นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดที่ 37.28 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจากเปิดตลาด เมื่อเช้าที่ระดับ 37.39 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวทิศทางเดียวกับค่าเงินในภูมิภาค ระหว่างวันเคลื่อนไหวในกรอบ 37.13 - 37.46 บาท/ดอลลาร์
"วันนี้บาทค่อนข้างผันผวน แต่เคลื่อนไหวเกาะกลุ่มไปกับค่าเงินในภูมิภาคที่ปรับตัวแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ น่าจะเป็นผลมา จากแรงเทขายดอลลาร์ทำกำไร" นักบริหารเงิน กล่าว
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 37.20 - 37.40 บาท/ดอลลาร์
"ทิศทางบาทวันพรุ่งนี้น่าจะแกว่งตัวในกรอบ ตลาดรอดูตัวเลข Non-farm Payroll" นักบริหารเงิน กล่าว
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ 144.68 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 144.48 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ 0.9890 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 0.9915 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,589.18 จุด เพิ่มขึ้น 8.91 จุด, +0.56% มูลค่าการซื้อขาย 63,797.29 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 419.59 ล้านบาท (SET+MAI)
- รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า แนวโน้มค่า
- ผู้บริหาร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คาดว่า ปัจจัยทางการเมืองในประเทศ โดยเฉพาะกระแสการปรับคณะ
- ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) เผยการคาดการณ์ของภาคธุรกิจอังกฤษต่อดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในระยะเวลาหนึ่งปี
- เอสแอนด์พี โกลบอล/ซีไอพีเอส เผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการก่อสร้างของสหราชอาณาจักร เพิ่มขึ้นสู่
- สำนักงานสถิติยุโรป (Eurostat) เปิดเผยวันนี้ (6 ต.ค.) ว่า ยอดค้าปลีกของยูโรโซนร่วงลงในเดือนส.ค. ชี้ให้เห็น
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาแอตแลนตา ระบุเฟดควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสู่ระดับ 4% - 4.5%
- มอร์แกน สแตนลีย์ ปรับเพิ่มคาดการณ์ราคาน้ำมันสำหรับไตรมาสแรกของปี 2566 และคาดการณ์ว่าอุปทานจะตึงตัวใน
อนาคต หลังกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส มีมติปรับลดกำลังการผลิตครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 2 ปี
ประกอบกับสหภาพยุโรปคว่ำบาตรน้ำมันรัสเซีย