นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเย็นนี้อยู่ที่ 36.46 บาท/ดอลลาร์ จากเปิดตลาดเมื่อเช้าอยู่ที่ 36.50 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 36.34 - 36.58 บาท/ดอลลาร์
วันนี้เงินบาทเคลื่อนไหวผันผวน ในกรอบกว้างกว่า 20 สตางค์ ทิศทางเดียวกับตลาดโลกและสกุลเงินยูโร โดยตลาดยังรอดู ทิศทางของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เป็นหลัก ขณะที่วันนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เดือนก.ค. ไทยขาดดุลบัญชี เดินสะพัดเพิ่มขึ้น ซึ่งก็มีผลกดดันเงินบาทบ้าง
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 36.40 - 36.55 บาท/ดอลลาร์ โดยคืนนี้ต้อง ติดตามตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนส.ค. ของสหรัฐฯ และช่วงนี้ต้องติดตามกระแสเงินทุนเคลื่อนย้าย ว่าเงินของนักลงทุนต่างชาติจะ เข้ามาในตลาดหุ้นไทยต่อเนื่องหรือไม่
THAI BAHT SPOT RATE FIXING อยู่ที่ระดับ 36.4642 บาท/ดอลลาร์
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 138.73 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 138.52 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 0.9986 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0026 ดอลลาร์/ยูโร
- รมว.คลัง เชื่อว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลัง จะยังสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องจากครึ่งปีแรกที่โต
2.4% เนื่องจากยังได้รับอานิสงส์จากภาคการท่องเที่ยว หลังจากรัฐบาลผ่อนคลายมาตรการการเดินทางเข้าประเทศ ทำให้คาดว่าปีนี้
จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเดินทางเข้าไทย ราว 8-10 ล้านคน ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี และเชื่อว่าจะดีต่อเนื่องไปจนถึงปี 66 ขณะ
ที่ภาคการส่งออกก็ยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ก.ค. 65) มูลค่าการส่งออกขยายตัว 11% ซึ่ง
เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ และการจ้างงานกลับมาดีขึ้น
- รมว.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังเตรียมจะหารือกับกระทรวงพลังงาน เพื่อพิจารณาเรื่องการขยายเวลาลดภาษี
สรรพสามิตน้ำมันดีเซลต่ออีก 2-3 เดือน เนื่องจากประเมินว่าสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกในปัจจุบันยังมีความผันผวน ทั้งนี้ การปรับลด
อัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล จะสิ้นสุดลงในวันที่ 20 ก.ย. 65
- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผย ในเดือนก.ค. 65 การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยชะลอลงบ้าง โดยเครื่องชี้การ
บริโภคและการลงทุนภาคเอกชนปรับลดลงบ้าง หลังจากเร่งไปในช่วงก่อนหน้า สำหรับมูลค่าการส่งออกสินค้าปรับลดลงสอดคล้องกับอุปสงค์
ประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัว ด้านการใช้จ่ายภาครัฐหดตัวจากรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลกลาง อย่างไรก็ดี ภาคบริการยังคงปรับดีขึ้นตามจำนวนนัก
ท่องเที่ยวต่างชาติ ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเล็กน้อย หลังผู้ผลิตได้รับชิ้นส่วนการผลิตจากต่างประเทศมากขึ้น
- รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ก.ค.
65 อยู่ที่ระดับ 95.71 ขยายตัว 6.37% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดยช่วง 7 เดือนแรกของปี 65 (ม.ค.-ก.ค.)
ขยายตัวเฉลี่ย 1.23% ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการผลิต เดือน ก.ค. 65 ได้แก่ ผลจากฐานต่ำปีที่แล้ว ขณะที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจใน
ประเทศยังคงทยอยปรับตัวดีขึ้น และสถานการณ์เงินเฟ้อ ยังคงส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม ผ่านการเพิ่มขึ้นของต้นทุน
การผลิตอยู่ แต่มีทิศทางชะลอตัวลง
ทั้งนี้ คาดว่า MPI ในครึ่งปีหลังมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) ที่ ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหารของไทย
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำที่จะมีผลในไตรมาส 4/65 เป็นต้นไป ทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถส่งผ่านต้น
ทุนทั้งหมดไปยังผู้บริโภคได้ทันที ดังนั้น คาดว่าผลกระทบของการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำต่อเงินเฟ้อในปีนี้คาดว่าจะมีจำกัด โดยศูนย์วิจัยฯ ยังคง
ประมาณการเงินเฟ้อไทยในปีนี้อยู่ที่ 6.0% ซึ่งประมาณการนี้ได้รวมผลกระทบของการปรับค่าแรงขั้นต่ำแล้ว ทั้งนี้ คาดว่าจะเห็นการส่งผ่าน
ต้นทุนค่าแรงจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคมากขึ้นในปีหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมที่พึ่งพาแรงงานในสัดส่วนสูง
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์ก สนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติม เพื่อสกัดเงิน
เฟ้อ พร้อมชี้ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจำเป็นต้องเคลื่อนไหวเหนือระดับ 3.5% ไปจนถึงสิ้นปี 66
- สำนักงานสถิติแห่งชาติฝรั่งเศส (INSEE) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของฝรั่งเศสในเดือนส.ค. เพิ่มขึ้น
5.8% เมื่อเทียบรายปี ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้านั้นซึ่งขยายตัว 6.1% เนื่องจากราคาพลังงานที่ลดลง
โดย ปภัสสร องค์พิเชฐเมธา/รัชดา คงขุนเทียน