นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 36.56 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่า จากเปิดตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 36.39 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 36.35 - 36.57 บาท/ดอลลาร์
เย็นนี้เงินบาทอ่อนค่าเช่นเดียวกับสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค โดยช่วงเช้าเงินบาทแข็งค่าเร็ว จากที่ดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบ กับสกุลเงินอื่น ขณะที่ตลาดพันธบัตรของไทยวันนี้ มีต่างชาติเข้าซื้อพันธบัตรระยะสั้นค่อนข้างมาก แต่หลังจากที่เงินบาทลงมาแตะที่ประมาณ 36.30 บาท/ดอลลาร์ ก็เด้งกลับ และมีแรงซื้อดอลลาร์เข้ามา
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 36.40 - 36.60 บาท/ดอลลาร์ โดยคืนนี้ตลาดรอ ดูดัชนีภาคบริการเดือนส.ค. ของสหรัฐฯ จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM)
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 141.67 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 140.40 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 0.9956 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 0.9966 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,633.87 จุด เพิ่มขึ้น 11.87 จุด (+0.73%) มูลค่าการซื้อขาย 70,060 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 114.28 ลบ.(SET+MAI)
- สำนักงาน ก.ล.ต. เตรียมแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาแก้ไข พ.ร.ก.การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561
- กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-3 ก.ย. 65 พบว่าไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติสะสม
- ครม.อนุมัติแผนการกู้เงิน วงเงินไม่เกิน 8.5 หมื่นล้านบาท ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อเสริม
- เอชเอสบีซี โฮลดิงส์ ปรับลดคาดการณ์ค่าเงินเยนของญี่ปุ่น หลังจากเยนเคลื่อนไหวใกล้ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ โดย
- รายงานภายในที่จัดเตรียมสำหรับรัฐบาลรัสเซีย ระบุว่า รัสเซียอาจต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างยาวนานและ
- นักวิเคราะห์คาดว่า วิกฤตตลาดอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัยของจีนจะทวีความรุนแรงขึ้นในปีนี้ เนื่องจากผู้ซื้อบ้านยังคง
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิต-บริการขั้นสุดท้าย ปรับตัวลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 18 เดือนที่ 48.9 ใน
เดือนส.ค. จาก 49.9 ในเดือนก.ค. ชี้ว่ากิจกรรมธุรกิจของยูโรโซนหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ในเดือนส.ค. หลังอุปสงค์ทรุดตัว
เนื่องจากประชาชนต่างระมัดระวังตัวเกี่ยวกับวิกฤตค่าครองชีพที่ทวีความรุนแรงขึ้น และแนวโน้มเศรษฐกิจที่ซบเซาจำกัดการซื้อของผู้บริโภค