์
  • ธนาคารกสิกรไทย มองกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในสัปดาห์นี้ไว้ที่ระดับ 35.20-36.00 บาท/ดอลลาร์ โดย
มีนปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ถ้อยแถลงของประธานเฟดจากงานสัมมนาประจำปีของเฟดที่เมืองแจ็กสัน โฮล รัฐไวโอมิง ในวัน
ที่ 25-27 ส.ค.65, สถานการณ์สหรัฐฯ-จีน และตัวเลขการส่งออกเดือน ก.ค.65 ของไทย
  • ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันศุกร์ (19 ส.
ค.) เนื่องจากนักลงทุนพากันเข้าซื้อดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย
ในสหรัฐจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ นอกจากนี้ดอลลาร์ยังได้แรงหนุนจากการที่
เจ้าหน้าที่เฟดหลายรายสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมนโยบายการเงินในเดือน ก.ย.65
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเล็กน้อยในวันศุกร์ (19 ส.ค.) หลังการซื้อขายที่ผันผวน
ขณะที่ความวิตกเกี่ยวกับอุปสงค์ที่อ่อนแอ ยังคงถ่วงราคาน้ำมันลงในรอบสัปดาห์นี้ นอกจากนี้ แนวโน้มการบรรลุข้อตกลงนิวเคลียร์ของ
อิหร่าน ซึ่งอาจทำให้มีปริมาณน้ำมันมากขึ้นในตลาดโลกนั้น ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นไม่มากนัก
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวลงในวันศุกร์ (19 ส.ค.) แตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 3 สัปดาห์ และลดลง
เป็นวันที่ 5 ติดต่อกันยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ต้นเดือน ก.ค. เนื่องจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่เพิ่มขึ้น และการแข็งค่าของดอลลาร์
สหรัฐกดดันราคาทอง
  • นักลงทุนในตลาดการเงินทั่วโลก จับตาการประชุมประจำปีของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่เมืองแจ็กสัน โฮล รัฐ
ไวโอมิง ในวันที่ 25-27 ส.ค. โดยคาดว่าเฟดจะส่งสัญญาณที่ชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจสหรัฐ ทิศทางอัตราดอกเบี้ย
รวมทั้งการปรับลดขนาดงบดุล (QT) ของเฟด ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อ
  • ธนาคารกลางจีน ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ประเภท 1 ปีลง 0.05% แตะที่ 3.65%
จากระดับ 3.7% และปรับลดอัตราดอกเบี้ย LPR ประเภท 5 ปีลง 0.15% สู่ระดับ 4.30% จากระดับ 4.45% ในวันนี้ โดยมีเป้า
หมายที่จะพยุงเศรษฐกิจให้ฟื้นตัว หลังจากเศรษฐกิจภายในประเทศได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
และการทรุดตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์
  • China Foreign Exchange Trading System (CFETS) รายงานว่า อัตราค่ากลางสกุลเงินหยวนในวันนี้

อ่อนค่าลง 0.0133 หยวน แตะที่ 6.8198 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ในตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศของจีนนั้น เงินหยวน

ได้รับอนุญาตให้ปรับตัวขึ้นหรือลงไม่เกิน 2% จากอัตราค่ากลางของการซื้อขายแต่ละวัน


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ