นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 37.55 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากเปิด ตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 37.89 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวันเคลื่อนไหวในกรอบ 37.51-37.96 บาท/ดอลลาร์
วันนี้เงินบาทแข็งค่าเช่นเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาค โดยระหว่างวันยังไร้ปัจจัยใหม่ ตลาดยังคงย่อยข่าวตัวเลขภาคการผลิต เดือน ก.ย. ของสหรัฐฯ (ISM) ที่ออกมาเมื่อคืนนี้ โดยคลายความมกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเร่งขึ้นดอกเบี้ยเร็วและแรง ไปบางส่วนแล้ว ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ย่อลง ส่งผลให้ดอลลาร์อ่อนค่าลงไปด้วย
สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามคืนนี้ คือ ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) เดือนส.ค. ของสหรัฐฯ และในช่วงนี้ยังต้องติดตามทิศทางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอย่างต่อเนื่อง
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 37.50-37.80 บาท/ดอลลาร์
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 144.70 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 144.76 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 0.9869 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 0.9820 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,578.00 จุด เพิ่มขึ้น 19.95 จุด (+1.28%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 64,005 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,166.04 ลบ. (SET+MAI)
- ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การอ่อนค่าของเงินบาทในระยะนี้ มาจากปัจจัยดอลลาร์แข็งค่าเป็น
หลัก โดยดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าถึง 17-18% และย้ำว่าการที่บาทอ่อนค่า ไม่ได้เป็นเพราะมีเงินทุนเคลื่อนย้ายไหลออกอย่างมีนัยสำคัญ โดย
ตั้งแต่ต้นปีจนถึงล่าสุดพบว่ามีเงินไหลเข้าสุทธิราว 3.5 พันล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ การอ่อนค่าของเงินบาทถือว่ายังอยู่ในระดับกลางๆ เมื่อเทียบ
กับสกุลเงินอื่นในภูมิภาค
ขณะที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่องและทั่วถึงมากขึ้น แม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัว และตลาดการเงินจะมี ความผันผวนสูงก็ตาม โดยคาดการณ์ GDP ไทยปี 65 โต 3.3% ก่อนขยายตัวเป็น 3.8% ในปี 66 จากแรงส่งหลักจากการบริโภคภาค เอกชนและภาคท่องเที่ยว โดยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปีนี้อยู่ที่ 9.5 ล้านคน และเพิ่มเป็น 21 ล้านคนในปี 66
- รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รมว.คลัง รายงานนายกรัฐมนตรี รับทราบถึงความเคลื่อนไหวของตลาด
เงินและตลาดทุนในประเทศ หลังจากตลาดมีความกังวลต่อกรณีที่วานนี้ (3 ต.ค.) คณะผู้ว่าการเฟดได้มีการประชุมแบบปิด (Closed
Meeting) เพื่อทบทวนและตัดสินใจอัตราดอกเบี้ยล่วงหน้าและดอกเบี้ยมาตรฐานก่อนการประชุม FOMC ที่จะมีขึ้นในวันที่ 1 พ.ย.65 โดย
ผลของความกังวลดังกล่าว ส่งผลให้ดัชนีหุ้นไทยวานนี่ร่วงลงราว 31 จุด ก่อนจะฟื้นกลับมาบวกเกือบ 20 จุดในภาคเช้าของวันนี้ (4 ต.
ค.) หลังจากที่ผลการประชุมคณะผู้ว่าการเฟดไม่ได้ส่งสัญญาณใดๆ เกี่ยวกับนโยบายดอกเบี้ย ทั้งนี้ ในเบื้องต้นคาดว่าจะไม่ส่งผลต่อ
เศรษฐกิจโดยรวมของไทย
- ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยว่า ภาวะการส่งออกในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-
ส.ค. 65) ขยายตัวได้กว่า 11% ส่วนช่วงอีก 4 เดือนที่เหลือ (ก.ย.-ธ.ค. 65) ถึงแม้ว่าการส่งออกจะไม่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเลย การส่ง
ออกของปีนี้ก็ยังขยายตัวได้ถึง 7% แต่หากช่วง 4 เดือนที่เหลือสามารถส่งออกได้เฉลี่ยเดือนละ 24,300 ล้านเหรียญสหรัฐ จะทำให้การส่ง
ออกในปีนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 8% ซึ่งในครั้งต่อไปน่าจะเห็นภาพที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
- ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย และกรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ (BBL) กล่าวว่า เศรษฐกิจ
ไทยปีนี้และปี 66 ยังเผชิญกับความท้าทายค่อนข้างมาก โดยสิ่งที่ต้องติดตาม คือ การเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ของ
สหรัฐฯ ซึ่งยอมรับว่าหากเกิดขึ้นจริง จะส่งผลกระทบมาถึงไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และปัจจุบันเริ่มเห็นผลกระทบแล้ว โดยเฉพาะในภาค
การส่งออกของไทยที่เริ่มเห็นตัวเลขแผ่วลงมาต่อเนื่องกันมา 3 เดือน
- ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในปี 66 จะสามารถเติบโตได้
จากแรงขับเคลื่อนของการท่องเที่ยว โดยคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามายังประเทศไทยราว 20 ล้านคน ซึ่งยังไม่รวมนักท่องเที่ยว
จากประเทศจีน ที่คาดว่าจะเริ่มมีการเปิดประเทศ หลังจากการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน และรับรองสี จิ้น ผิง เป็นผู้นำ
ประเทศสมัยที่ 3 ซึ่งเชื่อว่าเศรษฐกิจจีนจะสามารถเติบโตได้ไม่ต่ำกว่า 2% จะเป็นส่วนช่วยหนุนให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ และคาดว่าจะมี
จำนวนนักท่องเที่ยวจีนเข้ามาในปี 66 ราว 7 ล้านคน ซึ่งหอการค้าไทยก็มีแผนที่จะผลักดันการท่องเที่ยวในเมืองรองให้เติบโตขึ้นอย่างต่อ
เนื่อง เพื่อรองรับการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว
- กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-1 ต.ค. 65
ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติสะสมจำนวน 5,696,121 คน มีรายได้จากการท่องเที่ยวสะสมประมาณ 2.22 แสนล้านบาท
- SCB EIC เปิดเผยผลสำรวจผู้บริโภคในด้านการท่องเที่ยว พบว่า ภาพรวมคนไทยมีแนวโน้มท่องเที่ยวในประเทศ และต่าง
ประเทศเพิ่มสูงขึ้นในระยะข้างหน้า นอกจากนี้ พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวไทยมีความหลากหลายมากขึ้น และในแต่ละกลุ่มยังมี
ความแตกต่างกันอย่างชัดเจนทั้งกลุ่ม Generations และกลุ่มที่เดินทาง อย่างไรก็ดี ภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง จะส่งผลให้ผู้ที่ได้รับผล
กระทบมีแนวโน้มรัดเข็มขัดลดค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวลง
- ttb analytics ประเมินว่า ภาคการท่องเที่ยวของไทยฟื้นตัวได้ดีกว่าที่คาด เนื่องจากการเปิดประเทศที่ทำให้การเดิน
ทางเข้า-ออกประเทศสะดวกมากขึ้น รวมถึงความต้องการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น เพื่อชดเชยจากการที่ถูกจำกัดไว้ก่อนหน้า ซึ่งส่งผลดีต่อฤดู
กาลท่องเที่ยวสำคัญของไทยช่วงครึ่งหลังปี 65 โดยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปี 65 จะอยู่ที่ 9.5 ล้านคน จากอานิสงส์ตลาดนัก
ท่องเที่ยวระยะใกล้ โดยเฉพาะกลุ่มอาเซียน อินเดีย และตะวันออกกลาง ส่วนปี 66 ประเมินว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะอยู่ที่
18.5 ล้านคน หรือคิดเป็น 46% ของยอดนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 62 ซึ่งเป็นช่วงก่อนเกิดการระบาดโควิด-19 และจะเป็นอีกหนึ่งฟัน
เฟืองสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยปี 66 ขยายตัวได้ 3.7%
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์ก และควบตำแหน่งรองประธานคณะกรรมการนโยบายการเงินเฟด
(FOMC) ระบุเมื่อวันจันทร์ (3 ต.ค.) ว่า แรงกดดันด้านเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูงจนเกินไป โดยแทบไม่มีสัญญาณว่าเงินเฟ้อจะชะลอตัว
ลง ซึ่งหมายความว่า เฟดต้องเดินหน้าภารกิจคุมเข้มนโยบายการเงินต่อไปเพื่อฉุดเงินเฟ้อให้กลับมาอยู่ในภายใต้การควบคุม
- ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยเมื่อวันจันทร์ (3 ต.ค.) ว่า โลกสามารถหลีกเลี่ยงภาวะ
เศรษฐกิจถดถอยได้ ถ้านโยบายการคลังของรัฐบาลต่างๆ มีความสอดคล้องกับนโยบายการเงินที่เข้มงวด แต่ในปีหน้าหลายประเทศมีแนว
โน้มที่จะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย
- อัตราเงินเฟ้อในกรุงโตเกียว เร่งตัวขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ในเดือนก.ย. โดยเป็นการปรับตัวขึ้นเร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี
2535 เมื่อไม่รวมผลกระทบของการปรับขึ้นภาษี ซึ่งเพิ่มความท้าทายต่อธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในการชี้แจงถึงเหตุผลที่ยังคงเดินหน้า
ดำเนินนโยบายการเงินเชิงผ่อนคลาย ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นแบบต่อเนื่อง
- สภากำกับดูแลเสถียรภาพการเงิน (FSOC) ของรัฐบาลกลางสหรัฐ ประกาศเตือนเกี่ยวกับตลาดคริปโทเคอร์เรนซีเมื่อวัน
จันทร์ (3 ต.ค.) โดยระบุว่า การนำคริปโทฯ ไปใช้อย่างแพร่หลายจะก่อให้เกิดความเสี่ยง หากตลาดยังคงขยายตัวโดยไม่มีการกำกับ
ดูแลและบังคับใช้กฎระเบียบที่ดีขึ้น
โดย ปภัสสร องค์พิเชฐเมธา/ศศิธร ซิมาภรณ์