(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 37.85 ให้กรอบวันนี้ 37.75-38.05 ตลาดรอตัวเลขศก.สหรัฐ

ข่าวเศรษฐกิจ Monday October 3, 2022 11:20 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 37.85 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อน ค่าจากปิดตลาดเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 37.77 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทเช้านี้อ่อนค่า เนื่องจากเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของ สหรัฐฯ ออกมาสูงเกินคาด ประกอบกับถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟดที่ยังส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยสูงและแรงต่อเนื่อง ส่งผลให้ดอลลาร์ แข็งค่าเทียบกับสกุลเงินส่วนใหญ่ ด้านสกุลเงินภูมิภาคค่อนข้างทรงตัว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 37.75 - 38.05 บาท/ดอลลาร์ โดยปัจจัยที่ ต้องติดตามคืนนี้ คือ ดัชนีภาคการผลิตเดือนก.ย.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) ส่วนประเทศจีนช่วงสัปดาห์นี้ (1- 7 ต.ค.) เป็นช่วงหยุดยาว ทำให้ตลาดเบาบาง

THAI BAHT FIX 3M (30 ก.ย.) อยู่ที่ระดับ 0.84610% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.00052%

SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 38.08750 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 144.78 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 144.28 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 0.9824 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 0.9838 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 37.915 บาท/
ดอลลาร์
  • ผู้ว่าการแบงก์ชาติ ชู '5 หางเสือ' ขับเคลื่อน ศก. ห่วงหนี้ครัวเรือนพุ่ง 89% สูงเกินไป เน้นคุมเงินเฟ้อตาม
เป้า พร้อมถก กนง.นัดพิเศษ คลังกังวลรายได้วูบ จี้ รบ.ทบทวนเว้นภาษี
  • รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน
(กนง.) มั่นใจว่าภาวะเศรษฐกิจจะกลับสู่ปกติภายในปีหน้า จากการฟื้นตัวด้านท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติราว 21 ล้านคน
โดยเป็นการฟื้นตัวแบบ K Shape แต่มีปัญหาเรื่องเงินเฟ้อจากราคาพลังงาน และอาหารสด โดยเฉพาะราคาอาหารในห้างสรรพ
สินค้าที่ปรับขึ้นไปแล้วลดลงมายาก อย่างไรก็ตาม คาดว่าเงินเฟ้อ จะอยู่ระดับสูงสุดในไตรมาส 3/65 และกลับเข้าสู่ระดับเป้าหมาย
ภายในปี 66
  • กรมควบคุมโรค ประกาศปรับการรายงานสถานการณ์โรคโควิด-19 เป็นรายสัปดาห์ เริ่ม 3 ต.ค.นี้ ขณะเดียวกัน
จัดระบบเฝ้าระวังเพิ่มเติม เล็งนำร่อง 8 จังหวัดรวม กทม. ส่วนที่เหลือเลือกจากทุกภูมิภาค เน้นพื้นที่มีกลุ่มเสี่ยง สถานที่เสี่ยงใน
จังหวัดท่องเที่ยว มีชุมชนแรงงานต่างด้าว เพื่อเก็บข้อมูลแบบเข้มข้น สำหรับประเมินสถานการณ์หากพบมีการติดเชื้อสูงขึ้น สายพันธุ์
ต่างจากเดิม อาจยกระดับมาตรการในบางกิจกรรม
  • รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ขณะนี้บรรดานักท่องเที่ยวจากเอเชียกลาง ทั้งสาธารณรัฐคาซัคสถาน
สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน ต่างนิยมเดินทางมาไทยเพิ่มมากขึ้น หลังจากไทยเปิดประเทศ รวมทั้งครม.ยังเห็นชอบให้ขยายเวลาพำนัก
ของนักท่องเที่ยวที่มีวีซ่าหน้าด่าน หรือวีโอเอ เพิ่มขึ้นจาก 15 วัน เป็นไม่เกิน 30 วัน ตั้งแต่ 1 ต.ค.65-31 มี.ค.66 โดยล่าสุด
พบว่า สายการบินแอร์อัสตานา จากคาซัคสถาน ได้เปิดเส้นทางบินตรง อัลมาตี้-กรุงเทพฯ วันละ 1 เที่ยวบิน และยังปรับเพิ่มเที่ยว
บินอัลมาตี้-ภูเก็ต จากเดิม 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ มาเป็นวันละ 1 เที่ยวบิน เริ่มวันที่ 30 ต.ค.นี้
  • ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) สรุปมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์สะสมตั้งแต่ วันที่ 1 ม.ค.-30 ก.ย.
65 พบว่า นักลงทุนสถาบันในประเทศขายสุทธิ 124,001.70 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) ซื้อสุทธิ 836.79 ล้าน
บาท นักลงทุน ต่างประเทศซื้อสุทธิ 150,235.59 ล้านบาท นักลงทุนในประเทศ (รายย่อย) ขายสุทธิ 27,070.68 ล้านบาท
  • สหรัฐประกาศมาตรการคว่ำบาตรครั้งใหม่ต่อรัสเซียในวันศุกร์ (30 ก.ย.) หลังจากรัสเซียประกาศผนวกดินแดน
4 แคว้นของยูเครน โดยสหรัฐมุ่งเป้าคว่ำบาตรประชาชนและบริษัทจำนวนหลาย 100 ราย ซึ่งรวมถึงบุคคลในกองทัพและภาค
อุตสาหกรรม และสมาชิกสภานิติบัญญัติของรัสเซีย
  • สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส (S&P) ได้ปรับลดแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือที่ระดับ
AA ของอังกฤษลงสู่ "เชิงลบ" จาก "มีเสถียรภาพ" เมื่อวันศุกร์ (30 ก.ย.) เนื่องจากวิตกว่า แผนการปรับลดภาษีครั้งใหญ่ของ
นางลิซ ทรัสส์นายกรัฐมนตรี จะทำให้หนี้สินของอังกฤษเพิ่มสูงขึ้น
  • สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป (ยูโรสแตท) เปิดเผยในวันศุกร์ (30 ก.ย.) ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พุ่ง
แตะ 10% ในเดือนก.ย. เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า จากระดับ 9.1% ในเดือนส.ค. ซึ่งสูงกว่าระดับคาดการณ์เฉลี่ยในผลสำรวจความ
เห็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ระดับ 9.7% และสูงกว่าระดับคาดการณ์ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 และดัชนี CPI พื้นฐาน ซึ่งไม่รวมราคา
พลังงานและอาหารพุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 4.8% ในเดือนก.ย.
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวม
หมวดอาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ เพิ่มขึ้น 4.9% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบรายปี และสูง
กว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 4.7% จากระดับ 4.7% ในเดือนก.ค.
  • ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญสัปดาห์นี้ ได้แก่ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร อัตราการว่างงาน ข้อมูลการ

จ้างงานภาคเอกชน ดัชนี PMI และ ISM ภาคการผลิต/ภาคบริการเดือนก.ย. ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนส.ค.และจำนวนผู้ขอรับ

สวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ