(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 36.63 ทรงตัวจากวานนี้ ตลาดรอปัจจัยใหม่ ให้กรอบวันนี้ 36.55-36.75

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday September 15, 2022 11:17 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 36.63 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวในระดับ เดียวกับปิดตลาดเย็นวานนี้ คาดตลาดพักฐานรอปัจจัยใหม่เข้ามาเพิ่มเติม หลังปรับตัวอ่อนค่าไปมากจากเรื่องตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ส. ค.65 ของสหรัฐ

"บาททรงตัวเท่ากับช่วงเย็นวานนี้ พักฐานรอปัจจัยใหม่ หลังอ่อนค่าไปมากจากเรื่องตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐ" นักบริหาร
เงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 36.55 - 36.75 บาท/ดอลลาร์ โดยวันนี้ต้องติดตามดู ทิศทางการเคลื่อนไหวของเงินทุนต่างประเทศ

THAI BAHT FIX 3M (14 ก.ย.) อยู่ที่ระดับ 0.88601% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.90128%

SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 36.69625 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 143.03 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 143.18 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 0.9975 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0007 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 36.685 บาท/ดอลลาร์
  • ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดการ
เงินผันผวนสูงขึ้น จากตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่อยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ส่งผลให้นักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) จะปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยมากขึ้นกว่าเดิมในระยะถัดไป โดยนับแต่ต้นปี เงินดอลลาร์สหรัฐ ปรับแข็งค่าไปแล้วกว่า 14.6% และเป็นปัจจัยหลักที่กดดันให้สกุล
เงินภูมิภาค รวมทั้งเงินบาทปรับอ่อนค่าลงในช่วงที่ผ่านมา การลดลงดังกล่าว เป็นผลจากการตีมูลค่าเงินสำรองฯ ที่อยู่ในสินทรัพย์หลายสกุล
เงินให้เป็นสกุลดอลลาร์ฯ เป็นสำคัญ โดยเงินดอลลาร์ฯ ที่แข็งค่าขึ้น ส่งผลให้สินทรัพย์สกุลอื่นเมื่อตีเป็นรูปดอลลาร์ฯ มีมูลค่าลดลง ซึ่งโดย
ปกติ ในช่วงที่ค่าเงินดอลลาร์ฯเคลื่อนไหวผันผวนสูง จะเห็นมูลค่าเงินสำรองฯ ผันผวนสูงขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ยังไม่พบสัญญาณการเคลื่อนย้าย
เงินทุนที่ผิดปกติ
  • กูรูชี้แบงก์ชาติเผชิญโจทย์หิน ทาง 2 แพร่ง "ขยับดอกเบี้ย" สู้เงินเฟ้อ ท่ามกลางแรงกดดันทางด้านเศรษฐกิจ-หนี้ครัว
เรือน หลังเงินเฟ้อ สหรัฐเดือน ส.ค.พุ่งเกินคาดแตะ 8.3% กดดันเฟดขึ้นอาจดอกเบี้ยแรง ทุบตลาดหุ้น ร่วงระนาว ขณะที่ทิศทางค่าบาท
อ่อนยาว
  • รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่าได้ประชุมร่วมกับทูตพาณิชย์ทั่วโลก 42 ประเทศ 58 สำนักงานและภาคเอกชน เพื่อปรับแผนการ
ส่งออกครึ่งปีหลัง 65 ท่ามกลางปัญหาสงครามการค้า โควิด-19 สงครามรัสเซีย-ยูเครน และปัญหาจีนกับไต้หวัน เศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และ
ภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น โดยสั่งการทูตพาณิชย์ทุกแห่งจัดกิจกรรมเชิงลึกและเชิงรุกเพิ่มอีก 345 กิจกรรม บวกกับกิจกรรมเดิม 185 กิจกรรม
รวมเป็น 530 กิจกรรมพร้อมกับตั้งเป้าหมายเพิ่มการส่งออกอีก 20,000 ล้านบาท จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 9 ล้านล้านบาท
  • ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงกรณีกรุงเทพมหานคร เข้าหารือกับกระทรวงการคลังเพื่อแก้ปัญหาการนำที่รกร้างว่าง
เปล่าใจกลางเมืองมาปลูกพืชบางชนิดเพื่อเลี่ยงเสียภาษีให้ถูกลงว่า คณะอนุกรรมการวินิจฉัยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ประชุมร่วมกับ
กรุงเทพมหานครในกรณีดังกล่าวแล้ว แต่ขณะนี้ยังไม่เห็นรายละเอียด จะต้องรอให้มีการนำเสนอเรื่องมาให้ก่อน เพราะตามหลักการคณะ
อนุกรรมการดังกล่าวจะต้องส่งคำวินิจฉัยดังกล่าวมาให้คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งมีตนในฐานะปลัดกระทรวงการคลัง
เป็นประธาน เพื่อหาข้อสรุปอีกครั้ง
  • ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (14 ก.
ย.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ชะลอตัวลง
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันพุธ (14 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลังจากสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่สูงกว่าคาด
  • ข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดค้าปลีกเดือนส.ค.,
ดัชนีภาคการผลิต (Empire State Manufacturing Index) เดือนก.ย.จากเฟดนิวยอร์ก, ราคานำเข้าและราคาส่งออกเดือนส.
ค., การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนส.ค., สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนก.ค. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนก.ย.จาก
มหาวิทยาลัยมิชิแกน
  • นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของเฟดในวันที่ 20-21 ก.ย.นี้ โดยล่าสุด FedWatch Tool ของ CME

Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 36% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1.00% สู่ระดับ 3.25-3.50% ในการประชุมครั้งนี้ และให้

น้ำหนัก 64% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75%


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ