ธนาคารโลก หรือเวิลด์แบงก์ ปรับประมาณการเศรษฐกิจ (GDP) ของประเทศไทย จากเดิมที่ 2.9% เป็น 3.1% หลังภาคการบริโภค การท่องเที่ยว และการส่งออกฟื้นตัว แต่ยังคงได้รับผลกระทบจากการชะงักงันของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Disruption) ซึ่งประเทศไทยจะได้รับผลกระทบมากกว่าประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะสินค้ายานยนต์ สำหรับปี 66 ธนาคารโลกคาดการเศรษฐกิจไทยเติบโตที่ 4.1%
อย่างไรก็ตาม ภาครัฐได้มีการตอบรับมาตรการการด้านคลังถ้วนหน้า ทั้งเรื่องหนี้ครัวเรือน ปัญหาเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่งเริ่มปรับขึ้น ในส่วนของค่าเงินบาทที่อ่อนค่าเช่นเดียวกับสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค มาจากแรงกดดันของเงินเฟ้อ และผลกระทบของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่ทำให้สกุลเงินดอลลาร์แข็งค่า
ทั้งนี้ ธนาคารโลกมองว่า ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก จะฟื้นตัวในปีนี้ หลังจากที่ต้องเจอผลกระทบของโควิด-19 ในขณะที่ประเทศจีนสูญเสียโมเมนตัม เนื่องจากยังคงมาตรการควบคุมโควิดอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เศรษฐกิจทั่วทั้งภูมิภาค อาจได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อุปสงค์ หนี้ที่เพิ่มขึ้น และการแก้ไขเศรษฐกิจระยะสั้น เพื่อเตรียมรับมือกับราคาอาหารและเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น
สำหรับการคาดการการเติบโตของเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกนอกประเทศจีน คาดว่าในปี 65 จะเร่งขึ้นเป็น 5.3% จากในปี 64 ที่ 2.6% ในส่วนของประเทศจีน ก่อนหน้านี้เป็นผู้นำการฟื้นตัวในภูมิภาค คาดว่าในปี 65 จะเติบโต 2.8% จากในปี 64 ที่ 8.1% สำหรับภูมิภาคโดยรวมคาดว่าการเติบโตจะชะลอตัวลงเหลือ 3.2% ในปีนี้ จาก 7.2% ในปี 64 ก่อนที่จะเร่งขึ้นเป็น 4.6% ในปี 66
ทั้งนี้ การเติบโตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกส่วนใหญ่ ได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ฟื้นตัว จากการผ่อนคลายนโยบายที่เกี่ยวข้องกับโควิด และการเติบโตของภาคการส่งออก
"การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก เริ่มส่งผลกระทบต่อความต้องการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ในภูมิภาค และสินค้า อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในต่างประเทศได้กระตุ้นการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะทำให้ทำให้เกิดการไหลออกของเงินทุนและภาระหนี้สูงในบางประเทศในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก" ธนาคารโลก ระบุ