ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 38.04 ระหว่างวันแกว่งไร้ทิศทางสอดคล้องภูมิภาค ตลาดรอตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday October 12, 2022 17:32 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 38.04 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจาก เปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 38.16 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวในกรอบ 37.92 - 38.28 บาท/ดอลลาร์ วันนี้เงินบาทเคลื่อนไหวแบบ ไร้ทิศทาง เช่นเดียวกับสกุลเงินภูมิภาค

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันจันทร์ไว้ที่ 37.85 - 38.15 บาท/ดอลลาร์ ปัจจัยที่ต้อง ติดตามคืนนี้ คือ ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐฯ และคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) เปิด เผยรายงานการประชุมของวันที่ 20-21 ก.ย. และภาพใหญ่ตลาดรอดูดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯ คืนวันพรุ่งนี้

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 146.39 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 146.30 เยน/ดอลลาร์ (อ่อนค่าในรอบ 24 ปี)
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 0.9705 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 0.9690 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,560.78 จุด ลดลง 1.90 จุด(-0.12%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 47,613 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 935.60 ลบ. (SET+MAI)
  • ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2566 (ต.ค.65-ก.ย.66) มีแผนออก
พันธบัตรออมทรัพย์ (Savings Bond) จำนวน 1.3 แสนล้านบาท หลังจากประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในปีที่ผ่านมา โดยนักลงทุนให้
การตอบรับเป็นอย่างดี ซึ่งภายในเดือน ธ.ค.นี้ สบน. วางแผนจะจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ล็อตแรก วงเงิน 5 หมื่นล้านบาท เพื่อทดแทน
พันธบัตรออมทรัพย์ที่ครบอายุ
  • สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เผยดัชนีเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เดือนก.ย.65 อยู่ที่ระดับ 91.8 ปรับตัว
เพิ่มขึ้นจาก 90.5 ในเดือนส.ค. โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ทั้งนี้ องค์ประกอบดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกรายการ ยก
เว้นต้นทุนประกอบการ
  • ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือน
ก.ย. ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือนนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นมา เนื่องจากผู้
บริโภครู้สึกว่าเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้น หลังจากที่สถานการณ์โควิดในประเทศเริ่มปรับตัวดีขึ้นและมีการผ่อนคลายกฎระเบียบต่างๆ ให้ธุรกิจ
เริ่มเปิดดำเนินการได้เป็นปกติ
  • ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากปัญหาน้ำท่วมในหลายจังหวัดของประเทศ โดยคาดว่า
เศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบราว 12,000-20,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากก่อนหน้านี้ที่เคยประเมินไว้ที่ 5,000 - 10,000 ล้านบาท เนื่อง
จากสถานการณ์น้ำท่วมได้ขยายวงกว้างมาก และเข้าในพื้นที่อุตสาหกรรม และท่องเที่ยวที่มีผลกระทบต่อมูลค่าทางเศรษฐกิจมากขึ้นกว่าใน
ช่วงแรก แต่ปัญหาน้ำท่วมเชื่อว่าจะไม่กระทบภาพรวมการฟื้นตัวเศรษฐกิจ เรายังคาดว่าปีนี้จะโตได้ในกรอบเดิม คือ 3.0-3.5%
  • ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ระบุว่า เศรษฐกิจโลกมีสัญญาณชะลอตัวลงชัดเจนขึ้น จาก
เงินเฟ้อโลกที่ชะลอลงช้า และคาดว่าจะอยู่สูงกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางนาน 1-2 ปี การที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวเร็วขึ้น เป็นผลจาก
ธนาคารกลางทั่วโลกดำเนินนโยบายการเงินเข้มงวดมากขึ้น ส่งผลให้ภาวะการเงินตึงตัวทั่วโลก
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐ เปิดเผยว่า เศรษฐกิจสหรัฐกำลังดำเนินไปได้ดี ท่ามกลางความไม่แน่นอนของ
เศรษฐกิจโลก
  • ประธานาธิบดีโจ ไบเดนแห่งสหรัฐไม่เชื่อว่า เศรษฐกิจจะถดถอยในอนาคตอันใกล้นี้ แต่หากเกิดขึ้นจริง ก็มีแนวโน้มที่จะถด
ถอยเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
  • ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาคลีฟแลนด์ ระบุว่า แม้มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายครั้งใหญ่ในปีนี้ แต่เฟดยังไม่
สามารถควบคุมเงินเฟ้อที่พุ่งทะยานขึ้นได้ และจำเป็นต้องเดินหน้าคุมเข้มนโยบายการเงินต่อไป
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (ONS) เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เดือนส.ค.ของอังกฤษหดตัว
ลง -0.3% เมื่อเทียบกับเดือนก.ค. โดยถูกกดดันจากความอ่อนแอด้านการผลิตและการบำรุงรักษาแหล่งน้ำมันและก๊าซในแถบทะเลเหนือ
นอกจากนี้ ข้อมูลเศรษฐกิจครั้งล่าสุดนี้ยังแสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่เงินเฟ้อมีต่อผู้บริโภค
  • บรรดานักเศรษฐศาสตร์คาดว่า จีนจะพลาดเป้าหมายของตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ปี 2565 อย่าง
มากในปีนี้ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกตั้งแต่เริ่มตั้งเป้าหมายดังกล่าวในช่วงต้นทศวรรษ 1990 (2533) โดยจีนได้มองข้ามความสำคัญของเป้าหมาย
ในปีนี้ ซึ่งก็สอดคล้องกับการลดความสำคัญของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รวมถึงในมติประวัติศาสตร์ของปีที่แล้ว ซึ่ง
ระบุว่า GDP ไม่ใช่หลักเกณฑ์เดียวของความสำเร็จ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ