ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 38.15 อ่อนค่าสอดคล้องภูมิภาค หลังดอลลาร์แข็งค่าต่อเนื่อง-ต่างชาติขายพันธบัตร

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday September 29, 2022 17:34 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 38.15 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจาก เปิดตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 37.96 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวในกรอบ 37.89 - 38.28 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทอ่อนค่าเช่นเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาค เนื่องจากระหว่างวันอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นต่อ ส่งผลให้ ดอลลาร์แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ขณะที่วันนี้ต่างชาติขายพันธบัตรไทยสุทธิจำนวนค่อนข้างมากอยู่ที่ 9,900 ล้านบาท ส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าใน วันนี้

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 37.90 - 38.20 บาท/ดอลลาร์ ปัจจัยที่ต้อง ติดตามคืนนี้ คือ ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทั้งผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2/65 และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน รายสัปดาห์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 144.69 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 144.35 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 0.9697 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 0.9685 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,592.37 จุด ลดลง 6.86 จุด (-0.43%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 78,853 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,296.64 ลบ. (SET+MAI)
  • ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงเงินบาทที่อ่อนค่าว่า ธปท.ได้เฝ้าติดตามสถานการณ์ค่าเงินบาทอย่าง
ใกล้ชิด และพร้อมที่จะเข้าไปดูแลตอนที่มีความผันผวนผิดปกติ เพราะไม่อยากให้กระทบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่การดูแลจะต้องไม่ฝืน
ทิศทางตลาด
  • ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในเดือนส.
ค. 65 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน ภาคการท่องเที่ยว และภาคการส่งออกที่ขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อน แต่ยังต้อง
ติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่จะส่งผลกระทบต่อทิศทางเศรษฐกิจโลกและการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า
สำคัญอย่างใกล้ชิด
  • ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะอยู่ที่ 1.25% ณ
สิ้นปี 65 และ 2% ณ สิ้นปี 65 โดยคาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีแนวโน้มจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างค่อย
เป็นค่อยไป เพื่อไม่ให้กระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
  • ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) ระบุว่า เงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมากำลังทำให้ "ยุคดอกเบี้ย
ต่ำเตี้ยติดดิน" จบลง และเข้าสู่ยุคดอกเบี้ยขาขึ้น ยุคที่ต้องระวังเรื่องการใช้จ่ายกำลังเริ่มแล้ว
  • ผู้บริหารจากองค์กรระดับโลกกว่า 30 แห่งเตรียมตบเท้าเข้าร่วมการประชุมสุดยอดทางการเงินในฮ่องกงเดือนพ.ย.นี้ ซึ่ง
เป็นสัญญาณว่าฮ่องกงกำลังฟื้นตัวจากผลพวงนโยบายสกัดโควิด-19 ที่ผ่านมา
  • อดีตผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ระบุว่า มาตรการปรับลดภาษี 4.5 หมื่นล้านปอนด์ของรัฐบาลอังกฤษกำลัง
ดำเนินการโดยมีจุดประสงค์ขัดแย้งกับ BoE พร้อมเสริมว่า โชคไม่ดีที่เรามีงบประมาณบางส่วนในสถานการณ์เหล่านี้ เช่น เศรษฐกิจโลกที่
ตกต่ำ สถานะของตลาดการเงินที่ยากลำบาก และการทำงานขัดแย้งกับ BoE ได้นำไปสู่ความผันผวนที่ค่อนข้างรุนแรงในตลาดการเงิน
  • นายกรัฐมนตรีแห่งอังกฤษ ออกมาปกป้องแผนลดภาษี โดยกล่าวว่า เต็มใจจะทำเรื่องที่ตัดสินใจยาก เพื่อกระตุ้นให้
เศรษฐกิจเติบโต ทั้งนี้ ถ้อยแถลงดังกล่าวฉุดให้ราคาพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษปรับตัวลดลงเพิ่มเติม
  • ความเชื่อมั่นเศรษฐกิจยูโรโซนเดือนก.ย. ปรับตัวลดลงอย่างหนักและมากกว่าที่เคยคาดการณ์เอาไว้ เนื่องจากความเชื่อ
มั่นในกลุ่มบริษัทและผู้บริโภคปรับตัวลดลง โดยกลุ่มบริษัทและผู้บริโภค มีมุมมองเชิงลบเกี่ยวกับแนวโน้มเงินเฟ้อในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า
  • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจของเยอรมนี (Ifo), สถาบันวิจัยเศรษฐกิจโลกคีล (IfW Kiel), สถาบันวิจัยเศรษฐกิจเฮลลี

(IWH) และสถาบันวิจัยเศรษฐกิจไลบ์นิทซ์ (RWI) ต่างปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในปีนี้ลงเกือบครึ่งหนึ่ง และ

ปรับลดคาดการณ์ของปี 2566 จาก 3.1% เหลือ -0.4%


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ