ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 36.26 แข็งค่าตามทิศทางภูมิภาค ตลาดรอลุ้นตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐ

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday September 13, 2022 17:45 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 36.26 บาท/ดอลลาร์ จากเปิดตลาดเมื่อ เช้าที่ระดับ 36.32 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 36.25 - 36.33 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทเคลื่อนไหวแกว่งออกข้าง โดยตลาดรอติดตามดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯ เป็นหลัก ด้านสกุลเงิน ภูมิภาคแข็งค่าเล็กน้อย

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทของวันพรุ่งนี้ที่ 36.15 - 36.35 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 142.24 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 142.64 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0163 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0129 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,661.09 จุด เพิ่มขึ้น 4.65 จุด (-0.28%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 67,292 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 355.96 ลบ. (SET+MAI)
  • ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำใน 77 จังหวัด ทั่วประเทศ ที่อัตรา 8-22 บาท/วัน หรือ
เพิ่มขึ้นต่ำสุดอยู่ที่ 328 บาท/วัน และเพิ่มขึ้นสูงสุดอยู่ที่ 354 บาท/วัน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 65
  • ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าแก่กลุ่มเปราะบางและกลุ่มผู้มีรายได้น้อย สำหรับผู้ที่ใช้
ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน และกลุ่มใช้ไฟฟ้าเกิน 300 หน่วยต่อเดือน แต่ไม่เกิน 500 หน่วยต่อเดือน เป็นเวลา 4 เดือน ตั้งแต่
เดือนก.ย.-ธ.ค. 65 ในวงเงิน 9,000 ล้านบาท และมีผลทันต่อการคำนวณบิลค่าไฟช่วงสิ้นเดือนก.ย. นี้
  • ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนส.ค.65 ปรับ
ตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และเป็นระดับที่สูงสุดในรอบ 8 เดือน นับตั้งแต่ ก.พ.65 เนื่องจากในหลายปัจจัย เช่น ผู้บริโภครู้สึกว่า
เศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย หลังจากที่สถานการณ์โควิดในประเทศเริ่มปรับตัวดีขึ้นและมีการผ่อนคลายกฎระเบียบต่างๆ ให้ธุรกิจเริ่ม
เปิดดำเนินการได้เป็นปกติ ตลอดจนการผ่อนคลายให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศได้สะดวกมากขึ้น ประกอบกับราคาน้ำมัน
เบนซินปรับตัวลดลงอย่างมาก
  • สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนส.ค. 65
อยู่ที่ระดับ 90.5 ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 89.0 ในเดือนก.ค. โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน มีปัจจัยสนับสนุนจากปัจจัยใน
ประเทศเป็นสำคัญ ได้แก่ กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ หลังจากสถานการณ์โควิด-19 ปรับตัวดีขึ้นและภาครัฐผ่อน
คลายมาตรการควบคุมโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การบริโภคในประเทศมีทิศทางที่ดีขึ้น สะท้อนจากความต้องสินค้าภาคอุตสาหกรรม
ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่บรรยากาศการท่องเที่ยวมีสัญญาณที่ดีขึ้นหลังการยกเลิก Thailand Pass รวมถึงมาตรการส่งเสริมการท่อง
เที่ยวผ่านโครงการเราเที่ยวด้วยกัน ช่วยสนับสนุนการใช้จ่ายในประเทศ
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) เปิดเผยว่า EIC ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 65 เป็น 3.0% (เดิม 2.9%) และ
3.7% ในปี 66 ตามการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและภาคบริการ จากการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติและการผ่อนคลายมาตรการ
เดินทางข้ามพรมแดนทั่วโลก

EIC ปรับเพิ่มอัตราเงินเฟ้อไทยในปี 65 เป็น 6.1% (เดิม 5.9%) และคาดว่าเงินเฟ้อจะทยอยปรับลดลงอย่างช้าๆ อยู่ที่ 3.2 % ในปี 66 สูงกว่ากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ จากราคาพลังงานและอาหารที่ยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง รวมถึงการส่งผ่านต้นทุนของผู้ ผลิตไปยังราคาสินค้าในกลุ่มอื่นที่มีมากขึ้น ขณะที่การส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก

EIC ปรับเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 65 มาเป็น 7.4 ล้านคน จากเดิม 5.7 ล้านคน ซึ่งจะสามารถสร้างเม็ด เงินที่เป็นรายได้เข้ามาให้กับประเทศไทยได้ราว 3.7 แสนล้านบาท จากความต้องการเดินทางที่เพิ่มสูงขึ้น หลังจากกลับ มาเปิดประเทศและผ่อนคลายมาตรการเดินทางเข้าประเทศมากขึ้น

  • นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนส.ค.ของสหรัฐในวันนี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตรา
ดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในการประชุมเดือนนี้
  • รัฐมนตรีคลังสหรัฐได้แสดงความเชื่อมั่นว่า อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐจะชะลอตัวลงอีก แต่ก็เตือนว่ายังมีความไม่แน่นอนอยู่
  • โกลด์แมน แซคส์ เปิดเผยรายงานระบุว่า จีนจะยังคงยึดมั่นในนโยบายโควิดเป็นศูนย์ (Zero-COVID) หลังการประชุม
สมัชชาใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในเดือนหน้า โดยนักเศรษฐศาสตร์ของโกลด์แมน แซคส์ปฏิเสธการคาดการณ์ใดๆ เกี่ยวกับการเปลี่ยน
แปลงนโยบายที่สำคัญๆ หลังการประชุมดังกล่าว
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (ONS) รายงานในวันนี้ว่า อัตราว่างงานในช่วงเดือนพ.ค.-ก.ค. ลดลงแตะระดับต่ำสุดนับ
ตั้งแต่ปี 2517 ขณะที่อัตราค่าจ้างปรับตัวขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานของอังกฤษยังคงอยู่ในภาวะ
ตึงตัว แม้ความต้องการแรงงานเริ่มบรรเทาลงในระดับหนึ่งแล้วก็ตาม
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนี (Destatis) เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีเร่งตัวขึ้นอีกครั้งในเดือนส.ค.หลัง
จากที่ชะลอตัวลงในเดือนมิ.ย. และก.ค. โดยสอดคล้องกับที่คาดการณ์ไว้ และเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า แรงกดดันด้านราคายังคงมีอยู่ เนื่อง
จากวิกฤตด้านอุปทานพลังงานยังดำเนินต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ