เงินบาทแข็งค่า เนื่องจากเมื่อคืนนี้ดัชนีภาคการผลิตเดือนก.ย. ของสหรัฐฯ (ISM) ออกมาแย่กว่าตลาดคาด โดยภาพรวม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ย่อลง ทำให้ดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินส่วนใหญ่ ด้านสกุลเงินภูมิภาคส่วนใหญ่แข็งค่า ประกอบกับ ข่าวที่รัฐบาลอังกฤษยกเลิกการปรับลดภาษีเงินได้ 45% ในนโยบายการคลังฉบับใหม่ ทำให้ตลาดคลายกังวลเกี่ยวกับขาดดุลการคลังของ อังกฤษ
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 37.70 - 38.00 บาท/ดอลลาร์ ปัจจัยที่ต้องติดตาม ช่วงนี้คือ Flow ในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร และการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ
THAI BAHT FIX 3M (3 ต.ค.) อยู่ที่ระดับ 0.72971% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.02650%
SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 37.67500 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 144.76 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 145.17 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 0.9820 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 0.9755 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 38.012 บาท/ดอลลาร์
- สมาคมนักวิเคราะห์ฟันธงเศรษฐกิจปี 65-66 ฟื้นตัวหนุน SET Index สิ้นปียังขึ้นที่ 1,685 เป้าดัชนีสูงสุดปีนี้อยู่ที่ 1,709
- กฟผ.เผยแนวโน้มค่าไฟแพงยันปีหน้า พร้อมเดินหน้ารับลูกรัฐ กระตุ้นส่งเสริมใช้พลังงานทดแทน ลดพึ่งก๊าซแอลเอ็นจี ด้าน
- ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 65 กรอบการลงทุนของรัฐ
- องค์การสหประชาชาติ (UN) เรียกร้องให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางของชาติอื่นหลีกเลี่ยงการปรับขึ้น
- สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐร่วงลงสู่ระดับ 50.9 ในเดือนก.ย.
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างลดลงเป็นเดือนที่ 3 ในเดือนส.ค. โดยดิ่งลง 0.7% เมื่อ
- ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (3 ต.
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นในวันจันทร์ (3 ต.ค.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ และการร่วงลง
- นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนก.ย.ของสหรัฐในวันศุกร์นี้ รวมทั้งข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่น