ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 36.72 ระหว่างวันผันผวน ก่อนกลับมาทรงตัวจากช่วงเช้า จับตาทิศทางบอนด์ยีลด์สหรัฐ

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday September 7, 2022 17:33 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 36.72 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวใน ระดับเดียวกับเปิดตลาดเมื่อเช้า โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 36.64 - 36.82 บาท/ดอลลาร์

"ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนตามทิศทางตลาดโลก พออ่อนค่าใกล้ระดับ 36.82 บาท/ดอลลาร์ ก็มีแรงเทขาย ดอลลาร์ทำกำไรออกมา ช่วงนี้ต้องดูปัจจัยหนุนดอลลาร์ จากเรื่องบอนด์ยีลด์เป็นหลัก" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 36.70 - 36.80 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 144.12 เยน/ดอลลาร์ ทำนิวไฮในรอบ 24 ปี จากช่วงเช้าที่ 143.15 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 0.9913 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 0.9886 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,639.92 จุด เพิ่มขึ้น 6.05 จุด (+0.37%) มูลค่าการซื้อขาย 71,205 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,369.36 ลบ.(SET+MAI)
  • ผู้ว่าแบงก์ชาติ ย้ำว่า การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยเพื่อให้กลับเข้าสู่ระดับปกตินั้น จะต้องปรับอย่างค่อยเป็นค่อย
ไป และให้สอดคล้องกับบริบทเศรษฐกิจที่เพิ่งเริ่มฟื้นตัว ท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อที่สูงจากแรงกดดันด้านอุปทาน ทั้งนี้ เพื่อให้เศรษฐกิจไทย
สามารถฟื้นตัวในช่วงหลังโควิด-19 ได้อย่างต่อเนื่อง และไม่สะดุด หรือเรียกว่า Smooth Takeoff
  • คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) คงประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 65 ขยายตัวในกรอบ 2.75-3.5%
ขณะที่มูลค่าการส่งออกคาดว่ายังขยายตัวได้ 6-8% และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในกรอบ 5.5-7.0% โดยประเมินว่า ในช่วงที่เหลือของปี
การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวชัดเจนขึ้น คาดจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งปี แตะระดับ 9-10 ล้านคน
  • ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน (KR-ECI) ปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 33.9 และ 35.7 จากระดับ 32.5
และ 34.0 ในเดือนก.ค. 65 แต่ยังต่ำกว่าระดับ 50 เนื่องจากครัวเรือนมีมุมมองที่ดีขึ้นต่อรายได้และการจ้างงาน ซึ่งเป็นไปทิศทางเดียว
กับอัตราการว่างงานที่ลดลงจาก 1.9% ในเดือนม.ค. 65 มาอยู่ที่ 1.3% ในเดือนก.ค. 65 ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่เกิดสถานการณ์
การระบาดของโควิด-19
  • สำนักวิจัยซีไอเอ็มบี ไทย ชี้ เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3 และ 4 ของปีนี้ มีโอกาสโตได้มากกว่า 3% ขณะที่ปี 66 มี
โอกาสจะโตได้ 4% แต่การฟื้นตัวจะยังเป็นแบบไม่ทั่วถึง ดังนั้นจึงเสนอโมเดลที่เปรียบเทียบเศรษฐกิจไทยว่าเป็น "แฝดสยาม" เนื่องจาก
แม้จะยังมีการเติบโต แต่ก็ต้องมองอย่างระมัดระวัง เพราะเป็นการฟื้นตัวที่ไม่ทั่วถึง โดยในธุรกิจประเภทเดียวกัน อาจจะมีทั้งกลุ่มที่
อ่อนแอ และกลุ่มที่สามารถฟื้นตัวได้ดี
  • ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐได้แสดงความเชื่อมั่นว่า จะมีโอกาสพบปะพูดคุยกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ในการ
ประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่ม G20 ซึ่งจะจัดขึ้นที่เกาะบาหลีของอินโดนีเซียในเดือนพ.ย.นี้ หากผู้นำจีนเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว
  • รมว. คลังญี่ปุ่น ส่งสัญญาณว่า ญี่ปุ่นอาจจะเข้าแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตรา หากเงินเยนอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง พร้อม
กับเตือนว่า รัฐบาลจะใช้มาตรการที่จำเป็นเนื่องจากเงินเยนมีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว และเป็นการเคลื่อนไหวเพียงฝั่งเดียว (one-
sided move) จนเป็นเหตุให้สกุลเงินเยนดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดครั้งใหม่ในรอบ 24 ปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์
  • ยอดส่งออกเดือนส.ค.ของจีนปรับตัวขึ้นเพียง 7.1% ซึ่งชะลอตัวลงอย่างมากจากเดือนก.ค.ที่มีการขยายตัว 18% เนื่อง
จากภาวะเงินเฟ้อส่งผลให้อุปสงค์สินค้าจีนในต่างประเทศลดลง นอกจากนี้ มาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-
19 และปัญหาคลื่นความร้อนยังส่งผลกระทบต่อการผลิต และทำให้เศรษฐกิจจีนมีความเสี่ยงที่จะเผชิญภาวะขาลง
  • ราคาบิตคอยน์ร่วงลงทะลุระดับ 19,000 ดอลลาร์ในช่วงเช้าวันนี้ ส่งผลให้มูลค่าตลาดคริปโทเคอร์เรนซีดิ่งลงสู่ระดับต่ำ
กว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ เนื่องจากนักลงทุนเทขายบิตคอยน์ออกมาอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางความกังวลที่ว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ
ธนาคารกลางทั่วโลกจะส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องในตลาดสินทรัพย์เสี่ยง ซึ่งรวมถึงตลาดคริปโทฯ
  • GDP ของยูโรโซนไตรมาส 2/65 ปรับตัวขึ้น 4.1% เมื่อเทียบรายปี โดยสำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป (ยูโรสแตท)

ระบุว่า การขยายตัวของ GDP ไตรมาส 2/65 ของยูโรโซนแข็งแกร่งกว่าที่ประมาณการไว้ เนื่องจากการใช้จ่ายในภาคครัวเรือนฟื้นตัวขึ้น

หลังชะงักงันมาร่วมครึ่งปี แม้รายได้ที่ใช้จ่ายได้จริงจะถูกบีบคั้นจากภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นก็ตาม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ