นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 36.63 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้น เล็กน้อยจากช่วงเช้าที่เปิดตลาด 36.67 บาท/ดอลลาร์
ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 36.63-36.74 บาท/ดอลลาร์ ถือว่ายังเป็นทิศทางที่อ่อนค่าเมื่อเทียบกับวานนี้ แม้ ช่วงบ่ายมีแรงขายดอลลาร์กลับเข้ามา จึงทำให้เงินบาทแข็งค่าจากช่วงเช้าได้บ้าง
ทั้งนี้ ตลาดให้ความสนใจกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ (บอนด์ยีลด์) และความเสี่ยงที่ญี่ปุ่นจะเข้ามาแทรกแซงค่า เงินเยน หลังจากที่อ่อนค่าไปมากเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
คืนนี้ ตลาดรอดูการรายงานดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนส.ค.ของสหรัฐ แต่ก็อาจจะไม่ได้เป็นปัจจัยที่มีผลต่อค่าเงินมาก นักหากเทียบกับดัชนีราคาผู้บริโภค ซึ่งเป็นตัววัดเงินเฟ้อ
นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะยังมีแนวโน้มอ่อนค่า ให้กรอบการเคลื่อนไหวที่ 36.55-36.70 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 143.18 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 144.65 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0007 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 0.9980 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,656.58 จุด ลดลง 4.51 จุด (-0.27%) มูลค่าการซื้อขาย 72,610 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,084.34 ลบ.(SET+MAI)
- ศาลรัฐธรรมนูญ กำหนดนัดแถลงด้วยวาจา ลงมติ และอ่านคำวินิจฉัย ความเป็นรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
- ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เลื่อนการลงมติ
- รมช.คลังญี่ปุ่น เปิดเผยว่า มีความวิตกเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยน และได้เตือนเกี่ยวกับการอ่อนค่าลงอย่าง
- แหล่งข่าว ระบุ ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้ดำเนินการตรวจสอบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Rate
- นางคริสตาลินา จอร์เจียวา ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวว่า จีน และเจ้าหนี้รายอื่น ๆ มี
- รมว.คลังฝรั่งเศส เชื่อมั่นว่า เศรษฐกิจฝรั่งเศสจะไม่ประสบกับภาวะถดถอย แม้รัฐบาลได้ปรับลดคาดการณ์แนวโน้ม
- สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (ONS) รายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อ ปรับตัวลงสู่ระดับ
9.9% ในเดือน ส.ค.ต่ำกว่าคาดการณ์ที่ระดับ 10.2% หลังจากราคาเชื้อเพลิงลดลง แม้ว่าราคาอาหารจะยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่ประชาชนยังคงเผชิญวิกฤตค่าครองชีพ