นายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนส.ค. 65 ว่า ขยายตัวได้ดีในเกือบทุกภูมิภาค โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และการท่องเที่ยว อาทิ ภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคใต้ และภาคตะวันออก นอกจากนี้ ความเชื่อมั่นผู้บริโภค ยังปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าทุกภูมิภาค
- ภาคเหนือ
ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยว รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น โดยด้านด้านอุปสงค์ พบว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัว 2.0% ต่อปี เช่นเดียวกับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ที่ขยายตัว 29.4% ต่อปี และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัว 59.3% ต่อปี รายได้เกษตรกรขยายตัว 36.2% ต่อปี
ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 46.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 45.3 สำหรับเครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 17.0% ต่อปี และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 48.4% ต่อปี
ส่วนเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการมูลค่า 271.2 ล้านบาท ขยายตัว 43.9% ต่อปี โดยมีการลงทุนในโรงงานอบหรือคั่วเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรด้วยเงินทุน 62.1 ล้านบาท ในจังหวัดลำปางเป็นสำคัญ
ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 71.4 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 69.1 เช่นเดียวกับเครื่องชี้ภาคบริการที่ปรับตัวดีขึ้น โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัว 963.4% ต่อปี และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัว 1,414.4% ต่อปี
- ภาคตะวันตก
ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยว รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น โดยด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัว 86.1% ต่อปี สอดคล้องกับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ที่ขยายตัว 75.3% ต่อปี และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัว 62.2% ต่อปี รายได้เกษตรกรขยายตัว 29.3% ต่อปี
ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 42.8 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 41.6 สำหรับเครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 45.3% ต่อปี เช่นเดียวกับจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 13.2% ต่อปี
ส่วนเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการในเดือนส.ค. มีมูลค่า 62.7 ล้านบาท โดยมีการลงทุนในโรงงานคัดเมล็ดพันธุ์ข้าว และทำความสะอาดเมล็ดข้าวโพด ด้วยเงินทุน 14.0 ล้านบาท ในจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นสำคัญ
ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 93.3 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 91.5 เช่นเดียวกับเครื่องชี้ภาคบริการที่ปรับตัวดีขึ้น โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัว 4,803.5% ต่อปี และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัว 5,258.8% ต่อปี
- ภาคใต้
ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยว รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น โดยด้านอุปสงค์ พบว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัว 14.7 ต่อปี สอดคล้องกับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ที่ขยายตัว 49.2% ต่อปี และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัว 78.4% ต่อปี
ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 39.8 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 38.6 ขณะที่รายได้เกษตรกรขยายตัวที่ 2.4% ต่อปี แต่ชะลอตัว -4.3% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 40.8% ต่อปี เช่นเดียวกับจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 14.0% ต่อปี อย่างไรก็ตาม เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการยังชะลอตัว
ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 86.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 82.2 เครื่องชี้ด้านการบริการที่ปรับตัวดีขึ้น โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือนทั้งหมดที่ขยายตัว 2,906.1 ต่อปี และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนที่ขยายตัวที่ 1,630.9% ต่อปี
- ภาคตะวันออก
ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น โดยด้านอุปสงค์ พบว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัว 46.1% ต่อปี เช่นเดียวกับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ที่ขยายตัว 88.5% ต่อปี และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัว 107.0% ต่อปี
นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 46.6 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 45.3 ขณะที่รายได้เกษตรกรชะลอตัว เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 58.0% ต่อปี และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 79.7% ต่อปี
ขณะที่เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการมูลค่า 2,528.8 ล้านบาท ชะลอตัว -55.5% ต่อปี แต่ขยายตัว 15.6% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล โดยมีการลงทุนในโรงงานผลิตเหล็กรีดร้อนและเหล็กรูปพรรณด้วยเงินทุน 1,730.0 ล้านบาท ในจังหวัดปราจีนบุรีเป็นสำคัญ
ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 103.1 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 106.5 ในขณะที่เครื่องชี้ด้านการบริการสะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนทั้งหมดขยายตัว 2,154.8% ต่อปี และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัว 2,857.5% ต่อปี
- ภาคกลาง
ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชน รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น โดยด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 77.9% ต่อปี และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ที่ขยายตัว 118.3% ต่อปี
นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 42.8 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 41.6 และรายได้เกษตรกรขยายตัว 37.7% ต่อปี อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ยังชะลอตัว เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 49.7% ต่อปี และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 40.6% ต่อปี
สอดคล้องกับเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการมูลค่า 893.1 ล้านบาท ขยายตัว 212.1% ต่อปี แต่ชะลอตัว -77.6% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล โดยมีการลงทุนในการผลิตชิ้นส่วนไฟฟ้า เช่น คาปาซิเตอร์ (Capacitor) ด้วยเงินทุน 208.7 ล้านบาท ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นสำคัญ
ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 93.3 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 91.5 เครื่องชี้ด้านการบริการสะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนทั้งหมดขยายตัว 3,677.2% ต่อปี และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัว 4,679.2% ต่อปี
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคเกษตรกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น และการลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น โดยด้านอุปสงค์ พบว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ชะลอตัว ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 20.6% ต่อปี และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัว 58.2% ต่อปี
ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 47.9 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ระดับ 46.5 และรายได้เกษตรกรขยายตัว 55.7% ต่อปี เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 26.7% ต่อปี จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 23.6% ต่อปี
สอดคล้องกับเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการมูลค่า 604.5 ล้านบาท ขยายตัว 88.1% ต่อปี โดยมีการลงทุนโรงงานผลิตน้ำดื่มและผลิตขวดพลาสติกบรรจุน้ำดื่มด้วยเงินทุน 200.0 ล้านบาท ในจังหวัดขอนแก่นเป็นสำคัญ
ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 87.7 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 82.5 เครื่องชี้ด้านการบริการสะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนทั้งหมดขยายตัว 1,225.7% ต่อปี และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัว 1,924.1% ต่อปี
- กทม. และปริมณฑล
ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการลงทุนภาคเอกชน แม้ว่าการบริโภคภาคเอกชนมีสัญญาณชะลอตัว แต่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น โดยด้านอุปสงค์ พบว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ชะลอตัว -5.5% ต่อปี แต่ขยายตัว 2.2% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 10.3% ต่อปี และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัว 54.3% ต่อปี รายได้เกษตรกรขยายตัว 26.2% ต่อปี
ขณะที่ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคซึ่งอยู่ที่ระดับ 42.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 40.7 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 26.2% ต่อปี จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 19.2% ต่อปี แต่ชะลอตัว -7.0% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล
สำหรับเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการมูลค่า 5,203.6 ล้านบาท ขยายตัว 175.4% ต่อปี โดยมีการลงทุนในการวิจัย พัฒนาและผลิตวัคซีนหรือสารชีววัตถุมูลค่าสูง ด้วยเงินทุน 2,876.6 ล้านบาท ในกรุงเทพมหานครเป็นสำคัญ
ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 93.3 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 91.5 เครื่องชี้ด้านการบริการสะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนทั้งหมดขยายตัว 1,955.4% ต่อปี และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัว 4,243.4% ต่อปี