นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวปาฐกถาพิเศษในงาน Huawei Connect 2022 Bangkok หัวข้อ "มุ่งสู่เศรษฐกิจดิจิทัลที่เฟื่องฟู" ว่า สถานการณ์โควิด-19 ได้ทำให้เกิดการหยุดชะงักในระบบเศรษฐกิจส่งผลกระทบในด้านของคุณภาพชีวิตของคนทั่วโลก ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจให้เทียบเท่าในช่วงสถานการณ์ปกติก่อนเกิดวิกฤตโควิด เป็นสิ่งที่ทุกประเทศกำลังทำรวมถึงประเทศไทยก็พร้อมที่จะส่งเสริมกำลังของไทยเพื่อก้าวสู่อนาคตในฟื้นฟูกับเส้นทางที่มีความมั่นคงมากขึ้น
เมื่อพิจารณาถึงแนวโน้มต่างๆ ประเทศไทยต้องเดินหน้าต่อไปตามรูปแบบการเติบโต และรูปแบบการเติบโตที่นำโดยนวัตกรรม และตั้งอยู่บนองค์ความรู้ ท่ามกลางการเกิดการแพร่ระบาดเศรษฐกิจดิจิทัล และการพัฒนาสังคมได้เกิดความก้าวหน้าอย่างมีนับสำคัญ เกิดการรุกตลาดในเทคโนโลยีดิจิทัลในส่วนที่เป็นแอพพลิเคชัน เช่น โมบายเพย์เมนต์ การค้าอีคอมเมิร์ซ เป็นต้น ชยายตัวมากกว่า 120% ถือเป็นบทบาทสำคัญในการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ
ในปี 64 อัตราการเติบโตรายปีของเทคโนโลยีดิจิทัลต่างๆ จะสูงแตะ 44% และอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์จะขยายตัวมากถึง 26% รวมถึงอุตสาหกรรม Big Data จะขยายตัวได้ 4% ขณะเดียวกันมีหลายแนวโน้มที่กำลังเกิดขึ้นในเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย อาทิ
1.การเผชิญกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก และสภาพแวดล้อมภายนอกต่างๆ ซึ่งการเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลจะเป็นหลักประกันว่าจะสามารถฟื้นตัวและพัฒนาต่อไปในด้านของเศรษฐกิจได้
2.แนวคิดหรือนโยบาย 4.0 รวมถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทยระยะ 5 ปี ฉบับที่ 13 จะกลับกลายมาเป็นศูนย์กลางของโลกในด้านอุตสาหกรรมและดิจิทัลอัจฉริยะ รวมถึงการใช้นวัตกรรมดิจิทัลต่างๆ ที่จะสร้างโอกาสและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจด้วย
3.ไทยได้กำหนดพันธกรณีคือไทยต้องการสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2593 เศรษฐกิจดิจิทัลเป็นเศรษฐกิจรวบรวมอุตสาหกรรมที่ใช้คาร์บอนต่ำ รวมถึงแนวคิด BCG ของไทยก็จำเป็นต้องใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีเป็นส่วนสำคัญในการเดินหน้าต่อไป
ด้วยความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกและสภาพแวดล้อมภายนอกต่างๆ ประเทศไทยได้มีการทำมาตรการต่างๆ เพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลผ่านโครงการที่ริเริ่มด้านนโยบาย โดยกระทรวงได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล หรือดิจิทัลอินฟราสตรักเจอร์ ซึ่งจะเป็นเสาหลักในการที่จะบรรลุความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจดิจิทัล นอกจากนี้ จะเป็นการกระตุ้นการลงทุนและขับเคลื่อนความเติบโตเศรษฐกิจด้วย
ภายในปี 2570 มูลค่าเพิ่มของเศรษฐกิจดิจิทัลคาดว่าจะขยายตัวสูงถึง 30% ของจีดีพีประเทศไทย และความสามารถในการแข่งขันของไทยตามอันดับความสามารถในการแข่งขันของโลก หรือ world digital competitiveness ranking มีการคาดการณ์ว่าจะอยู่ใน 30 อันดับแรก และที่สำคัญที่สุดประเทศไทยเป็นเว้นทางหลักในการแลกเปลี่ยนข้อมูลในภูมิภาคอาเซียนตอนเหนือ และศักยภาพการทำงานข้ามพรมแดน การวางเคเบิลใต้สมุทร และการจัดตั้งศูนย์ Data center ขนาดใหญ่นั้น จะยังคงมีการพัฒนาต่อไปตลอดทั่วทั้งภูมิภาคของประเทศ
นายชัยวุฒิ กล่าวอีกว่า รัฐได้เสริมความแข็งแกร่งเพื่อเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกคน และการพัฒนาที่มีความมั่งคั่ง เช่น กระทรวงได้จัดตั้ง Data center และบริการคลาวด์ที่จะสนับสนุนนวัตกรรมและทำให้รัฐสามารถมอบบริการสาธารณะที่มีความเท่สเทียมได้ นอกจากนี้ สามารถดำเนินการเพื่อส่งเสริม สนับสนุนอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมได้ด้วยเช่นกัน เป็นต้น
ด้วยพื้นฐานระดับสูงที่มีอยู่ในวันนี้และการใช้เทคโนโลยีประมวลผลต่างๆ สิ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ และทำให้อุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมเริ่มเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ดิจิทัล เช่น ยุคสมัยของเว็บ 3.0 ธุรกรรมต่างๆ จะเกิดขึ้นในแพลตฟอร์มเศรษฐกิจดิจิทัล และดิจิทัลคอนเทนท์อีโคโนมี หรือเศรษฐกิจดิจิทัลคอนเทนท์แบงก์เสมือนจริงๆ เมตาเวิร์ส เป็นต้น จะเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และไทยมีความยินดีที่จะเห็นว่าการดำเนินการเหล่านี้ดึงดูดให้นักลงทุนเข้ามาในประเทศไทย จึงมีเป้าหมายจะบรรลุการให้บริการอินเตอร์เน็ตไฮสปีดที่สามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมด้วยราคาสมเห็นสมผล ขณะเดียวกันการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจดิจิทัลเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้ใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
จากข้อมูลของดีอีเอส มีผู้ปฎิบัติงานด้านไอซีทีในประเทศไทยมากกว่า 430,000 ราย โดยความสำคัญของผู้มีส่วนร่วมด้านเศรษฐกิจของทรัพยากรบุคคลด้านดิจิทัล 1 คน มีค่าเทียบเท่ากับคนทั่วไปถึง 10 คน และปี 2570 เศรษฐกิจดิจิทัลจะคิดเป็น 30% ของจีดีพี ดังนั้น ไทยมีจุดมุ่งหมายที่จะฝึกอบรมกำลังคนมากกว่า 500,000 คน ภายใน 5 ปี ต่อจากนี้ เพื่อให้มีความพร้อมด้านดิจิทัล